ตอนกลางวันผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ตอนกลางคืนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากโซล่าร์เซลล์ลอยน้ำขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ‘อยู่ในประเทศไทย’ อยู่ที่เขื่อนสิรินธร จ.อุบลราชธานี มีขนาดเทียบเท่าสนามฟุตบอล 160 สนาม

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากโซล่าร์เซลล์ลอยน้ำ ‘ไฮบริด’ เขื่อนสิรินธร ก่อสร้างโดยบริษัท บีกริมพาวเวอร์ ของไทย ร่วมกับบริษัทไชน่าเอ็นเนอร์จี่คอร์ป ของจีน

โรงไฟฟ้าโซล่าร์เซลล์ลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่นี่เปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์มาตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา เป็นก้าวย่างสำคัญในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ตามนโยบายลดโลกร้อนของประเทศไทย ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนฯลง 47,000 ตันต่อปี

โรงไฟฟ้าประกอบด้วยแผงโซล่าร์เซลล์ลอยน้ำ 144,000 แผ่น บนพื้นที่ 750 ไร่ภายในอ่างเก็บน้ำ สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าสู่ระบบได้สูงสุด 45 เมกะวัตต์อย่างต่อเนื่อง ลดทอนความไม่แน่นอนในกระบวนการผลิตไฟฟ้าแบบเดิมที่มีปัจจัยด้านสภาพอากาศเข้ามารบกวน

หลักการผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนสิรินธร กฟผ.เผยว่า เป็นระบบพลังงานหมุนเวียน ตอนกลางวันผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ตอนกลางคืนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งกฟผ. วางแผนที่จะสร้างโครงการโรงไฟฟ้าแบบเดียวกันนี้เพิ่มอีก 15 แห่งในประเทศไทย มีเป้าหมายบรรลุกำลังการผลิตไฟฟ้า 2,725 เมกะวัตต์ เพิ่มการใช้พลังงานสะอาดเป็น 35% ภายในปี ค.ศ.2037

การมีโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจะช่วยยกระดับความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของไทยด้วยการใช้พลังงานสะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แผงโซล่าร์เซลล์ลอยน้ำได้รับการออกแบบให้มีพื้นที่เพียงพอสำหรับรับพลังงานแสงอาทิตย์โดยไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมใต้น้ำ

โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จากโซล่าร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดเขื่อนสิรินธร นอกจากจะเป็นสถานที่ผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาดให้กับประเทศไทยแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่จะเปิดให้เข้าชมได้ตั้งแต่ต้นปีหน้า สร้างงาน สร้างรายได้ กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/178839832836368/posts/921328315254179/