Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24
Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25
Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26
งานประชุม Huawei Trust In Tech Summit 2021 ได้รับการจัดขึ้นผ่านทางออนไลน์ในหัวข้อ “ความร่วมมือระดับโลกเพื่อคุณค่าร่วมกัน” หรือ “Global Collaboration for Shared Value”
โดยมีผู้นำจากภาคส่วนต่าง ๆ จากทั่วโลกเข้าร่วมงานครั้งนี้ ซึ่งรวมถึงนายนีล บุช ประธานมูลนิธิ George H.W. Bush Foundation for US-China Relations, นายปาสคาล ลามี อดีตอธิบดีองค์การการค้าโลก (WTO), นายวิลเลียม นอร์ดเฮาส์ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ประจำปี 2561, ฯพณฯ ซัตวินเดอร์ ซิงห์ รองเลขาธิการอาเซียนด้านประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, นายเดอร์ริก พิตส์ ทูตระบบสุริยะของนาซ่า และนายโหว จินหลง รองประธานอาวุโสของหัวเว่ย และประธานบริหารด้านพลังงานดิจิทัลของหัวเว่ย โดยผู้เข้าร่วมงานได้พูดคุยเกี่ยวกับความท้าทายที่กำลังเผชิญในระดับโลก ทั้งในด้านเศรษฐกิจ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ นวัตกรรมเทคโนโลยี และประเด็นสำคัญในด้านอื่น ๆ รวมถึงเรียกร้องให้เกิดความร่วมมือจากประเทศและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาความท้าทายเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
มนุษยชาติได้เข้าสู่ยุคที่ผลประโยชน์ ความเชื่อ และอนาคตเกี่ยวเนื่องผสานกันอย่างใกล้ชิด ดังนั้น วิธีการแก้ไขปัญหาสังคมในภาพรวมจึงเป็นเรื่องจำเป็นต่อการรับมือเรื่องภัยและความท้าทายที่ประชาคมโลกกำลังเผชิญร่วมกัน โดยนายปาสคาล ลามี ชี้ว่า “เราจำเป็นจะต้องลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการทวนกระแสโลกาภิวัตน์ (deglobalization) เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้โลกตกอยู่ในสภาวะที่แย่กว่าที่เคย”
นายซัตวินเดอร์ ซิงห์ ได้กล่าวในสุนทรพจน์ถึงบทบาทที่สำคัญของภาคเอกชนอย่างหัวเว่ย ในการเดินหน้าฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างครอบคลุมและยั่งยืนทั้งในภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคอื่น ๆ ทั้งยังชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จด้านการพัฒนาของภูมิภาคอาเซียน โดยระบุว่าพร้อมร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านเศรษฐกิจและการค้า ด้านการคมนาคมและวัตถุดิบ ด้านการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ด้านการประมวลผลประสิทธิภาพสูง และด้านความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
นายซัตวินเดอร์ ซิงห์ จึงได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายร่วมลงมือเพื่อแก้ไขปัญหา โดยกล่าวว่า “เราควรใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์เพื่อพลิกฟื้นภาคสังคมและภาคเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ผ่านการลงทุนในด้านโซลูชันเพื่อแก้ไขวิกฤติต่าง ๆ ที่ตอบโจทย์มิติด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ซึ่งต่างมีความจำเป็นต่อประชาคมและโลกของเรา”
นายวิลเลียม นอร์ดเฮาส์ กล่าวว่ารัฐบาลในประเทศต่าง ๆ ควรเพิ่มการลงทุนรวมถึงการวิจัยด้านเทคโนโลยีที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ นายหู จิ่นหลงได้กล่าวเสริมว่า “ในช่วงเวลา 30 ถึง 40 ปีข้างหน้า เราจะยังคงเห็นว่า
ความเป็นอัจฉริยะและการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก และการก้าวสู่ความเป็นอัจฉริยะจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของเราจำเป็นต้องพึ่งพาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (Power Electronics) และเมื่อแนวโน้มเรื่องนี้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ อุตสาหกรรมพลังงานระดับโลกจะเปลี่ยนจากการพึ่งพาทรัพยากรเป็นหลักไปสู่การขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยี”
นายหู จิ่นหลงยังกล่าวถึงพันธกิจ กลุ่มธุรกิจพลังงานดิจิทัลของหัวเว่ย ทั้งในด้านการผสานความเป็นดิจิทัลเข้ากับเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์กำลัง การพัฒนาพลังงานสะอาด และการยกระดับพลังงานให้เป็นดิจิทัลว่า “ด้วยการศึกษานวัตกรรมสำหรับการผลิตพลังงานสะอาด การยกระดับพลังงานให้เป็นดิจิทัล การประยุกต์ภาคการขนส่งให้ใช้พลังงานไฟฟ้า โครงสร้างพื้นฐานทางไอซีทีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และพลังงานอัจฉริยะแบบผสมผสาน เราร่วมงานกับลูกค้าและพาร์ทเนอร์
ทั่วโลกเพื่อพัฒนาพื้นที่ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำ ซึ่งรวมไปถึงบ้าน วิทยาเขตของมหาวิทยาลัย หมู่บ้าน และเมือง โดยสิ่งนี้จะสนับสนุนการพลิกโฉมจากโลกที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนต่ำสู่โลกที่มีอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนเป็นศูนย์”
จวบจนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2564 กลุ่มธุรกิจพลังงานดิจิทัลของหัวเว่ยได้ช่วยให้ลูกค้าสามารถผลิตพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้ถึง 443.5 พันล้านกิโลวัตต์ต่อชั่วโมง และประหยัดพลังงานไฟฟ้า 13.6 พันล้านกิโลวัตต์ ซึ่งเทียบเท่ากับลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนถึง 210 ล้านตันและการปลูกต้นไม้ถึง 290 ล้านต้น
ผู้เข้าร่วมงานหลายท่านยังได้เรียกร้องให้ภาคส่วนต่าง ๆ และหลายประเทศหลีกเลี่ยงการแยกตัวทางเศรษฐกิจและก้าวข้ามแนวคิดแบบที่ต้องมีผู้แพ้และผู้ชนะ ทั้งนี้ นายนีล บุชได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับการแยกตัวทางเศรษฐกิจที่มีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในเวทีโลก โดยเขากล่าวว่า “หลาย ๆ ประเทศยังคงมีแนวคิดแบบแก่งแย่งชิงชัยเป็นผู้ชนะ ซึ่งเป็นแนวคิดที่อันตรายและท้าทายการมีสามัญสำนึกร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยี เมื่อประเทศจีนและสหรัฐอเมริการ่วมมือกัน เราจะสามารถพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบดั้งเดิมและในรูปแบบใหม่ที่มีนวัตกรรมได้อย่างมากมาย”
แหล่งข้อมูล