AI แสดงแสนยานุภาพช่วยเหลือ “ช้างแอฟริกา” ที่ใกล้สูญพันธุ์ได้อย่างไร

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) จัดให้ช้างแอฟริกาและช้างสะวันนาแอฟริกาถูกจัดอยู่ในประเภท “ใกล้สูญพันธุ์” และ “ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง” แต่ด้วยขุมพลังของกล้องที่ขับเคลื่อนด้วย AI ตัวใหม่ที่กำลังได้รับการทดสอบในประเทศกาบอง ซึ่งเชื่อมต่อโดยตรงกับดาวเทียมและส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ไปยังเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าหรือชาวบ้านในท้องถิ่น ทำให้ความหวังที่จะทำให้สัตว์ป่าที่อยู่ในสถานะวิกฤตนี้อยู่รอดปลอดภัยต่อไปได้

ดร.บรูโน โอแบร์เล ผู้อำนวยการใหญ่ IUCN ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญระดับโลกของสิ่งมีชีวิตที่โดดเด่นที่สุดชนิดหนึ่งของแอฟริกาว่า “ช้างแอฟริกามีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ เศรษฐกิจ ตลอดจินตนาการร่วม (Collective Imagination) ของคนทั้งโลก”

IUCN ยืนยันว่าช้างแอฟริกาถูกจัดให้อยู่ในบัญชีแดงของสายพันธุ์ที่ถูกคุกคาม เมื่อเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา หลังจากการลดลงของจำนวนประชากรเนื่องจากการสูญเสียถิ่นที่อยู่อาศัยและการลักลอบล่างาช้าง ช้างแอฟริกาจึงถูกจัดให้อยู่ในประเภท “ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง” ขณะที่ช้างสะวันนาแอฟริกา (มีขนาดลำตัวที่ใหญ่กว่า ล่ำสันกว่า แพร่กระจายพันธุ์ได้กว้างกว่าช้างแอฟริกา รวมถึงมีพฤติกรรมที่แตกต่าง คือ มักอาศัยอยู่ตามทุ่งโล่งหรือตามพุ่มไม้ต่างๆ มากกว่าป่าทึบ เป็นสัตว์ที่ไม่กลัวแดดและความร้อน นิยมหากินและอพยพได้ทั้งกลางวันและกลางคืน) ถูกจัดให้อยู่ในประเภท “ใกล้สูญพันธุ์”

โดย IUCN ระบุว่า จำนวนประชากรของช้างที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาทั้งสองสายพันธุ์ลดลงเหลือเพียง 415,000 ตัว เท่านั้น และที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่งคือคือจำนวนช้างแอฟริกาลดลงถึง 86% ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา

“เราต้องยุติการรุกล้ำที่อยู่อาศัยของช้างป่าแอฟริกาอย่างเร่งด่วน และให้แน่ใจว่ามีการอนุรักษ์ที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมเพียงพอสำหรับทั้งสองสายพันธุ์” เขากล่าวเสริม

ด้วยความร่วมมือกับ Hack the Planet สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีจากเนเธอร์แลนด์ ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษที่มหาวิทยาลัยสเตอร์ลิงได้พัฒนากล้องตัวใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งสามารถช่วยปกป้องช้างและสัตว์ป่าอื่นๆ ได้ โดยกล้องอัจฉริยะนี้จะเชื่อมต่อโดยตรงกับดาวเทียมและส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ไปยังเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าหรือชาวบ้านในท้องถิ่น

“ข้อมูลเรียลไทม์จากกล้องอัจฉริยะและเซ็นเซอร์อื่นๆ สามารถปฏิวัติวิธีที่เราตรวจสอบและปกป้องระบบนิเวศที่ถูกคุกคามมากที่สุดในโลกได้ โดยความก้าวหน้าในการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าความเป็นจริงแล้ว ข้อมูลเรียลไทม์สามารถใช้ในการตัดสินใจได้ดีขึ้นในช่วงเวลาวิกฤต” ดร.โรบิน ไวท์ทอค นักวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยสเตอร์ลิงกล่าว

ระหว่างการทดลองนำร่องเทคโนโลยีนี้ในกาบอง นักวิจัยกล่าวว่า “ระบบกล้อง AI นี้สามารถถ่ายภาพได้มากกว่า 800 ภาพใน 72 วัน โดยถ่ายภาพช้างได้ 217 ภาพ และพบว่าโมเดล AI มีความแม่นยำถึง 82% ในการจดจำช้าง ขณะที่เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าหรือชาวบ้านในท้องถิ่น จะได้รับการแจ้งเตือนจากระบบอย่างรวดเร็ว โดยเฉลี่ยภายใน 7 นาที”

