เปิดใจ ณัฐวุฒิ ปิ่นทองคำ ประธานอนุกรรมการจัดการแข่ง World Skill Asean Bangkok 2018

Share

Loading

โลกที่เราอยู่กันทุกวันนี้ เป็นโลกใบเก่าที่เราเคยอยู่กันมาหรือเปล่า? เพราะทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมีแต่จะทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในทุกขณะ อะไรๆ ที่เคยทำกันมาเมื่อในอดีตแล้วได้ผล กลับไม่ได้ให้ผลลัพธ์อย่างที่เราต้องการอีกแล้ว คนหรือธุรกิจที่จะอยู่รอดได้ทุกวันนี้ไม่ได้แข่งกันเรื่องความสามารถเท่านั้น แต่เป็นเรื่องของความเร็ว ในการพัฒนาทักษะฝีมือก็เช่นกัน หลายคนคงเคยได้ยินการแข่งขันฝีมือแรงงานมาบ้าง วันนี้เราได้รับเกียรติจากผู้ที่ค่ำหวอดในวงการไอทีและแวดวงสายสัญญาณมากว่า 15 ปี ที่จะมาไขข้อข้องใจ และกับอีกหนึ่งบทบาทนอกจากเป็นผู้บริหารด้านการตลาดในวงการไอทีเบอร์ต้นๆ ของประเทศไทยแล้ว ยังได้รับอีกบทบาทกับตำแหน่ง ประธานอนุกรรมการการจัดการแข่งขัน World Skill Asean Bangkok 2018 อีกด้วย

World Skill Asean Bangkok 2018-3

การแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนเป็นข้อตกลงของกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนระหว่างการประชุมโครงการพัฒนาฝีมือแรงงานแห่งภาคพื้นเอเซียแปซิฟิก (ILO/APSDEP) ซึ่งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้จัดขึ้นเมื่อ2536 ณ เมืองชิบะประเทศญี่ปุ่นโดยกำหนดให้ประเทศสมาชิกอาเซียนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันฯทุกๆ 2 ปี และบรรจุไว้เป็นกิจกรรมหนึ่งของแผนงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้พิมพ์เขียวประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio – Cultural Community Blueprint)

การจัดการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียนครั้งแรกจัดขึ้น ณ ประเทศ มาเลเซีย ในปี พ.ศ. 2538 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกระตุ้นให้เยาวชนและกำลังแรงงานในภูมิภาคอาเซียนเกิดความตื่นตัวและสนใจที่จะพัฒนาทักษะฝีมือของตนให้ทันต่อเทคโนโลยีและทัดเทียมมาตรฐานสากลซึ่งจะส่งผลให้เยาวชนเหล่านั้นได้ก้าวเข้าสู่การเป็นช่างฝีมือในตลาดแรงงานเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตและบริการของประเทศในอนาคต

สำหรับการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 12 ซึ่งจะจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม – 2 กันยายน 2561 โดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

คุณณัฐวุฒิ ปิ่นทองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและการสื่อสารองค์กร บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และประธานอนุกรรมการจัดการแข่งขัน World Skill Asean Bangkok 2018 เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ ได้บอกเล่าถึงรายละเอียดของการจัดงานดังกล่าวว่า…

งานแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ถือเป็นการแข่งขันระดับชาติ ที่ถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศไทย เป็นการแข่งขันมีหลากหลายสาขา อาทิ สาขาเมคคาทรอนิกส์ สาขาเขียนแบบวิศวกรรมเครื่องกลด้วยคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีงานเชื่อม สาขาแฟชั่นเทคโนโลยี สาขาอินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง สาขาสีรถยนต์ และสาขาที่สำคัญที่สุดซึ่งเป็นสาขาที่สอดรับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 คือสาขาเทคโนโลยีเครือข่าย โดย LINK เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการแข่งขันดังกล่าว ที่มีมาตรฐานได้รับการยอมรับจากทั่วโลก

