Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24
Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25
Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26
“1,000 ล้านคน” คือจำนวนของคน ที่กำลังประกอบอาชีพ เป็น “ฟรีแลนซ์” ทั่วโลก
แม้ว่าฟรีแลนซ์ จะสื่อถึง การเป็นอิสระจาก “งานประจำ” แต่จริง ๆ แล้ว เราเป็นอิสระขนาดนั้นหรือไม่ ?
อีกเทรนด์ของการทำงาน นั่นคือ “Digital Nomad” ซึ่งฟรีแลนซ์กว่า 60% ใฝ่ฝันอยากจะเป็น
Digital Nomad คืออะไร แล้วจะมาเปลี่ยนโลกธุรกิจอย่างไร?
คำว่า “Nomad” หมายถึง “เร่ร่อน” ดังนั้น Digital Nomad จึงถูกนำมาใช้เรียกกลุ่มคนที่ทำงานแบบดิจิทัล ทำให้ทำงานจากพื้นที่ไหนบนโลกก็ได้ เพียงแค่สามารถเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้
โดย Digital Nomad ไม่ได้หมายถึงเฉพาะคนที่เป็นฟรีแลนซ์เท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงเหล่าพนักงานประจำ ที่เข้าข่ายลักษณะการทำงานแบบที่กล่าวไปด้วย
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ ไม่ว่าจะทำงานเป็นอาชีพอะไร ขอแค่สามารถทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ก็สามารถเป็น Digital Nomad ได้
ถ้าพูดถึงอาชีพของ Digital Nomad ที่เห็นได้บ่อย จะมีตั้งแต่ บล็อกเกอร์, นักเขียน, กราฟิกดีไซเนอร์, ซอฟต์แวร์ ดีเวลลอปเปอร์, ดิจิทัล มาร์เก็ตติง, ผู้ให้คำปรึกษา และธุรกิจส่วนตัว
แล้วอะไรคือสิ่งที่ทำให้ Digital Nomad เริ่มกลายมาเป็นเทรนด์มากขึ้น ?
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การมาถึงของวิกฤติโรคระบาด เป็นหนึ่งในปัจจัย ที่ทำให้เทรนด์ Digital Nomad เติบโตได้มากขึ้น เพราะหลาย ๆ บริษัท ก็เริ่มเปิดใจกับการทำงานแบบระยะไกล หรือ “Remote Work” มากขึ้น
ซึ่งสิ่งที่ช่วยให้เรื่องนี้เป็นไปได้ ก็คือ “เทคโนโลยี” ที่เข้ามาอำนวยความสะดวก ให้กับการทำงานได้มากขึ้น ทำให้ต่อให้มีแค่โทรศัพท์มือถือเครื่องเดียว ก็สามารถทำงานได้ไม่ต่างจากคอมพิวเตอร์ รวมถึง อินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้การทำงานในแต่ละขั้นตอนไร้รอยต่อมากขึ้น โดยที่พนักงานทุกคน ไม่จำเป็นต้องมานั่งอยู่ในที่เดียวกันก็ได้ อย่างคุณสืบบุญ ไชยสิทธิ์ หรือคุณสายป่าน คนไทยที่มีโอกาสไปร่วมงานกับ Y+ Global องค์กรระดับนานาชาติ ซึ่งทำงานเกี่ยวกับเด็กที่ติดเชื้อ HIV ทั่วโลก
ที่น่าสนใจคือ แม้จะต้องทำงานกับคนในหลากหลายประเทศ แต่คุณป่านกลับสามารถนั่งทำงานอยู่ที่บ้าน ในจังหวัดเชียงใหม่ได้อย่างไม่มีปัญหา โดยคุณป่านเคยให้สัมภาษณ์กับ Voice TV ในปี 2021 เกี่ยวกับการทำงานกับคนที่อยู่คนละเขตเวลา
อย่างกรณีของเขา เป็นคนที่ชอบเริ่มต้นทำงานในช่วงบ่าย ซึ่งตรงกับทางบริษัทต้นสังกัดที่เริ่มงานพอดี ทำให้เกิดความลงตัวในการทำงานร่วมกัน หรือถ้าหากในกรณีอื่น เราก็สามารถปรับตารางงาน ให้เข้ากับบริษัทต้นทางได้ เพราะความยืดหยุ่นในการทำงาน ก็ถือเป็นสิ่งหนึ่ง ที่ทำให้หลายคนเลือกจะทำงานเป็น Digital Nomad
