ความเป็นมาของแนวคิดเทคโนโลยี Iot และตัวอย่างของการปรับใช้ในชีวิตประจำวัน

Share

Loading

Iot หรือ Internet of Things ถือเป็นกระแสการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงต่อระบบเทคโนโลยีแทบจะทุกมิติ ซึ่งปัจจุบันเราได้พบว่า Iot เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง และมีความสำคัญอย่างที่ไม่อาจจะละเลยได้

สำหรับคำอธิบายที่ชัดเจนที่สุดของ Iot ก็คงจะหมายถึง อุปกรณ์ทุกอย่างบนโลกใบนี้สามารถเชื่อต่อกันเป็นเครือข่ายเพื่อแลกเปลี่ยนและแบ่งปันข้อมูล โดยเป็นเป้าหมายแห่งการเชื่อมโลกดิจิทัลเพื่อยกระดับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของโลกแห่งกายภาพของมนุษย์ให้ดีกว่าเดิม

ซึ่งแนวคิดนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เพราะเป็นแนวคิดที่เกิดมาตั้งแต่ยุค 1970 บนหลักการที่เรียกว่า Smart Device หรือ Pervasive Computing ซึ่งนักประดิษฐ์ในยุคนั้นมีความคิดที่จะสร้างคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานได้ในทุกที่ ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ รองรับข้อมูลได้จากหลาย ๆ Format โดยทำการแชร์ข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ได้ ซึ่งต่างจากแนวคิดของ Desktop Computing ที่เน้นการทำงานจบทุกกระบวนการภายในเครื่องตัวเอง แต่แนวคิดนั้นก็ยังไม่สำเร็จ เนื่องจากบริบทต่าง ๆ รอบด้านที่ยังไม่มีความพร้อมเพียงพอ

จนกระทั่งในปี 1999 Kevin Ashton, Co-Founder แห่ง Auto-ID Labs MIT ได้นำเสนอแนวคิดการเชื่อมโยงของอุปกรณ์ต่าง ๆ ด้วยคลื่นวิทยุระบุตัวตน (RFID) แก่บริษัท P&G โดยใช้ชื่อแนวคิดนี้ว่า “Internet of Things” ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา Iot มาจนถึงปัจจุบัน

สำหรับในปัจจุบันเทคโนโลยี Iot ถือเป็นเรื่องสำคัญระดับโลก โดยเฉพาะเมื่อสอดรับกับบริบทการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกยุคใหม่ ไม่ว่าจะเป็น Smart City, AI, Bigdata ซึ่ง Iot เป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ ในช่วงว่างแห่งการพัฒนาและขับเคลื่อนโลกสู่อนาคต

ซึ่งตัวอย่างของการนำเอา Iot เข้ามาประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตในปัจจุบันมีให้เหตุอยู่มากมาย จนแทบจะกล่าวได้ไม่หมด แต่ขอหยิบยกมาเป็นตัวอย่าง ดังนี้

1. Smart home

ถือเป็นเทคโนโลยีแรก ๆ ที่มีได้มีการพูดถึง เพราะ Iot ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในบ้าน สามารถทำงานและควบคุมสั่งการ รวมถึงแสดงข้อมูลต่าง ๆ ได้ในระยะไกล เช่น การเปิดปิดไฟ หรือปรับแสงสว่างภายในบ้านได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือสามารคเช็คการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในบ้านได้โดยดูผ่านแอพลิเคชั่น รวมถึงยังสามารถที่จะตรวจตราและควบคุมเรื่องระบบรักษาความปลอดภัยได้ตลอดเวลา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ถือเป็นการนำเอา Iot เข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญทำให้เกิด Smart Home

2. Smart grid

Smart grids หรือการสั่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจร ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีที่มีการพูดถึงบ่อยมากในปัจจุบัน โดยการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าอัจฉริยะนี้จะสามารถทำให้มีตรวจสอบซ่อมแซมเมื่อสายไฟได้หากมีความผิดปกติ ซึ่งประเทศไทยสำควรที่จะนำเอาระบบนี้มาใช้เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในส่วนของการบริหารจัดการ เพิ่มคุณภาพในการบริการ และสามารถบริหารพลังงาน รวมถึงยังทำให้การซื้อขายไฟฟ้าเป็นไปได้อย่างเสรี ลดการผูกขาด ซึ่งส่งผลให้ไฟฟ้ามีราคาถูกลงอีกด้วย

3. Smart city

นอกเหนือจากเรื่องของ Smart home ซึ่งเป็นการนำเอา Iot เข้าไปใช้บริการจัดการภายในบ้านแล้ว ถ้าหากมองที่โครงสร้างขนาดใหญ่เช่นเมืองทั้งเมือง เรื่องของ Iot ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก และเป็นพื้นฐานสำคัญอีกอย่างหนึ่งที่จะทำให้ Smart City เกิดขึ้นจริงได้ เพราะสุดท้ายแล้วการบริหารจัดการจะต้องเกิดจากการเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ เข้าด้วยกันผ่านเทคโนโลยี Iot ทำให้ผู้ที่อยู่ในเมืองสามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสะดวกสบาย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น การเชื่อมโยงและบริหารจัดการระบบรักษาความปลอดภัยต่าง ๆ ของเมือง, ระบบช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน, ระบบรับมือภัยพิบัติ เป็นต้น ซึ่งระบบอัจฉริยะต่าง ๆ เหล่านี้จะดำเนินอยู่ภายใต้เทคโนโลยี Iot ทั้งสิ้น

4. Connected car

Connected car ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของเทคโนโลยี ที่ช่วยให้อัตราการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนลดน้อยลง และช่วยบริหารจัดการด้านการจราจรบนท้องถนนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ลดความหนาแน่นของการจราจร ประหยัดเวลาการเดินทาง เป็นต้น ซึ่งแนวคิดของเทคโนโลยีนี้คือการแชร์ข้อมูลระหว่างรถยนต์ต่าง ๆ บนท้องถนน ทำให้เกิดความปลอดภัย รถไม่ชนกัน แสดงสภาพการจราจร และเป็นข้อมูลสำหรับสร้างแผนการเดินทางที่ดีที่สุด

ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือความเป็นมาของ แนวคิดเทคโนโลยี Iot และตัวอย่างของการปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ซึ่งถือเป็นกระแสการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและจะส่งผลกระทบต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทั้งระบบ ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนไป และโลกมีความสะดวกสบาย มั่นคงปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

เรียบเรียงโดย Security Systems Magazine

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
www.medium.com

เครดิตรูปภาพ
www.pexels.com

0