เอไซ ผนึกพันธมิตร แนะสร้างระบบรักษาผู้ป่วยสมองเสื่อม-อัลไซเมอร์

Share

Loading

คาดผู้ป่วยสมองเสื่อมในไทยพุ่งเกือบ 3 เท่า ภายใน 25 ปี บริษัทยา เอไซ แนะสร้างระบบนิเวศให้เข้าถึงการรักษาและดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์-ภาวะสมองเสื่อม

จากประชากรผู้สูงวัยที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว คาดว่าจำนวนผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้นจาก 7 แสนคน เป็น 2 ล้านคนภายในปี 2593 รวมถึงในปัจจุบันเป็นที่แน่ชัดว่าผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์และครอบครัวกำลังเผชิญกับความท้าท้ายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการสร้างความตระหนักรู้ที่ยังไม่เพียงพอ ภาระมากมายที่ผู้ป่วยและผู้ดูแลที่ต้องเผชิญ และความต้องการการดูแลที่เข้าถึงได้ง่ายและมีคุณภาพ

บริษัท เอไซ (ประเทศไทย) มาร์เก็ตติ้ง จํากัด บริษัทยาชั้นนำที่เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนา การรักษาโรคอัลไซเมอร์ จึงร่วมจับมือพันธมิตรจัดงาน “RISE AD Thailand Forum” ณ โรงแรม Eastin Grand Phayathai กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมในประเทศไทย พร้อมแนะการป้องกันความรุนแรงของโรคที่เพิ่มขึ้น (Disease progression) โดยคำนึงถึงวิธีการวินิจฉัยที่ทันสมัยและการรักษารูปแบบใหม่

โดยเอไซได้มุ่งเน้นประเด็นสําคัญในการรักษาผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ใน 2 หัวข้อหลัก ได้แก่

1 ความสําคัญของการเพิ่มความตระหนักรู้เกี่ยวกับภาวะการรู้คิดบกพร่อง หรือ ปริชานบกพร่อง หรือเอ็มซีไอ (mild cognitive impairment: MCI) ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์

2 การเพิ่มประสิทธิภาพการเข้าถึงการดูแลที่ครอบคลุมสําหรับผู้ป่วยภาวะปริชานบกพร่อง ภาวะสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์ ผ่านการพัฒนาระบบนิเวศ

สิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อโรคสมองเสื่อมและผู้สูงวัยในประเทศไทยถือเป็นก้าวสําคัญในการจัดการกับข้อกังวลเร่งด่วนเหล่านี้ ด้วยการสนับสนุนจากสังคม นักลงทุนภาคเอกชน และสถาบันต่างๆ เพื่อสร้างเส้นทางตลอดชีวิตของผู้ป่วยให้มีสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรและครอบคลุมได้มากขึ้น

นอกจากนี้ในงาน “RISE AD Thailand Forum” ยังมีการอภิปรายแบบกลุ่มในหัวข้อ “การยกระดับระบบนิเวศโรคอัลไซเมอร์และผู้สูงอายุในประเทศไทย” และมีการแสดงความคิดเห็นต่อบทบาทที่ภาคเอกชนต่อการเสริมสร้างระบบนิเวศของโรคอัลไซเมอร์ร่วมด้วย ซึ่งถือเป็นการแสดงออกถึงความมุ่งมั่นของภาคเอกชนไทย ในการพัฒนาความร่วมมือและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของระบบนิเวศอัลไซเมอร์ระหว่างภาคส่วนต่างๆ ตอกย้ำถึงความมุ่งมั่นร่วมกันในการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชีวิตของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์และครอบครัวในไทยต่อไป

ทั้งนี้ ภายในงาน มีผู้ร่วมงานจากหลายภาคส่วน เช่น บริษัทประกันภัยชั้นนํา ผู้ให้บริการที่พักอาศัยเพื่อผู้สูงวัย (Senior living) แพลตฟอร์มสุขภาพทางไกล (Telehealth) กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ สตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ศูนย์ออกกําลังกาย เครือโรงพยาบาล พร้อมแบ่งปันข้อคิดเห็นและแนวทางในการร่วมมือที่เป็นไปได้และโอกาสในการร่วมพัฒนาการดูแลและการเข้าถึงการรักษาโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่เริ่มต้นในอนาคต

แหล่งข้อมูล

https://www.posttoday.com/smart-life/706658