Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24
Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25
Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26
บรรดานักวิจัยในเยอรมนี สร้างความฮือฮา เปิดตัวแบตเตอรี่เล็กที่สุดในโลก มีขนาดพอๆกับเม็ดฝุ่น ด้วยศักยภาพป้อนพลังงานแก่คอมพิวเตอร์ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่
การเปิดตัวครั้งนี้มีความเป็นไปได้ที่จะช่วยจัดการกับปัญหาหลัก 2 ปัญหา ที่ส่งผลกระทบต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นั่นคือขาดแหล่งพลังงานบนชิปและความท้าทายต่างๆนานาในด้านการผลิตไมโครแบตเตอรี่ ขณะที่การสร้างแบตเตอรีขนาดเล็กจิ๋วจะสามารถส่งเสริมการพัฒนาการทางเทคโนโลยี
“ผลการวิจัยของเราแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการจัดเก็บพลังงานที่น่ายินดีในขนาดเล็กกว่าตารางมิลลิเมตร” ดอคเตอร์ Minshen Zhu หนึ่งในนักวิจัยที่อยู่เบื้องหลังโครงการนี้ระบุ ส่วนศาสตราจารย์โอลิเวอร์ ชมิดท์ เพื่อนร่วมงานของ Zhu เสริมว่า “เทคโนโลยีนี้ยังคงสามารถเพิ่มศักยภาพได้อีกมหาศาล และเราสามารถคาดหมายโมโครแบตเตอรีที่ดีกว่านี้มากในอนาคต”
เป้าหมายของโครงการนี้ก็คือหาทางออกสำหรับโทคโนโลยีพลังงาน ท่ามกลางคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือที่มีขนาดเล็กลงเรื่อยๆ ในขณะที่บรรดาผู้บริโภคเสาะะแสวงหาอุปกรณ์ต่างๆที่มีขนาดกะทัดรัดกว่าเดิม แต่มีศักยภาพและสมรรถนะด้านเทคโนโลยีทุกอย่างแบบเดียวกับอุปกรณ์ขนาดใหญ่ของพวกเขาก่อนหน้านี้
ไมโครแบตเตอร์รีแบบชาร์จไฟใหม่ได้นี้ผลิตโดยคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเชมนิทซ์ของเยอรมนี และด้วยที่มีศักยภาพป้อนพลังงานแก่ชิปคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กสุดของโลกราวๆ 10 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นแบตเตอร์รีจิ๋วนี้ จึงมีขีดความสามารถที่สำคัญสำหรับเทคโยโลยีต่างๆในอนาคต ในขณะที่อุปกรณ์ต่างๆมีแนวโน้มปรับลดขนาดลงเรื่อยๆ
แบตเตอรีจิ๋วนี้มีความแตกต่างจากแบตเตอรีดั้งเดิมลูกพี่ลูกน้องของมัน โดยเวอร์ชันที่มีขนาดเล็กลงนี้ใช้เทคโนโลยีมาตรฐานในการผลิตพลังงาน แต่มีพื้นที่ใช้สอยที่น้อยลงอย่างมาก ดังนั้นอุปกรณ์ที่พัฒนาใหม่ของคณะวิจัยจึงรวมมันไว้บนชิป ทว่ายังสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 100 ไมโครวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเซนติเมตร
ในถ้อยแถลงที่เผยแพร่โดยบรรดานักวิจัยไม่ได้เปิดเผยว่าเทคโนโลยีนี้จะถูกนำมาใช้ประโยชน์ในทางพาณิชย์เมื่อไหร่
แหล่งข้อมูล
https://www.facebook.com/119425428118611/posts/5064252840302487/