อนาคต Blockchain จะมีแนวโน้มที่ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมอย่างไร

Share

Loading

Blockchain คือ เทคโนโลยีที่เป็นเครื่องการันตีถึงความปลอดภัย และเชื่อถือได้ โดยที่ไม่ต้องอาศัยคนกลาง ซึ่งจะว่าไปแล้วเทคโนโลยีนี้มีความเกี่ยวเนื่องด้วยตรงกับการทำธุรกรรมออนไลน์ ซึ่งเดิมที่ในการทำธุรกรรมออนไลน์นั้น เราจะสังเกตได้ว่าจะต้องมีการระบุถึง Secured by หรือ Protected by และตามด้วยชื่อตัวกลางใด ๆ ที่เป็นเสมือนผู้ที่รับรองถึงความน่าเชื่อถือ ถูกต้อง ปลอดภัย ในการประกอบธุรกรรม

เพราะการทำธุรกรรมออนไลน์นั้นมีความอ่อนไหวค่อนข้างมาก จึงไม่แปลกที่จะต้องมีสิ่งยืนยันว่า ข้อมูลที่เราทำธุรกรรมนั้นจะมีความมั่นคงปลอดภัย ไม่รั่วไหล หรือถูกเปลี่ยนแปลง

ซึ่งการเกิดขึ้นของ Blockchain นั้นเป็นเทคโนโลยีที่ถูกสร้างขึ้นเพราะจุดประสงค์เรื่องนี้โดยตรง ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปอย่างมั่นคง ปลอดภัย โดยไม่จำเป็นต้องผ่านตัวกลาง ด้วยเหตุนี้จะทำให้การทำธุรกรรมออนไลน์เป็นไปอย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น ประหยัดขึ้น และรวดเร็วขึ้น จนอาจกล่าวได้ว่า “นี่คือเทคโนโลยีที่เปรียบได้กับการถ่ายโอนความไว้วางใจในโลกที่เชื่อถือได้” เพราะภายใต้เทคโนโลยี Blockchain แม้แต่คนสองคนที่อยู่กันคนละมุมโลกโดยที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็สามารถที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้อย่างมั่นใจ

ซึ่งคำว่า “ข้อมูล” ในประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องที่กว้างมาก เพราะเราสามารถที่จะประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย และถือเป็นความน่าสนใจอย่างหนึ่งของ Blockchain ที่อาจจะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้โลกทั้งใบได้เลยทีเดียว

เพราะ Blockchain มีวัตถุประสงค์หลักในด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล ด้วยเหตุนี้จึงสามารถเข้าไปเกี่ยวข้องกับทุก ๆ ภาคส่วนได้ ไม่ใช่เฉพาะแค่ในวงการ FinTech เพียงอย่างเดียว

หากจะอธิบายเรื่อง Blockchain แบบง่าย ๆ ก็คงจะกล่าวได้ว่า นี่เป็นเทคโนโลยีระบบโครงข่ายที่ใช้เพื่อจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมชองสมาชิกในระบบ โดยจะมีลักษณะการเชื่อมโยงคล้ายโครงข่ายใยแมงมุม โดยจะทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การโอนเงิน การซื้อสินค้า รวมถึงการถ่ายโอนสินทรัพย์อื่น ๆ โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเงิน สำนักชำระบัญชี หรือพ่อค้าคนกลาง

ตัวอย่างการนำเอาเทคโนโลยี Blockchain ไปใช้ประโยชน์

ในเบื้องต้นจะขอยกตัวอย่างของ Bitcoin ซึ่งถือเป็นการนำเอาเทคโนโลยี blockchain มาใช้ โดยผู้ซื้อกับผู้ขาย Bitcoin สามารถที่จะทำธุรกรรมกับสมาชิกอื่น ๆ ในระบบได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านคนกลาง ซึ่งระบบจะมีรหัสที่สร้างขึ้นเพื่อสื่อสารกับสมาชิกในระบบ และจะมีการตรวจสอบว่า ธุรกรรม หรือ การซื้อ-ขาย bitcoin นั้นมีความถูกต้องหรือไม่ก่อนที่จะเสร็จสิ้นกระบวนการ นอกจากนี้จะมีการเปิดเผยข้อมูลธุรกรรมให้กับเฉพาะผู้ชื้อและผู้ขายเท่านั้น ในขณะที่สมาชิกอื่นซึ่งไม่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจากนอกเครือข่ายจะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลธุรกรรมดังกล่าวได้