Banner 556 x 100 pix

บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

บริษัท อินเตอร์ลิ้งค์ คอมมิวนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายสายสัญญาณในแบรนด์ LINK โดยเป็นบริษัทนำเข้าและจัดจำหน่ายสายสัญญาณที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์หลักๆ ในการจัดจำหน่ายได้แก่สาย LAN , Fiber Optic และสายสัญญาณกล้องวงจรปิด รวมไปถึงสายสัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารทุกประเภท

โดยครอบครองส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังได้มีการจัดจำหน่ายในประเทศแถบอาเซียน เช่น ลาว เวียดนาม พม่า กัมพูชา และได้ตั้งเป้าที่จะครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 ในของอาเซียนในอีก 3 ปีข้างหน้า

“ปัจจุบันนี้แม้ว่าจะเข้าสู่ยุค IoT (Internet Of Things) หลายคนมักจะมุ่งเน้นไปที่เรื่อง Cloud และ Application ในการใช้งาน หรือแม้กระทั่งเบื้องหลังของระบบโทรศัพท์ 4G, 5G ที่กำลังจะมีขึ้นในเร็ววันนี้ หากพิจารณาถึงเบื้องหลังของเทคโนโลยีเหล่านี้ จะพบว่าสิ่งที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญมากที่สุดก็คือสายสัญญาณ (Cabling) เพราะว่าสิ่งเหล่านี้ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักที่จะทำให้ระบบต่างๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้ยังจำเป็นต้องอาศัยสายสัญญาณซึ่งเป็นตัวกลางหลักในการเชื่อมโยงเทคโนโลยีต่างๆ เข้าด้วยกัน สิ่งเหล่านี้เป็นบทบาทสำคัญของเรา ในด้านการจัดจำหน่ายสายสัญญาณ”

จากบทบาทการต่อยอดในการให้ความรู้กับลูกค้า สู่การวางรากฐานสำคัญด้านการศึกษา ต่อยอดพัฒนาศักยภาพของคนในวงการไอที และ Network Cabling

Contest6 ภาคตะวันออก_๑๘๐๗๒๖_0002

LINK Cabling Contest เพื่อเฟ้นหาตัวแทนเยาวชนระดับประเทศ

ตลอดระยะเวลา 31 ปีที่ผ่านมาสิ่งที่ INTERLINK ยึดมั่น ก็คือการนำเอาเทคโนโลยีมาพัฒนาประเทศไทย ดังนั้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา INTERLINK ในฐานะที่เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีสายสัญญาณ จึงมีภารกิจสำคัญที่จะถ่ายทอดหรือส่งเสริมในด้านขององค์ความรู้เหล่านี้ให้กับหน่วยงานต่างๆ โดยจะมีการจัดสัมมนาฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของราชการและเอกชน หรือแม้กระทั่งในสถาบันการศึกษา

“ในส่วนของสถานบันการศึกษาเราได้เข้าไปถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับน้อง ๆ เยาวชนที่เรียนด้านเทคโนโลยี ในสาขาวิศวะฯ หรือในสาขา IT ซึ่งมีความสนใจเทคโนโลยีของเราเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักที่จะทำให้ระบบต่าง ๆ มันเชื่อมโยงเข้าด้วยกันได้”

และจากจุดเริ่มต้นนี้ จึงทำให้เกิดการแข่งขันระดับชาติที่มีชื่อว่า LINK Cabling Contest ซึ่งเป็นการแข่งขันด้านทักษะสายสัญญาณ “โดยในแต่ละสถาบันการศึกษาจะมีการคัดเยาวชนที่มีความสามารถมาเข้าร่วมการแข่งขันกันในระดับภาค และผู้ผ่านการคัดเลือกจะได้รับสิทธิ์เข้าไปแข่งขันในรอบต่อไปคือระดับประเทศ

สำหรับผู้ชนะเลิศระดับประเทศจะได้รับถ้วยรางวัลพระราชทานโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมทั้งได้รับเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท นอกจากนี้สำหรับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจากนายกรัฐมนตรี พร้อมเงินรางวัล 50,000 บาท และรองชนะเลิศอันดับ 2 จะได้รับถ้วยเกียรติยศจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมเงินรางวัลอีก 30,000 บาท ซึ่งถือเป็นเกียรติยศและเป็นความภาคภูมิใจของเยาวชนที่มีความตั้งใจเข้าร่วมแข่งขันครั้งนี้