“ด้วยโปรแกรมนำร่องนี้ เราได้แสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีกล้องที่ขับเคลื่อนด้วย AI ของเราใช้งานได้จริงและส่งผลดีต่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ โซลูชันของเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับการติดตั้งโครงสร้างพื้นฐานเครือข่ายเพิ่มเติม แต่สามารถปรับใช้ในภาคสนามโดยผู้ที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญได้ทุกที่ในโลก” ทิม แวน เดอร์เซน ผู้ก่อตั้ง Hack The Planet กล่าว

ขณะที่เทคโนโลยีเดิมที่ใช้กันคือ กล้องติดตามเส้นทางซึ่งถูกใช้เป็นประจำในการสำรวจสัตว์ป่าเพื่อตรวจจับภัยคุกคามของระบบนิเวศ แต่ก็มักจะถูกขัดขวางในพื้นที่ห่างไกลเนื่องจากขาดการเชื่อมต่อบรอดแบนด์ การใช้กล้องตรวจจับสัตว์ป่าที่ขับเคลื่อนด้วย AI สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้โดยการให้การแจ้งเตือนทันทีโดยไม่จำเป็นต้องใช้ไวไฟ วิทยุระยะไกลหรือการครอบคลุมของเครือข่ายมือถือ ซึ่งช่วยให้อนุรักษ์ ปกป้อง และฟื้นฟูระบบนิเวศได้ดียิ่งขึ้น

เทคโนโลยีนี้ยังสามารถตรวจจับสัตว์ชนิดอื่นๆ รวมถึงมนุษย์ได้ด้วย ดังนั้นจึงสามารถตรวจสอบความขัดแย้งระหว่างคนกับสัตว์ป่า ตลอดจนกิจกรรมที่ผิดกฎหมายในพื้นที่คุ้มครองได้ รวมถึงสามารถขัดขวางไม่ให้ช้างป่าเข้ามาในหมู่บ้านเพื่อหาอาหาร

โดย ลี ไวท์ รัฐมนตรีกระทรวงน้ำ ป่าไม้ ทะเล และสิ่งแวดล้อมของกาบองกล่าวว่า “หากเราสามารถใช้เทคโนโลยีนี้ เจ้าหน้าที่พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของเราจะตายน้อยลง และจะมีการจับผู้ลักลอบล่าสัตว์มากขึ้น”

ทั้งนี้ “ช้างแอฟริกา” เป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีลักษณะคล้ายช้างเอเชีย แต่แตกต่างที่ใบหู ช้างแอฟริกาจะมีใบหูที่ใหญ่มากคล้ายพัด ทำหน้าที่ช่วยโบกพัดเพื่อระบายความร้อน ขณะที่ผิวหนังมีลักษณะหยาบย่นเป็นรอยอย่างเห็นได้ชัดเจน

ช้างแอฟริกามีอายุขัยเฉลี่ยประมาณ 70 ปี เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญต่อระบบนิเวศเป็นอย่างมาก โดยในช่วงฤดูแล้ง ช้างแอฟริกาจะขุดหน้าดินของแม่น้ำที่แห้งผากเพื่อหาน้ำดื่ม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสัตว์อีกหลายชนิดที่มาอาศัยแหล่งน้ำนี้ ส่วนมูลของช้างแอฟริกาจะเต็มไปด้วยเมล็ดพืช ทำให้ช้างแอฟริกาเป็นสัตว์ที่ช่วยกระจายพันธุ์พืช รวมทั้งมูลช้างยังเป็นที่อาศัยของแมลงปีกแข็งหลายชนิดอีกด้วย

สำหรับ “กาบอง” เป็นที่อยู่อาศัยของช้างแอฟริกามากถึง 60-70% โดยมีจำนวนประมาณ 95,000 ตัวตามรายงานของสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศนี้ถือเป็นฐานที่มั่นหลักของช้างสายพันธุ์นี้ และเป็นที่อยู่อาศัยของช้างมากกว่าประเทศอื่นๆ ทั่วโลก

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2023/03/03/how-ai-help-endangered-african-elephants/