ซึ่งในปัจจุบันมีการการันตีว่า Blockchain คือเทคโนโลยีที่มีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลขั้นสูง ซึ่งไม่มีใครสามารถที่จะทำการโจรกรรมข้อมูลในระบบได้

แนวโน้มของ Blockchain ที่ส่งผลต่อภาคการเกษตร

โดยหากมองในความสามารถของเทคโนโลยีตัวนี้ หลายคนมักมุ่งประเด็นไปว่า blockchain จะสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่กับสถาบันการเงิน เพราะผู้ใช้สามารถที่จะทำการโอนเงินหรือกู้ยืมเงินกันได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านคนกลายที่เป็นสถาบันการเงินอีกต่อไป

แต่ถ้าหากเรามาพิจารณาในภาพรวม จะพบว่า blockchain ยังส่งผลกระทบกับในหลาย ๆ อุตสาหกรรม ไม่เว้นแม้แต่ในภาคการเกษตร ดังนี้

1. ยกระดับความปลอดภัยของระบบการผลิตอาหาร

อย่างที่เราทราบกันดีว่าในปัจจุบันนี้มีการปกปิดข้อเท็จจริงหลายอย่างในระบบการผลิตอาหารของโลกเลยก็ว่าได้ ซึ่งผู้บริโภคจะต้องเป็นผู้แบกรับความเสี่ยงด้านความปลอดภัย โดยยากที่จะหาความรับผิดชอบจากใคร ดังนั้นข้อเท็จจริงของกระบวนการผลิตอาหารจึงถือเป็นสิ่งสำคัญมากที่ควรจะต้องเปิดเผยให้กับผู้บริโภค

การนำ blockchain เข้ามาใช้ในระบบการผลิตอาหาร จะเป็นเหมือนการสร้างสายพานลำเลียงอาหารจากต้นตอแหล่งผลิตไปจนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ซึ่งระบบจะสามารถทำการตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าได้อย่างชัดเจน โดยผู้บริโภคจะเป็นผู้เลือกว่าจะซื้ออาหารจากแหล่งที่มาใด ซึ่งจะก่อให้เกิดการแข่งขันกันในส่วนของบรรษัทผู้ผลิตอาหาร และจะเกิดการยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยของระบบการผลิตอาหารอย่างไม่เคยมีมาก่อน

2. เกิดระบบห่วงโซ่แห่งธุรกิจการผลิตอาหารแบบใหม่

หากเรามาพิจารณากันถึงระบบการผลิตอาหารในประเทศที่กำลังพัฒนา จะพบว่าส่วนใหญ่แล้วยังเป็นระบบที่จะต้องได้รับการพัฒนาเป็นอย่างมาก เนื่องจากขาดความโปร่งใสของการกระจายข้อมูล เพราะผู้บริโภคจะมีความสัมพันธ์กับบริษัทอาหารเพียงอย่างเดียว ในขณะที่ธุรกิจอาหารถือเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าสูง โดยมีตัวกลางในระบบผลิตอาหาร เช่น ธุรกิจแปรรูปอาหาร ธุรกิจขนส่งสินค้า ธุรกิจค้าปลีก เป็นต้น แต่ทว่าเมื่อมาดูที่การกระจายรายได้ไปยังเกษตรกรแล้วกลับพบว่าไม่เป็นธรรมเท่าที่ควร

ดังนั้นในอนาคตหากมีการนำเอา blockchain เข้ามาใช้แพร่หลายมากขึ้น ก็จะทำให้เกษตรกรพึ่งพาตัวกลางในธุรกิจการผลิตอาหารน้อยลง และสามารถส่งสินค้าให้กับผู้บริโภคได้โดยตรง

