โคลนนิ่งหมูสำเร็จทุกขั้นตอนด้วย AI แถมยังผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา มีข่าวเกี่ยวกับโรคระบาดที่เกิดขึ้นในหมูที่เรียกว่า ‘โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร’ (African swine fever: ASF) ซึ่งสร้างความเสียหายแก่เกษตรกรนับพันชีวิต บางฟาร์มต้องรีบขนย้ายหมูออกจากเล้า มากไปกว่านั้น บางแห่งถึงกับต้องปิดตัวลง

อย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศที่นิยมบริโภคเนื้อหมูมากที่สุดคือประเทศจีน เมื่อประสบปัญหาเช่นนี้ ทำให้การนำเข้าเนื้อหมูมีราคาสูงกว่าที่ควรจะเป็น พวกเขาจึงคิดค้นหาวิธีการที่จะผลิตเนื้อหมูให้มีปริมาณที่เหมาะสมกับคนในประเทศ

ล่าสุดนักวิจัยชาวจีน จากมหาวิทยาลัยหนานไค (Nankai University) เผยว่า สามารถโคลนนิ่งหมูทุกขั้นตอนสำเร็จ โดยใช้แค่ ‘หุ่นยนต์ปัญญาประดิษฐ์’ (AI)

ความสำเร็จนี้เกิดขึ้นเมื่อสถาบันวิจัยสามารถให้กำเนิดลูกหมู 7 ตัวได้อย่างปลอดภัย ในเดือนมีนาคม 2022 โดย หลิว เหยาเว่ย (Liu Yaowei) หนึ่งในผู้ที่พัฒนาระบบ AI ระบุว่า การโคลนนิ่งเป็นไปโดยอัตโนมัติตามขั้นตอนที่วางไว้ และไม่มีมนุษย์เข้ามาเกี่ยวข้องในการดำเนินการทั้งหมด

ก่อนหน้านี้มหาวิทยาลัยหนานไคเคยประสบความสำเร็จในการโคลนนิ่งหมูมาแล้ว แต่กระบวนการโคลนนิ่งดังกล่าวเป็นการใช้แรงจากมนุษย์เป็นหลัก แต่บางอย่างมนุษย์เองก็ไม่สามารถคำนวณออกมาเป็นตัวเลขเป๊ะๆ ได้

“ระบบสั่งการด้วย AI สามารถคำนวณกระบวนการต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ และคอยควบคุมให้หุ่นยนต์ใช้กำลังน้อยที่สุดในการดำเนินการโคลนนิ่งตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดลง ทำให้ลดความเสียหายของเซลล์ได้ดีกว่าถ้าเทียบกับการดำเนินการขั้นตอนต่างๆ โดยฝีมือมนุษย์” หลิวกล่าว

ที่สำคัญ การใช้ AI นี้ยังช่วยให้อัตราความสำเร็จของกระบวนการโคลนนิ่งสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด

พ่าน เติ่งเคอ (Pan Dengke) อดีตนักวิจัยจากสถาบันด้านวิทยาศาสตร์การเกษตรจีน (Chinese Academy of Agricultural Sciences) ที่เคยมีส่วนร่วมในการโคลนนิ่งหมูตัวแรกของจีนจนสำเร็จเมื่อปี 2015 กล่าวว่า กระบวนการโคลนนิ่งที่ใช้หุ่นยนต์ทั้งระบบจะสร้างความเปลี่ยนแปลงและเพิ่มผลผลิตในอนาคตได้

เขาเสริมว่า การถ่ายโอนนิวเคลียสของเซลล์โซมาติก (Somatic cell nuclear transfer) ซึ่งเป็นการย้ายฟากดีเอ็นเอจากนิวเคลียสเซลล์ในร่างกายที่ไม่ใช่เซลล์สืบพันธุ์ เป็นวิธีการโคลนนิ่งดั้งเดิมซึ่งต้องใช้เวลามาก และที่ผ่านมาดำเนินการด้วยฝีมือมนุษย์เป็นหลัก พร้อมยกตัวอย่างกรณีของเขาเองที่ต้องโคลนนิ่งหมูราว 1,000 ตัวต่อวัน จนมีอาการปวดหลังเพราะนั่งนาน ซึ่งความอ่อนล้าทางร่างกายก็มีผลต่อประสิทธิภาพการโคลนนิ่งเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะเป็นการสั่งการให้หุ่นยนต์ทำงานแทนได้ทั้งหมด แต่มนุษย์ก็ยังถือเป็นส่วนสำคัญในการคิดค้น และต้องคอยดูแลกระบวนการโคลนนิ่งอย่างใกล้ชิด ในอนาคตอาจมีการปรับใช้ในการโคลนนิ่งกับสัตว์ชนิดอื่นๆ ก็เป็นได้

แหล่งข้อมูล

https://www.facebook.com/brandthink.me/photos/a.1767934240198787/3372947686364093/