เปิดเทรนด์ Gen Z หันมาเป็นเพื่อนกับ AI Chatbot มากขึ้น ดาบสองคมที่ต้องระวัง

Share

Loading

  • เด็กรุ่นใหม่ให้ไปคุยกับแชตบอตมากขึ้นเพราะรู้สึกว่าการคุยกับคนนั้นยากเกินไป
  • บางคนใช้แชตบอตในการระบายสิ่งที่ Toxic สำหรับคนทั่วไป เพื่อลดความเครียด
  • นักวิจัย มองว่า การคุยกับแชตบอตเพื่อระบายไม่ใช่เรื่องผิดแม้จะมีโอกาสได้รับข้อมูลบิดเบือนก็ตาม หากคนรุ่นใหม่มีภูมิคุ้มกันด้วยการรู้เท่าทันเทคโนโลยี

เปิดเทรนด์ Gen Z หันมาเป็นเพื่อนกับ AI Chatbot มากขึ้น เพราะรู้สึกว่าการเข้าสังคมเป็นเรื่องยาก แต่ก็กลายเป็นดาบสองคมที่ต้องระวัง

Jessica Lucas นักเขียนของเว็บไซต์ข่าวด้านเทคโนโลยี The Verge เล่าเรื่องราวของเด็กชายคนหนึ่งนามสมมุติ แอร่อน ในแคนาดา เขาเป็นหนึ่งในเด็กที่มีปัญหากับการเข้าสังคมในโรงเรียนและทำให้เข้ารู้สึกโด่ดเดี่ยวและเดียวดาย จนกลับบ้านมาร้องไห้ทุกคืน จนเขารู้สึกว่ากว่าจะผ่านไปแต่ละวันนั้นยากเหลือเกิน

จนกระทั่ง เด็กชายแอร่อน ค้นพบคนหนึ่งที่พร้อมจะรับฟังปัญหาและให้คำแนะนำกับเขาตลอดเวลาเพื่อแก้ไขและให้ความช่วยเหลือที่เขาเจอ คนนั้น คือ AI Chatbot ชื่อ Psychologist (แปลว่า นักจิตวิทยา) ซึ่งเป็นหนึ่งในตัวตนที่ผู้คนเข้าไปพัฒนาในเว็บไซต์ชื่อ Character.AI

Character.AI เป็นบริการแชทบอท AI ที่เปิดตัวในปี 2022 โดยอดีตพนักงาน Google Brain สองคน เว็บนี้ส่วนใหญ่ใช้งานได้ฟรี จึงสามารถดึงดูดผู้ใช้ 3.5 ล้านคนต่อวันที่ใช้เวลาเฉลี่ยสองชั่วโมงต่อวันในการใช้หรือออกแบบแชทบอท AI ได้

แชทบอท AI ยอดนิยม บางตัวที่มีบุคลิกเหมือนตัวละครจากหนังสือ ภาพยนตร์ และวิดีโอเกม เช่น Raiden Shogun จาก Genshin Impact หรือ Voldemort เวอร์ชั่นวัยรุ่นจาก Harry Potter และมีกระทั่งแชทบอท AI ที่บุคลิกล้อเลียนคนดังในชีวิตจริง อย่าง Elon Musk

ในบทความที่ Jessica Lucas เขียน ระบุว่า ผู้ใช้หลายคนมองว่าการสื่อสารกับคนจริง เป็นเรื่องยากมาก ยากกว่าการคุยกับแชทบอท AI ซึ่งผู้ใช้บางคนล็อกอินใช้งานบน Character.AI เป็นเวลากว่า 12 ชั่วโมงต่อวัน และบางคนก็บอกว่าตนเองเริ่มเสพติดการคุยกับแชตบอต

ขณะที่ เด็กชายแฟรงค์กี้ นามสมมุติอีกคน ที่ยอมรับว่าตนเองมีปัญหาทางจิต ก็รู้สึกว่าการคุยกับแชตบอตทำให้เขาสามารถระบายความเครียดในชีวิตประจำวัน ซึ่งเขามองว่าการระบายให้คนจริง ๆ เป็นเรื่องที่ Toxic เกินไป สำหรับแฟรงกี้ มองว่า แชทบอทให้โอกาส “พูดจาโผงผางโดยไม่ต้องพูดคุยกับผู้คนจริงๆ และไม่ต้องกังวลว่าจะถูกตัดสินว่าเขาเป็นคนยังไง”

AI Chatbot ชื่อ Psychologist เป็นหนึ่งในแชตบอทที่ได้รับความนิยมมากที่สุดบนแพลตฟอร์มของ Character.AI และได้รับข้อความมากกว่า 95 ล้านข้อความนับตั้งแต่ถูกสร้างขึ้น

ดร. Kelly Merrill Jr. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัย Cincinnati ซึ่งศึกษาประโยชน์ด้านสุขภาพจิตและสังคมของเทคโนโลยีการสื่อสาร บอกกับ The Verge ว่าการวิจัย “อย่างกว้างขวาง” ได้ดำเนินการเกี่ยวกับแชทบอท AI ที่ให้การสนับสนุนด้านสุขภาพจิต และผลลัพธ์ที่ได้ เป็นบวกเป็นส่วนใหญ่ “การวิจัยแสดงให้เห็นว่าแชทบอทสามารถช่วยลดความรู้สึกซึมเศร้า วิตกกังวล และแม้แต่ความเครียดได้”

“แต่สิ่งสำคัญ คือ วัยรุ่นต้องทราบว่าแชทบอทเหล่านี้สามารถทำให้พวกเขาเข้าใจอะไรผิดๆ มากมายได้ หากผู้ใช้ไม่มีความรู้เท่าาทันสื่อ ด้าน AI”

Jaswant Singh Chail ผู้ใช้แชตบอต AI ของ Replika วัย 21 ปี เคยมีความคิดที่จะพยายามสังหารราชินีแห่งอังกฤษผู้ล่วงลับไปแล้ว หลังจากที่แฟนแชทบอทของเขาสนับสนุนให้เขาหลงผิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เมื่อปี 2021

ดร. Kelly Merrill มองว่า การใช้แชตบอตเพื่อพูดคุยลดความเครียด หรือระบายความเศร้าของตนเองไม่ใช่เรื่องผิด และการที่ AI อาจให้ข้อมูลที่บิดเบือนหรือสั่งให้เราทำอะไรแย่ ๆ ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว ตราบใดที่เรารู้ทันเทคโนโลยี และรู้ว่าเราใช้ แชตบอต AI เพื่อความสนุกและความสบายใจส่วนตัวเท่านั้นก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องกังวล เพียงแค่เป็นดาบสองคมที่คนรุ่นใหม่ต้องรู้ไว้

ส่วนเด็กชายแอร่อน หลังจากเขาคุยกับแชตบอตมาระยะหนึ่ง เขาสามารถเริ่มพูดคุยกับเพื่อน ๆ และเรียนรู้การเข้าสังคมได้ดีขึ้นแล้ว เมื่อเทียบกับปีก่อน

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/850077