ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นำ Smart City เมืองอัจฉริยะ สู่การพัฒนานครภูมิภาคทั่วไทย

Share

Loading

วันที่ 3 มีค 2562 ทางศูนย์วิจัย Smart City Research Center (SCRC) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดย รศ. ดร เอกชัย สุมาลี ผอ. ศูนย์วิจัย ได้บรรลุข้อตกลง MOU กับ 7 เทศบาลในการดำเนินการพัฒนาระบบ Smart City เพื่อตอบโจทย์การพัฒนา Thailand 4.0 ในการยกระดับคุณภาพชีวิต และ บริการสาธารณะของเมือง โดยมี ศ. วุฒิสาร ตันไชย เลขาธิการ สถาบันพระปกเกล้า ศ ดร. สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ประธานที่ประชุมอธิการบดี (ทปอ) และ ผศ. ดร. อรทัย ก๊กผล รองเลขาฯสถาบันพระปกเกล้าร่วมลงนามและเป็นศักขีพยาน

S__43442181

โดยก่อนหน้านี้ทาง SCRC ได้ร่วมมือกับสถาบันพระปกเกล้าทำการวิจัยและวางแผนการพัฒนา Smart City สำหรับแต่ละพื้นที่ใน 7 เทศบาลเมืองเป้าหมาย โดยได้บรรลุผลในการวางแผน และ มีการนำมาพัฒนาและให้บริการในช่วงนำร่องแล้วบางส่วน ประกอบไปด้วย

1. นนทบุรี : Smart Public Services โดยจะบูรณาการระบบและข้อมูลในการให้บริการของเทศบาลเพื่อเพื่มประสิทธิภาพ ลดขั้นตอน และ เพิ่มช่องทางในการติดต่อประสานงานกับเทศบาล นอกจากนั้นจะพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลจากทุกระบบเพื่อเสนอนโยบายบริหารเมือง ระบบที่จะ implement คือระบบ CityOS platform ที่พัฒนาขึ้นโดย SCRC
2. หาดใหญ่ : Smart Green City: มีการดำเนินการติดตั้งระบบเซ็นเซอร์เพื่อตรวจวัดสภาพสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆในพื้นที่ และ จัดเก็บข้อมูลเพื่อบริหารด้านสิ่งแวดล้อม ปรับใช้ระบบบริหารจัดการน้ำเพื่อระวังภัยและป้องกันปัญหาอุทกภัยในพื้นที่
3. ภูเก็ต : Smart International Destination: สร้างระบบในการให้ข้อมูลด้านการพักอาศัย การจัดตั้งธุรกิจ และ การรับบริการ โดยจะบูรณาการข้อมูลจากระบบดั้งเดิมที่มีอยู่ในรูปแบบ GIS และ เพิ่มกรอบการวิเคราะห์แผนและการให้บริการผ่านข้อมูลเชิงพื้นที่ สร้างฐานข้อมูลด้านอาหารและสถานที่ท่องเที่ยวในเขตเทศบาล
4. ยะลา : Smart Security and Survilliance: เน้นในการเพิ่มระบบ Artificial Intelligence (AI) กับระบบกล้องและระบบรักษาความปลอดภัยในพื้นที่ต่างๆ เช่น ระบบ Cityeye เพื่อตรวจจับความผิดปกติของพื้นที่ หรือ ยานพาหนะ ระบบ RFID เพื่อบ่งชี้ตัวตนและยานพาหนะในพื้นที่
5. อุดร : Data Driven City: เทศบาลจะพัฒนาการบริการและบริหารงานโดยเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบต่างๆในปัจจุบัน ประกอบไปด้วยระบบบริหารสัญญาณไฟจราจรอัจฉริยะ ระบบฐานข้อมูลด้านสาธารณสุข ระบบข้อมูลประชากรศาสตร์ และ ระบบข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อปรับใช้ Data Mining ในการสร้างแผนและนโยบาย ประกอบกับยกระดับระบบการให้บริการของเทศบาลผ่านช่องทาง digital
6. ร้อยเอ็ด : Smart Compact City: เน้นการเสริมสร้างความน่าอยู่ในพื้นที่โดยการเพิ่มช่องทางในการสื่อสารข้อมูล/รับเรื่องร้องเรียนผ่าน Smart 101 App และ เชื่อมโยงฐานข้อมูลทั้งหมดให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ จัดตั้ง Smart City Office เพื่อผลักดันการให้บริการผ่านช่องทาง digital และ ปรับปรุงสภาพเมืองโดยการยกระดับสาธารณูปโภคต่างๆ
7. ลำพูน: Smart Tourism : วิสัยทัศน์เน้นการสร้างความเชื่อมโยงกับกลุ่มจังหวัด (เชียงใหม่, เชียงราย, ลำปาง) เพื่อสร้างโอกาสในด้านการท่องเที่ยงเชิงอนุรักษ์ ปรับใช้ digital tourism platform เพื่อให้ข้อมูล และ เป็นช่องทางด้านธุรกิจของผู้ประกอบการในพื้นที่ ระบบจะเสนอ package ในการท่องเที่ยวกับเมืองหลัก และ จัดสรรการอำนวยความสะดวกต่างๆผ่าน application ในพื้นที่เมืองจะมีการให้ข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยงผ่าน Augmented Reality (AR)

S__43442183

ทาง SCRC จะนำเทคโนโลยีจัดการเมืองอัจฉริยะในด้านต่างๆที่เป็นผลลัพธ์จากการวิจัยภายใต้กรอบวิจัย Innovation Hubs ของ ทปอ มาปรับใช้กับเมืองต้นแบบ 7 แห่ง

ขั้นตอนต่อไปคือการเสนอของบประมาณในการดำเนินการตามแผนแม่บทของแต่ละเมือง และ ดำเนินการ implement ตามแผน

นอกจากนั้นแล้วยังสามารถทำระบบรวบรวมข้อมูลกลางในระดับภาค และ กระทรวงเพื่อใช้ข้อมูลในการติดตามและวางแผนการพัฒนาพื้นที่ในด้านต่างๆได้