3. ยกระดับมาตรฐานด้านปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

ปัจจัยการผลิตในด้านการเกษตร ถือเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เกษตรกรมักจะถูกเอาเปรียบจากพ่อค้าคงกลาง เช่น การซื้อปุ๋ยสำหรับบำรุงพืช ซึ่งอาจมีส่วนประกอบที่ไม่ได้คุณภาพตรงตามที่ระบุไว้เนื่องจากผู้ขายปกปิดข้อเท็จจริง โดยถือเป็นการเอาเปรียบและทำให้เกษตรกรต้องสูญเสียเงินไปอย่างไม่คุ้มค่า

แต่การนำเอา blockchain เข้ามาใช้ในระบบการซื้อ-ขาย จะเป็นสิ่งที่สามารถตรวจสอบที่มาของปัจจัยการผลิตได้ ด้วยการสแกนบาร์โค๊ดที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์ เพียงเท่านี้ผู้ซื้อก็จะทราบข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจนของสินค้านั้น ๆ ว่าตรงตามกับที่ผู้ขายกล่าวอ้างหรือไม่

4. ระบบการจดทะเบียนที่ดินจะง่ายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ที่ดินถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำการเกษตร ซึ่งการซื้อ-ขายที่ดินถือเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างมีความยุ่งยากในการดำเนินการพอสมควร แถมยังมีความเสี่ยงต่อการถูกหลอกขาย อย่างที่เป็นข่าวให้เราได้เห็นอยู่เรื่อยมา

ดังนั้นในอนาคตหากมีการนำเอา blockchain เข้ามาช่วยในการบันทึกข้อมูลการถือครองที่ดิน การเช่าที่ดิน การซื้อขายที่ดิน ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดความถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ง่าย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการเช่าหรือซื้อขายที่ดินก็จะสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมั่นคง ปลอดภัย และการโกงก็ทำได้ยากมาก

5. การเบิกจ่ายเงินอุดหนุนในภาคการเกษตร

ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกนั้นจะมีการจ่ายเงินอุดหนุนจากภาครัฐเขาสู่ภาคการเกษตร รวมถึงในประเทศไทยเราด้วย ซึ่งที่ผ่านมามักจะมีความกังวลถึงความถูกต้องโปร่งใส่ในการกระจายเงินอุดหนุนนั้นว่ามีความถูกต้อง โปร่งใสมาน้อยแค่ไหน และสามารถกระจายไปถึงเกษตรกรได้อย่างทั่วถึงหรือไม่

ซึ่งแน่นอนที่สุดหากในอนาคตได้มีการนำเอา blockchain มาใช้ในระบบกระจ่ายเงินอุดหนุน ก็จะช่วยให้มั่นใจได้ถึงความโปร่งใส และการกระจ่ายความช่วงเหลือสามารถทำได้ได้อย่างเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งแน่นอนว่านี้คือการลดบทบาทของผู้มีอำนาจในเรื่องนี้ แล้วเพิ่มบทบาทในการเข้าถึงข้อมูลให้กับทุกคนอย่างโปร่งใสและทั่วถึง

บทสรุป

blockchain จะกลายเป็นเทคโนโลยีที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกในอนาคตได้อย่างมีคุณค่า ก็ต่อเมื่อสามารถลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงโอกาสของคนทั้งหลายในสังคม ซึ่งเราอาจจะสังเกตได้ว่าเทคโนโลยีนี้จะทำให้มีทั้งผู้ที่เสียผลประโยชน์และผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ แต่ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้คือการปรับสมดุลอย่างหนึ่งสังคมโลก ที่พยายามจัดสรรผลประโยชน์ ให้มีความโปร่งใสและเป็นธรรมมากยิ่งขึ้น

เรียบเรียงโดย Security Systems Magzine

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม :
www.thaicityfarm.com
www.techsauce.co

เครดิตรูปภาพ
www.pexels.com