ซีอีโอ Intel ประเมินปัญหาชิปเซตขาดแคลนยาวไปจนถึงปี 2024

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

แพต เกลซิงเกอร์ ซีอีโออินเทล (Intel) ประเมินสถานการณ์ชิปเซตขาดแคลนใหม่อีกครั้งจากเดิมที่เคยเชื่อว่าน่าจะลากยาวไปจนถึงปี 2023 เป็นอย่างน้อย ได้ปรับไทม์ไลน์โดยอาจกินเวลาไปถึงปี 2024 เลยทีเดียว

แพต เกลซิงเกอร์ ซีอีโอของอินเทล ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซีเอ็นบีซี ในประเด็นชิปเซตขาดแคลน ซึ่งยังถือว่าเป็นประเด็นสำคัญของโลกเทคโนโลยี

การให้สัมภาษณ์ครั้งนี้ เกลซิงเกอร์ มองในทิศทางที่แย่ไปกว่าเดิม โดยภาพรวมของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์น่าจะขาดแคลนอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปี 2024 จากที่เคยคาดการณ์ว่าน่าจะยาวไปจนถึงแค่ปี 2023 เท่านั้น

ซีอีโออินเทล กล่าวต่อไปว่า แม้เรื่องของชิปเซตขาดแคลนจะฟังแล้วเป็นเรื่องที่น่ากังวล แต่ในอีกด้านหนึ่งมันก็ไม่ได้กระทบไปกับทุกประเภทของชิปเซตไปทั้งหมด บางอุตสาหกรรมอาจได้รับผลกระทบน้อย บางอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบหนัก

อันที่จริงในส่วนอินเทล ในช่วงที่ผ่านมาถือว่าทำได้ดี ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีที่อินเทล สามารถจัดหาวัสดุได้ใกล้เคียงกับความต้องการของลูกค้า

การขาดแคลนชิปเซตที่จะลากยาวไปจนถึงปี 2024 ไม่ได้หมายรวมถึงแค่ผลิตภัณฑ์ที่ต้องการชิปเซตที่ใช้เทคโนโลยีปัจจุบันเท่านั้น แต่รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่มาจากสายการผลิตใหม่อีกด้วย

นอกจากนี้แล้ว การที่ผู้ผลิตต้องเผชิญหน้ากับข้อจำกัดด้านเครื่องมือการผลิตที่สำคัญ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการขยายกำลังการผลิต ย่อมทำให้กระบวนต่างๆ ของการผลิตชิปเซตมีปัญหาตามมา นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้อินเทล มีมุมมองเกี่ยวกับการขาดแคลนชิปเซตที่ต่างไปมุมมองก่อนหน้านี้

อินเทลเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่มีการลงทุนอย่างหนักในช่วงของการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 โดยมีการตั้งโรงงานใหม่หลายแห่งในรัฐโอไฮโอ, รัฐแอริโซนา และในประเทศเยอรมนี เพียงแต่ยังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าที่โรงงานเหล่านี้พร้อมที่จะผลิตชิปเซต

ทั้งนี้ ความต้องการชิปเซตมีมากขึ้นตามลำดับ เนื่องจากโลกใบนี้ทุกอย่างกลายเป็นดิจิทัลมากขึ้น จึงทำให้หน่วยประมวลผลกลายเป็นสิ่งสำคัญ ดังจะเห็นได้จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่สมาร์ทโฟน, รถยนต์ และเครื่องซักผ้า

แหล่งข้อมูล

https://www.thairath.co.th/news/tech/2381086