รวมถึงผู้ที่ชนะเลิศอันดับ 1 ยังจะได้รับสิทธิ์เป็นตัวแทนประเทศไปแข่งขันในระดับอาเซียน และระดับ world skills ซึ่งมีประวัติศาสตร์การแข่งขันมายาวนานเกือบ 100 ปี และมีการแข่งขันทักษะฝีมือที่ครอบคลุมหลากหลายประเภทและสายงาน

Contest6 ภาคตะวันออก_๑๘๐๗๒๖_0077

ผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในงานแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 12

ซึ่งในปีนี้การแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 12 ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน และในส่วนของผลิตภัณฑ์ LINK สายสัญญาณมาตรฐานอเมริกาเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการในการจัดการแข่งขันครั้งนี้

“โดยตัวแทนเยาวชนของประเทศไทย ที่ผ่านการแข่งขันในต่างประเทศจากเวที LINK Cabling Contest ในปี 2016 และปี 2017 ซึ่งในตอนนี้ก็อยู่ระหว่างเก็บตัวฝึกซ้อมทักษะต่างๆ ให้มีความพร้อมที่สุดก่อนที่การแข่งขันจะเริ่มขึ้นในเดือนสิงหาคมนี้”

“หากมองในเรื่องของระดับความสามารถหรือทักษะฝีมือของเยาวชนไทย ก็กล่าวได้ว่าความสามารถไม่ได้ด้อยไปกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคอาเซียน โดยในการแข่งขันปีก่อนๆ ประเทศไทยเองก็ได้ครองแชมป์เป็นเจ้าเหรียญทองในหลายๆ สาขา ซึ่งในส่วนของ Information Network Cabling เมื่อหลายปีก่อนเราเองก็ได้เหรียญทอง”

World Skill Asean Bangkok 2018-4-2

ความมุ่งหวังของ INTERLINK ในการจัดแข่งขันครั้งนี้

การพัฒนาทักษะถือเป็นเป้าหมายหลักที่สำคัญที่สุดของการแข่งขัน เพราะทักษะฝีมือเป็นสิ่งที่จะติดตัวคนผู้นั้นไปตลอดชีวิต ไม่มีใครสามารถขโมยเอาไปได้ ต่างจากองค์ความรู้หรือ know-how ประเภทอื่น ๆ ที่สามารถจะลอกเลียนแบบกันได้ ดังนั้นการแข่งขันอะไรก็ตาม หากเกี่ยวข้องกับทักษะฝีมือ ผู้เข้าแข่งขันจำเป็นจะต้องใช้เวลาในการฝึกฝน ใช้ความพยายามอย่างยิ่ง ผ่านการเรียนรู้ซ้ำ ๆ อย่างเข้าใจจึงจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการประสบความสำเร็จ

“สำหรับเยาวชนผู้เข้าแข่งขันที่เป็นตัวแทนประเทศไทย ต้องยอมรับว่าทุกคนมีความตั้งใจและเพียรพยายามเป็นอย่างยิ่ง ในการฝึกฝนเพิ่มพูนทักษะให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะการเป็นตัวแทนประเทศถือเกียรติยศและความภาคภูมิใจที่น้อยคนจะมีโอกาสได้มาทำหน้าที่นี้”

และเหนือสิ่งอื่นใดที่มากไปกว่าการแข่งขัน ในส่วนของผลิตภัณฑ์ LINK เองที่เป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการของการแข่งขันฝีมือแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 12 นี้ ถือเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของ INTERLINK ซึ่งมีความปรารถนาจะผลักดันให้เกิดการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงาน ให้คนไทยมีทักษะฝีมือที่ทัดเทียมหรือก้าวนำในระดับอาเซียน หรือแม้กระทั้งในระดับโลก ดังปณิธานของบริษัทอินเตอร์ลิ้งค์ฯ ที่ยึดมั่นมาอย่างยาวนานว่าต้องการจะพัฒนาประเทศไทยในด้านเทคโนโลยี