ซึ่งการที่เทรนด์ Digital Nomad เติบโต นอกจากจะทำให้เกิดความสะดวกกับฝั่งพนักงาน ที่ได้เป็นเจ้านายตัวเองแล้ว ยังเพิ่มโอกาสในการเที่ยวไปด้วย ทำงานไปด้วยได้
ส่วนในด้านขององค์กรเอง ก็ช่วยประหยัดต้นทุน ในกรณีที่ไม่ต้องมีพื้นที่สำนักงาน ให้กับทุกคนในองค์กร รวมถึงบริษัทยังสามารถจ้างงานที่เหมาะสม ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใครหรืออยู่ที่ไหน
มากไปกว่านั้น เทรนด์ Digital Nomad ยังส่งผลดีให้กับธุรกิจอย่างโรงแรม, บ้านพัก หรือ Co-working Space ก็ได้ประโยชน์จากตรงนี้เช่นกัน โดยเฉพาะประเทศที่เน้นการท่องเที่ยว
อีกหนึ่งเทรนด์ ที่น่าสนใจก็คือ พฤติกรรมและความต้องการของคนทำงาน โดยรู้หรือไม่ว่า 76% ของพนักงาน ก็ไม่อยากกลับไปทำงานที่ออฟฟิศ ถึงขนาดที่บางคนพร้อมที่จะลาออก หากบริษัทบังคับให้กลับไปทำงานที่บริษัทอย่างเต็มรูปแบบ
และอีกธุรกิจที่จะเติบโตจากเทรนด์นี้ คือธุรกิจการอำนวยความสะดวก ให้กับกลุ่มคนที่อยากเริ่มต้นการเป็น Digital Nomad ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์อย่าง Nomad List ที่ก่อตั้งในปี 2014 โดยเปิดให้บริการเป็นเว็บไซต์ให้ข้อมูล เกี่ยวกับสถานที่ต่าง ๆ ที่เหมาะแก่การทำงาน รวมไปถึงเป็นคอมมิวนิตีสำหรับชาว Digital Nomad หรือเว็บไซต์ Bucketlist Bombshells ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อสอนทักษะในอาชีพต่าง ๆ ที่นำไปสู่การทำงานในรูปแบบ Digital Nomad ได้ เช่น งานออกแบบ, เขียนโค้ด หรือแม้แต่เปิดคอร์สออนไลน์ของตัวเอง ซึ่งตัวผู้ก่อตั้งเว็บไซต์นี้ก็ทำงานเป็น Digital Nomad เช่นกัน
อย่างไรก็ตาม Digital Nomad ก็ไม่ได้มีแค่ข้อดีอย่างเดียวเท่านั้น เพราะด้านข้อเสียก็มีอยู่ไม่น้อย
กรณีที่เป็นฟรีแลนซ์ ก็อาจต้องแบกรับความเสี่ยงของรายได้ ที่ไม่มั่นคง และต้องอาศัยการบริหารของตัวเอง ทั้งในเรื่องเวลา และค่าใช้จ่ายที่ต้องแบกรับตลอดเวลา ส่วนองค์กรก็ต้องแบกรับความเสี่ยง ที่ Digital Nomad บางคนอาจจะไม่สามารถติดต่อได้ในเวลาที่ต้องการ
แล้วเรื่องนี้ จะส่งผลกระทบอะไร กับประเทศไทยเรา ?
จริง ๆ แล้ว ประเทศไทยก็ถือเป็นหนึ่งในประเทศที่ Digital Nomad จากฝั่งยุโรปอยากมามากที่สุด เนื่องจากค่าครองชีพที่เป็นมิตร เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 30,000 บาทต่อเดือน อีกทั้งความพร้อมด้านอินเทอร์เน็ต, สถานที่ท่องเที่ยว และอาหารที่อร่อย ทำให้ประเทศไทยกลายเป็นจุดหมาย ของ Digital Nomad หลาย ๆ คน
อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่สนใจอยากเป็น Digital Nomad ก็ต้องคิดทบทวนให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่เคยทำงานในองค์กร ต้องกล้าที่จะก้าวออกจาก Comfort Zone ให้ได้
ส่วนคนที่ทำธุรกิจ ก็ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอยู่เสมอ และรู้จักปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดในโลกที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ในเสี้ยววินาที..
แหล่งข้อมูล
https://www.facebook.com/MarketThinkTH/posts/5003349493090735/