e-Signature ระบบการทำธุรกรรมออนไลน์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

สำหรับในยุคปัจจุบันนี้ เรียกได้ว่าเป็นยุคแห่งการสื่อสารไร้พรมแดนก็ว่าได้ โดยจะเห็นได้จากการที่เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตของผู้คน และได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับกลไกต่าง ๆ ของสังคม ที่ต้องผันตัวเองมาเป็นกลไกแบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อสินค้าออนไลน์ การเบิก – ถอน – โอน เงินแบบออนไลน์ เป็นต้น

แต่ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างโจทย์ใหม่ ๆ ให้กับกระบวนการทางกฎหมายขึ้นด้วย เพราะจะต้องปรับตัวให้เท่าทันกับกระแสความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีนั้นเอง

e-Document

ซึ่งปัญหาหนึ่งที่ทุกคนน่าจะทราบกันดี ก็คือปัญหาการฉ้อโกงออนไลน์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ ๆ ไม่ว่าจะเป็น การยืมเงินผ่านแชทแล้วไม่คืน การซื้อของออนไลน์แล้วไม่ได้ของ หรือกลวิธีต่าง ๆ อีกมากมาย โดยที่ผ่านมาหลายคนที่ตกเป็นผู้เสียหายมักจะปล่อยเลยตามเลย เพราะคิดว่าการแชทยืมเงิน หรือการซื้อขายออนไลน์ยังไม่มีภาระผูกพันทางกฎหมาย เพราะไม่ได้มีการเซ็นชื่อ หรือลงลายมือรับรองในเอกสาร

แต่ในปัจจุบันได้เกิดการปรับปรุงวิธีการบังคับใช้กฎหมายให้มีความทันสมัยขึ้น เพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม นั้นก็คือระบบ e-Document นั้นเอง โดยจะถือว่าการทำธุรกรรมผ่านระบบออนไลน์นั้น สามารถนำมาใช้เป็นหลักฐานได้ไม่ต่างจากการทำธุรกรรมโดยใช้เอกสาร

e-Signature

โดยปกติเมื่อเราจะเซ็นสัญญาหรือทำธุรกรรมทางกฎหมายต่าง ๆ เราจะต้องเซ็นบนเอกสาร แต่ในปัจจุบันในระบบ e-Document จะมีสิ่งที่เรียกว่า e-Signature ซึ่งระบุว่าเข้าสู่ระบบบัญชีออนไลน์ต่าง ๆ ของเรา โดยการใส่ Password ไม่ว่าจะเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ก็ตาม การกระทำนี้เมื่อนำไปสู่การทำธุรกรรมผ่าน e-Document ก็ไม่ต่างจากการเซ็นลายเซ็นนั้นเอง ซึ่งรูปแบบก็มีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็น การลงชื่อท้ายในอีเมล์, การสอดบัตรในตู้ ATM และกดรหัสผ่าน, การเขียนลายเซ็นบนหน้าจอทัชสกรีน, การใส่ Username Password ก่อนเข้าแอพฯธนาคาร เป็นต้น

ซึ่งรูปแบบของ e-Signature นั้น จะต้องเป็นสิ่งที่มีความน่าเชื่อถือ และพิสูจน์ได้ว่า การดำเนินการต่าง ๆ เกิดขึ้นจากเจ้าของบัญชีเอง โดยไม่มีใครมาแก้ไขหรือแอบอ้างในการใช้งาน

ข้อดี e-Signature

ซึ่งนอกจากในแง่มุมทางกฎหมายแล้ว ในแง่ของการบริหารจัดการเอกสาร ระบบ e-Signature ยังมีข้อดีอีกหลายอย่าง เช่น เป็นระบบที่ไม่ต้องใช้กระดาษ ทำให้ลดปริมาณการใช้กระดาษซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งล้อม รวมถึงยังประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บเอกสารธุรกรรมต่าง ๆ และไม่ต้องเสียเงินในการจัดส่งเอกสาร เพราะทุกอย่างดำเนินการผ่านระบบออนไลน์ทั้งหมด

และถ้าหากมองในแง่ของการทำงาน ระบบ e-Signature ยังเป็นระบบที่ช่วยให้ให้เกิดความสะดวกมากยิ่งขึ้น เพราะลดขั้นตอนการทำงานลง โดยเราไม่จำเป็นจะต้องเซ็นเอกสารในทุก ๆ หน้า เช่น ในกรณีการเปิดบัญชีธนาคาร เมื่อเราทำผ่านระบบนี้ เพียงแค่เราอ่านเงื่อนไขต่าง ๆ เป็นที่เข้าใจ จากนั้นให้กดยอมรับ เพียงเท่านี้ก็เท่ากับว่าเราได้เซ็นเอกสารอย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว ไม่ต้องมาไล่เซ็นที่ละหน้าเหมือนรูปแบบเดิม

นอกจากนี้ ท่ามกลางกระแสการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระบบ e-Signature ยังถือเป็นระบบที่ช่วยเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ทำให้ลดโอกาสการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ด้วย

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ)

ETDA หรือ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ) ถือเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลเรื่อง e-Signature โดยตรง ซึ่งเป็นรูปแบบการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีกฎหมายรองรับ และถ้าหากใครมีข้อสงสัย หรือต้องการคำปรึกษา สามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02 – 123 – 1234 และสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.etda.or.th

เรียบเรียงโดย Security Systems Magazine