ทีมวิจัยสร้างหุ่นยนต์ ‘แมงกะพรุน’ ช่วยเก็บขยะใต้น้ำ

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

จากที่เคยเป็นเพียงจินตนาการของมนุษย์ แต่ปัจจุบันการสร้าง ‘หุ่นยนต์’ เป็นนวัตกรรมเทคโนโลยีสุดล้ำที่คิดค้นขึ้นมาได้จริง และเป็นประโยชน์ในวงกว้าง ทว่าบ่อยครั้งหุ่นยนต์ก็มักจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ เช่นหุ่นยนต์ตัวนี้

ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสถาบัน Max Planck Institute for Intelligent Systems (MPI-IS) แห่งเมืองสตุตการ์ต ประเทศเยอรมนี ได้สร้างสรรค์หุ่นยนต์ที่ช่วย ‘เก็บขยะใต้น้ำ’ โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ‘แมงกะพรุน’ ที่เน้นการทำงานด้วยการกระพือปีก เหมือนกับการเคลื่อนไหวอันนุ่มนวลของแมงกะพรุนจริงๆ

สำหรับการทำงานของหุ่นยนต์ที่ตั้งชื่อว่า ‘JellyfishBot’ นี้ คือ ขณะที่มันว่ายน้ำ (กระพือปีก) มันจะ ‘สร้างกระแสน้ำ’ บริเวณรอบๆ ตัว จนมวลของน้ำเคลื่อนที่เข้าใต้ท้องหุ่นยนต์ ทำให้สามารถดักจับวัตถุต่างๆ ที่มีมวลเบาตามเส้นทางของมันได้ เหมือนวิธีการเดียวกับลูกสูบดูดสิ่งอุดตันออกจากท่อระบายน้ำ

ด้วยการออกแบบ และการทำงานข้างต้น จึงทำให้เจ้าหุ่นยนต์แมงกะพรุนนี้ สามารถเก็บพวกขยะเศษชิ้นเล็กๆ ในแหล่งน้ำ หรือบริเวณแนวปะการังได้ โดยที่ไม่ต้องสัมผัสกับขยะ อีกทั้งยังกลายเป็นเครื่องมือทางสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ต่างๆ เช่น ใช้เก็บตัวอย่างทางชีวภาพที่เปราะบางอย่างเช่น ไข่ปลา ขณะเดียวกันก็ไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

ส่วนขนาดของหุ่นยนต์นั้นประมาณเท่าฝ่ามือ โดยประกอบไปด้วยปีกทั้งหมด 6 ปีก โดยแต่ละปีกได้รับการติดตั้งกล้ามเนื้อเทียมหรือที่เรียกว่า Hasel ที่มีลักษณะเป็นถุงที่เต็มไปด้วยน้ำมัน ซึ่งปกคลุมด้วยอิเล็กโทรด (Electrode)

โดยเมื่ออิเล็กโทรดได้รับกระแสไฟฟ้า ประจุไฟฟ้าจะเต็มไปด้วยประจุบวก จากนั้นพวกมันจะปล่อยกระแสน้ำไปยังน้ำทะเลที่มีประจุลบโดยรอบ ทำให้มันสามารถกระพือปีกทั้ง 6 ได้อย่างพลิ้วไหวและรวดเร็ว ซึ่งสามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 6.1 เซนติเมตรต่อวินาที

ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพของหุ่นยนต์แมงกะพรุนจะมีมาก แต่ก็ยังคงมีข้อจำกัดอยู่ นั่นก็คือการทำงานของหุ่นยนต์จำเป็นต้องอาศัยแหล่งพลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็กที่ถูกติดตั้งอยู่บริเวณกลางลำตัว อีกทั้งจะต้องอาศัยการชาร์จ และการเปลี่ยนแบตเตอรี่อยู่เสมอ

อย่างไรก็ดี ทางทีมนักวิจัยหวังว่าในอนาคตจะพัฒนาให้หุ่นยนต์สามารถผลิตพลังงานได้ด้วยตนเอง เพื่อให้มันสามารถทำงานเก็บขยะในแหล่งน้ำขนาดใหญ่อย่างมหาสมุทรได้

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/brandthink.me/photos/a.1767934240198787/3644566315868894/