Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24
Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25
Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26
ผ่านมาปีกว่าแล้วที่โรงเรียน สถานศึกษา ทั้งหลายต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่ไม่ทันได้ตั้งตัวเพื่อจัด การเรียนการสอนออนไลน์ และล่าสุด จากรายงานการสำรวจที่จัดทำขึ้นโดย เลอโนโว และ ไมโครซอฟท์ พบว่า นักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนเริ่มเข้าใจถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ของการเรียนออนไลน์ และเริ่มที่จะสนุกไปกับการใช้ประโยชน์จากการเรียนออนไลน์
แต่อย่างไรก็ตาม การเรียนออนไลน์ ก็ยังคงพบเจอกับอุปสรรค โดยอุปสรรคนี้ไม่ใช่การขาดแคลนหรือการเข้าไม่ถึงเทคโนโลยี ทว่า เป็นการไม่รู้เท่าทัน และใช้โซลูชันหรือเทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างเต็มประสิทธิภาพต่างหาก อีกทั้งยังมีปัจจัยความท้าทายในด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างผู้เรียนและผู้สอน เนื่องจากการเรียนออนไลน์ในปัจจุบันดำเนินมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน โดยยังไม่มีทีท่าว่าจะสิ้นสุดเลย
ที่ผ่านมา การปิดโรงเรียนในหลายๆ ประเทศเกือบตลอดปี 2020 นี้ ทำให้ครูผู้สอน ผู้ปกครอง นักเรียนและนักศึกษา ต่างต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายของเทคโนโลยีการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่จะมานำเราสู่การทำความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้นว่าครูผู้สอน ผู้ปกครอง และนักเรียนนักศึกษาจะปรับตัวให้เข้ากับการเรียนออนไลน์อย่างไรบ้างในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส ความท้าทายที่แท้จริงมีอะไรบ้าง และมีแนวทางแก้ไขใดบ้างที่นำมาปรับใช้เพื่อช่วยให้เทคโนโลยีการเรียนรู้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การศึกษาในครั้งนี้ได้ทำการสำรวจโดยบริษัทผู้เชี่ยวชาญ YouGov และ Terrapin ซึ่งไปเก็บข้อมูลจาก นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง และครูผู้สอน ประมาณ 3,400 คน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับ e-learning ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และยังสำรวจว่าเทคโนโลยีสามารถกระตุ้นการมีส่วนร่วมของนักเรียนนักศึกษาและสนับสนุนการเรียนรู้ได้อย่างไร โดยได้ดำเนินการสำรวจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2564 และผลการสำรวจที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
เทคโนโลยีการศึกษา ยังเป็นโซลูชันจำเป็น เพิ่มประสิทธิภาพ การเรียนออนไลน์ อย่างได้ผล
ครูผู้สอน และนักเรียนนักศึกษา มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับผลกระทบของชั้นเรียนออนไลน์ที่มีต่อผลประสิทธิภาพด้านการศึกษา ครูผู้สอนแสดงความคิดเห็นในทางที่ดีเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนทางออนไลน์ โดย 59% มั่นใจว่ามีประสิทธิภาพการสอนที่ดีขึ้น และ 24% เชื่อว่ายังคงรักษาระดับของประสิทธิภาพไว้ได้
อย่างไรก็ตาม การประเมินของนักเรียนนักศึกษามีความหลากหลาย เช่น ประมาณหนึ่งในสามของนักเรียนเชื่อว่าประสิทธิภาพใน การเรียนออนไลน์ ของตนดีขึ้น อีกสามส่วนเชื่อว่ายังคงเหมือนเดิม และอีกสามส่วนที่เหลือเชื่อว่าประสิทธิภาพการเรียนของตนลดลง
สำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแล้ว นักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนส่วนใหญ่ใช้เทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้นในปีที่ผ่านมา และแนวโน้มนี้จะยังคงดำเนินต่อไป โดย 66% ของนักเรียนนักศึกษาและ 86% ของครูผู้สอนคาดว่าจะใช้จ่ายไปกับเทคโนโลยีการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นในปีที่จะมาถึงนี้
การเข้าถึงได้และความสะดวกสบาย ข้อได้เปรียบสำคัญของ ‘การเรียนออนไลน์’
การเข้าถึง และความยืดหยุ่น ถือเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญใน การเรียนออนไลน์ สำหรับนักเรียนนักศึกษา รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงเนื้อหาและสื่อการเรียนที่หลากหลายจากทั่วทุกมุมโลกด้วย
ส่วนครูผู้สอนมองว่าการรวมศูนย์ให้สื่อการสอนมาอยู่ในแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่เข้าถึงได้ง่ายเพียงที่เดียวเป็นข้อดีที่เห็นได้ชัด อย่างการนำ Microsoft Teams มาใช้ในการเรียนการสอนออนไลน์ ขณะเดียวกัน e-learning ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน และทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์ความต้องการส่วนตัวมากยิ่งขึ้น
นักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอน อยากใช้เทคโนโลยีสำหรับเรียนออนไลน์ แต่เพิ่งได้รู้จักและใช้ประโยชน์จากโซลูชันนั้น
นักเรียนนักศึกษา และผู้ปกครองกล่าวว่า เทคโนโลยีที่ให้ความปลอดภัย ความเป็นส่วนตัว ประสิทธิภาพที่ยืดหยุ่น และคุณประโยชน์อย่างต่อเนื่องเป็น “สิ่งสำคัญอย่างยิ่ง” และมีเพียง 17% เท่านั้นที่มองว่าค่าใช้จ่ายสำหรับโซลูชันเทคโนโลยีควรใช้ต่ำที่สุด
นอกจากนี้ 75% ของครูผู้สอนยังให้ความสำคัญเรื่องการรักษาความปลอดภัยเฉพาะสำหรับการศึกษา, การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล(79%), ฟีเจอร์การทำงานร่วมกัน(64%), เครื่องมือสำหรับการประเมินนักเรียนนักศึกษา (63%), ความง่ายในการใช้งานทั่วไป (59%) และฟีเจอร์การเข้าถึง(53%) ก็เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม แม้ว่านักเรียนนักศึกษาส่วนใหญ่ (72%) ใช้แล็ปท็อปและ 29% ใช้แท็บเล็ตในการเรียนออนไลน์ แต่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เข้าถึงการใช้โซลูชันการเรียนรู้เต็มรูปแบบ
นักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอน พบว่ามีวิธีรับมือกับการสนับสนุนทางเทคนิค แต่การเสียสมาธิ การมีส่วนร่วม และการปลีกตัวอยู่ลำพังยังคงเป็นอุปสรรค
การเว้นระยะห่างทางกายภาพไม่ได้เป็นอุปสรรคสำหรับนักเรียนนักศึกษาหรืออาจารย์ในการขอรับการสนับสนุนทางเทคนิคที่ต้องการในขณะที่เรียนออนไลน์หรือ e-learning แม้ว่าทีมสนับสนุนทางเทคนิคของสถานศึกษาหลายแห่งไม่สามารถรับมือกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน แต่นักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนต่างก็พบว่ามีแหล่งสนับสนุนอื่นๆ ทั้งจากเพื่อนร่วมชั้น เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัวที่อายุน้อยมากกว่า
ขณะที่ 32% ของครูผู้สอนพยายามค้นหาคำตอบเพื่อแก้ปัญหาเทคนิคด้วยตนเอง อีก 31% ขอความช่วยเหลือจากครูท่านอื่น และ 11% ขอความช่วยเหลือจากเด็กที่อยู่ในละแวกบ้านใกล้เคียงกัน
อย่างไรก็ดี ปฏิสัมพันธ์ต่อสังคมที่ลดน้อยลงเป็นปัญหาที่ทั้งนักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนมากกว่าครึ่งเผชิญ โดยการสำรวจพบว่า นักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนเกินครึ่งมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่อ่อนแอลงในช่วงเรียนออนไลน์
ทั้งนี้ความท้าทาย 4 อย่างที่เกิดขึ้นจากการเรียนออนไลน์ ซึ่งนักเรียนนักศึกษา และผู้ปกครอง เห็นพ้องต้องกัน คือ สมาธิในการเรียน แรงจูงใจในการเข้าชั้นเรียนออนไลน์ที่บ้านมีน้อย การขาดโอกาสได้พบปะมีปฏิสัมพันธ์กับอาจารย์/เพื่อนร่วมชั้น และเรื่องความโดดเดียวจากการต้องเว้นระยะห่างทางสังคม
เพราะถึงแม้ว่าแอปพลิเคชันการประชุมทางวิดีโอ จะมีช่องทางเข้าถึงการมีปฏิสัมพันธ์แบบเรียลไทม์ที่หลากหลาย แต่การเข้าชั้นเรียนทั้งหมดผ่านหน้าจอกลับเป็นความท้าทายสำหรับนักเรียนนักศึกษา โดย 75% ของครูผู้สอนกล่าวว่า “นักเรียนไม่มีสมาธิเมื่อต้องเรียนผ่านระบบออนไลน์” ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญอย่างยิ่งของการเรียนออนไลน์ ที่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ไข
รูปแบบการสมัครใช้บริการใหม่ๆ การทำงานร่วมกัน และอุปกรณ์ที่ชาญฉลาดมากขึ้น ช่วยปลดล็อกศักยภาพในการเรียนออนไลน์ได้
แม้ผลสำรวจจะชี้ได้อย่างชัดเจนว่าทั้งนักเรียนนักศึกษาและครูผู้สอนต่างตระหนักถึงประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีต่อการศึกษา แต่การดึงศักยภาพของเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ให้ได้เต็มประสิทธิภาพนั้นยังคงเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยทั้งนักเรียนนักศึกษา และครูผู้สอนต่างกำลังมองหาวิธีการที่จะเรียนรู้ร่วมกันผ่านเทคโนโลยีที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน และเชื่อมโยงกับเนื้อหาของการเรียนด้วย
เพราะเมื่อโลกได้เข้าสู่สภาวะ New Normal การศึกษาในตอนนี้จึงกำลังก้าวเข้าสู่การเรียนการสอนยุคใหม่ที่มีเทคโนโลยีเป็นตัวช่วยเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง เข้าถึง เสมือนอยู่ในชั้นเรียนจริง ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกชั้นเรียน
แหล่งข้อมูล