ญี่ปุ่นตั้งเป้าส่งนักบินอวกาศเยือนดวงจันทร์ภายในปลายทศวรรษนี้

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศแผนโครงการสำรวจอวกาศของประเทศฉบับทบทวนใหม่ โดยตั้งเป้าหมายส่งนักบินอวกาศชาวญี่ปุ่นไปเยือนดวงจันทร์ภายในช่วงครึ่งหลังของทศวรรษนี้ อีกทั้งยังได้เผยถึงความตั้งใจที่จะส่งดาวเทียมสำรวจไปยังดาวอังคารในปี 2567 ตลอดจนพัฒนาวิธีการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในอวกาศ

“อวกาศมิได้เป็นเพียงพรมแดนที่สร้างแรงบันดาลใจและไฟฝันให้กับผู้คนมากมาย แต่ยังเป็นรากฐานสำคัญสำหรับสังคมเศรษฐกิจของเรา โดยเฉพาะในแง่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ” นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะกล่าวสรุปในที่ประชุมเกี่ยวกับแผนดังกล่าว

ตามร่างแผนการดังกล่าว ญี่ปุ่นจะส่งนักบินอวกาศคนแรกที่ไม่ใช่ชาวอเมริกันไปเยือนดวงจันทร์โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอาร์เทมิส (Artemis) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มของสหรัฐที่มีเป้าหมายในการส่งนักบินอวกาศกลับไปเยือนดวงจันทร์อีกครั้ง

ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นประกาศแผนดังกล่าวภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากนายยูซาคุ มาเอะซาวะ มหาเศรษฐีชาวญี่ปุ่น เดินทางกลับถึงพื้นโลกหลังจากอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) มา 12 วัน โดยเขาเป็นนักท่องเที่ยวในอวกาศรายแรกที่เดินทางไปเยือน ISS ในรอบกว่า 10 ปี

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ขณะเดียวกัน ประเทศจีนก็หมายมั่นที่จะก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำด้านการบินในอวกาศภายในปี 2573 โดยได้วางแผนที่จะส่งนักบินอวกาศของตนไปเยือนดวงจันทร์ด้วย ซึ่งอาจนำไปสู่การแข่งขันทางอวกาศ (Space Race) ในหมู่ประเทศเอเชีย

เมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา จีนได้กลายเป็นประเทศที่ 2 ของโลกที่นำยานอวกาศลงจอดบนพื้นผิวดาวอังคารได้อย่างปลอดภัยต่อจากสหภาพโซเวียตและสหรัฐ หลังจากที่สามารถส่งยานอวกาศลงจอดบนดวงจันทร์ได้เป็นครั้งแรกเมื่อ 2 ปีก่อน

แหล่งข้อมูล

https://www.ryt9.com/s/iq38/3285340