IoT ในชีวิตประจําวัน

Share

Loading

โลกที่สรรพสิ่งเชื่อมโยงอย่างรวดเร็วด้วยระบบอินเทอร์เน็ตในรูปแบบที่เรียกว่า IoT ดูจะใกล้เป็นความจริงเข้ามาทุกทีในอนาคตอันใกล้ เมื่อในทุกวันนี้เราสามารถพบเห็นการนำ IoT มาใช้ในชีวิตประจำวันได้มากยิ่งขึ้น ในบทความนี้เราจะขอนำเสนอ 5 ประโยชน์ ที่มีการนำ IoT มาใช้งาน

1.ระบบการสั่งงานสมาร์ทโฟนด้วยเสียง
เป็นระบบ IoT ที่ถูกนำมาใช้กับการควบคุมสมาร์ทโฟนในสมัยใหม่ที่เราจะเห็นในมือถือแทบทุกยี่ห้อ อาทิ ระบบ Voice Access ของ ระบบปฏิบัติการ Android ที่บริษัท Google แทนการสั่งการด้วยการสัมผัสหน้าจอ

2.ระบบไฟอัจฉริยะ
เป็นระบบ IoT ที่ทำให้ผู้ใช้งานสามารถดูแลสั่งการ การทำงานของระบบไฟส่องสว่างภายในบ้าน การปรับระดับแสงหรือสีไฟ รวมทั้งการตั้งเวลานับเปิดปิด ทั้งจากการสั่งการด้วยเสียงและระบบตรวจจับการเคลื่อนไหว รวมทั้งการสั่งงานผ่านสมาร์ทโฟน

3.ระบบการระบบเตือนภัยอัจฉริยะ
เป็นระบบ IoT ที่จะทำการตรวจจับการทำงานต่าง ๆ ของเครื่องใช้ภายในบ้าน และจะทำการเตือนภัยต่าง ๆ ผ่านไปยังสมาร์ทโฟนของผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็น การลืมปิดน้ำ ปิดไฟ การพบควันและประกายไฟติดในบ้าน แก๊สรั่วซึม หรือน้ำล้นท่วมบ้าน นั้นเอง

4.ระบบควบคุมเครื่องปรับอุณหภูมิภายในบ้าน
สำหรับเมืองไทยที่ร้อนและร้อนมากในแต่ละวัน ท่านจะสามารถสั่งงานเครื่องปรับอุณหภูมิได้ล่วงหน้าก่อนเดินทางกลับถึงบ้านทาง ระบบ IoT ให้เย็นได้ทันทีที่กลับบ้าน

5.ระบบสตาร์รถและควบคุมรถแบบไร้สาย
เป็นระบบ IoT แบบใหม่ในธุรกิจยานยนต์ที่เริ่มมีการจำหน่ายรถยนต์ที่รองรับระบบดังกล่าวออกมาใช้จริงแล้ว เริ่มจากเปิด ปิด ล็อค รถยนต์ จากระยะไกลผ่านแอพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนนั้นเอง

IoT กับระบบรักษาความปลอดภัย

ประโยชน์อย่างหนึ่งของการที่เทคโนโลยี IoT ต่างพากันพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งก็คือ การพัฒนาระบบ Security หรือการรักษาความปลอดภัยในชีวิตประจำวันและทรัพย์สินของผู้ใช้งานให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น เริ่มตั้งแต่ระบบรักษาความปลอดภัยอย่าง กล้องวงจรปิด (CCTV) ที่ถูกพัฒนาจนกลายมาเป็น กล้องวงจรปิดแบบไร้สายที่สามารถดูภาพได้ทุกที่ผ่านสมาร์ทโฟน

หรือระบบสวิตซ์ไฟอัจฉริยะภายในบ้านซึ่งติดตั้งระบบเซ็นเซอร์แต่ละตัวลงไปยังระบบไฟส่องสว่างจุดที่สำคัญของบ้าน อาทิ ประตู หน้าต่าง ห้องเก็บตู้เซฟ เป็นต้น เมื่อเซ็นเซอร์ตรวจพบการทำงานที่ผิดปกติก็จะแจ้งไปยังผู้ใช้งานผ่านทางแอพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟนทันที รวมทั้งการตัดเวลาปิดเปิดไฟทั้งในทันที่และล่วงหน้าได้

และยังมีระบบเปิดปิดประตูบ้านผ่าน IoT ที่สั่งงานได้โดยสมาร์ทโฟน หรือ Smart Watch รวมทั้งในรูปแบบอุปกรณ์กระดิ่งหน้าประตูบ้าน ซึ่งทำหน้าที่เป็นดั่งกลอนประตูบ้านรักษาความปลอดภัยที่สั่งเปิดปิดผ่านมือถือที่มาพร้อมระบบสแกนใบหน้า การตรวจสอบด้วยเสียงและเตือนภัยผ่านสมาร์ทโฟน แถมด้วยการเปิดระบบผ่านสมาร์ทโฟนเพื่อวีดิโอคอลคุยกับคนที่มาหาเราที่บ้านได้อีกด้วย

และอีกหนึ่งในผลงานนวัตกรรมที่นำเอาระบบ IoT มาใช้กับเทคโนโลยีหุ่นยนต์นั่นก็คือ “หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัย” ที่มีการพัฒนาต่อยอดจนสามารถนำมาจำหน่ายและใช้งานจริง ซึ่งนอกจากงานรักษาความปลอดภัยภายในอาคารต่างๆแล้ว ก็ยังมีหุ่นยนต์ที่ใช้ตรวจสอบวัตถุต้องสงสัยว่าจะเป็นระเบิดพร้อมทั้งเก็บกู้แทนการใช้ชีวิตมนุษย์เข้าไปเสี่ยงโดยตรง

นี้จึงเป็นแนวทางการพัฒนาระบบ IoT ที่ถูกนำมาใช้ในระบบ Security โดยมีข้อดีก็คือการติดตั้งระบบและสั่งการต่างๆได้ด้วยตัวเองผ่านมือถือง่ายๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในชีวิตให้กับเราและที่พักอาศัยในอนาคตต่อไปนั้นเอง