6 อาชญากรรมออนไลน์ ที่คนไทยมักตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพ

Share

Loading

6 อาชญากรรมออนไลน์ที่คนไทยมักตกเป็นเหยื่อ หลัง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยตัวเลขแจ้งความออนไลน์สะสมตั้งแต่ มี.ค. 65- 10 พ.ย. กว่า 3 แสนเรื่อง มูลค่าความเสียหาย 4.9 หมื่นล้านบาท

ศูนย์บริหารการรับแจ้งความออนไลน์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกมาเปิดผยข้อมูลแจ้งความออนไลน์  สะสมตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.65-10 พ.ย. 66 มีทั้งหมด 390,863 เรื่อง คดีออนไลน์ 361,655 เรื่อง คดีอาญาอื่นๆ 10,607 เรื่อง รวมมูลค่าความเสียหาย 49,056,482,817 บาท

ปัจจุบัน มิจฉาชีพ มีหลายประเภท และมีวิธีการหลอก รูปแบบใหม่อยู่เรื่อยๆ จนบางทีคนโดนหลอกยังท้อออ จับผิดไม่ได้เลย ไม่ว่าจะมาตามโทรศัพท์ อินเทอร์เน็ต การช้อปปิ้งออนไลน์ ที่อาจตกเป็นเหยื่อ โดยจะเห็นได้จากข่าวช่องทางต่างๆไม่เว้นแต่ละวัน ส่วนคนไทยนั้นมักถูกหลอกให้โอนเงินให้มิจฉาชีพไปเป็นจำนวนมาก เป็นผลให้เราต้องรู้วิธีเอาตัวรอดและหลีกเลี่ยงในการถูกมิจฉาชีพหลอก ดังนั้น สำนักงานกิจการยุติธรรม แนะวิธี หลีกเลี่ยงการถูกหลอก โดยมี 6 อาชญากรรมออนไลน์ที่คนไทยมักตกเป็นเหยื่อ

1. แก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Vishing Phishing)

  • มักพยายามสร้างสถานการณ์ให้ผู้เสียหายตกใจกลัว หรือสวมบทบาทเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยรัฐต่างๆโดยแอบอ้างว่าผู้เสียหายมีส่วนรู้เห็นหรือเข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำสิ่งผิดกฎหมาย หากมั่นใจว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ให้สอบถามข้อมูลกับคู่สายอย่างละเอียด และขอวางสายก่อนเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงอีกที

2. หลอกให้ลงทุนแชร์ลูกโซ่ (Ponzi Scheme)

  • มาในรูปแบบของแอพลิเคชันหรือเว็บไซต์ ที่หลอกชักชวนให้ร่วมลงทุนในหลากหลายธุรกิจ โดยอ้างว่าจะได้รับผลกำไรตอบแทนที่สูงในระยะเวลาสั้นๆ ควรศึกษาหาความรู้ก่อนลงทัน คิดก่อนตัดสินใจ เมื่อถูกชักชวนให้ลงทุน ตื่นตัวและติดตามข่าวสารใหม่ ที่เกี่ยวกับแชร์ลูกโซ่หรือการหลอกลงทุนอยู่เสมอ

3. หลอกรักออนไลน์  (Romance Scam)

  • มิจฉาชีพมักสร้างโปรไฟล์ที่ดูดีน่าเชื่อถือ และมีฐานะ โดยเข้ามาทักทายและพูดคุยและตีสนิทให้ผู้เสียหายหลงรักและเชื่อใจจนขาดสติ หลงโอนเงินหรือทรัพย์สินให้โดยง่ายก่อนโอนเงินให้บุคคลที่คุ้นเคย หรือรู้จักจากช่องทางออนไลน์ ควรตรวจข้อมูล และประวัติให้แน่ใจก่อน

4. หลอกขายสินค้า (Sales Scam)

  • หลอกให้ผู้เสียหายเชื่อใจ โอนเงินมัดจำให้ หลังผู้เสียหายชำระเงินแล้วไม่มีการจัดส่งสินค้า สินค้าไม่ตรงปก ไม่ได้มาตรฐานหรือสินค้าปลอม แล้วทำการบล็อกหรือลบช่องทางการติดต่อควรเลือกชำระสินค้าแบบปลายทาง หรือนัดรับสินค้าแบบเจอกัน และสามารถนำรายชื่อผู้ขายไปตรวจสอบประวัติการโกงเบื้องต้นได้ที่เว็บไซต์ www.blacklistseller.com

5. หลอกผ่านอีเมล (Email Scam)

  • มาในรูปแบบข้อความหรืออีเมลแสดงความยินดี หรือเชิญชวนทำงาน โดยกดลิงก์ผ่านเว็บไซต์ที่มิจฉาชีพปลอมขึ้นมาเพื่อให้ผู้เสียหายกรอกข้อมูลส่วนตัวควรตรวจสอบที่มาของเบอร์โทรศัพท์หรืออีเมลว่ามีความน่าเชื่อถือหรือไม่

6. หลอกขายทัวร์ (Tourist Scam)

  • การขายทัวร์ทิพย์ ส่วนมากสร้างเพจกลุ่มท่องเที่ยวในสื่อออนไลน์ ให้เกิดความเชื่อถือด้วยภาพที่ไปเที่ยวในต่างประเทศ หรือใช้หน้าม้ามารีวิวจัดโปรแกรมท่องเที่ยวในราคาไม่แพงเก็บเงินล่วงหน้าแล้วหาเหตุหลบหนี อย่าหลงเชื่อโปรโมชั่น ที่ถูกเกินความเป็นจริง อย่าหลงเชื่อรีวิวง่ายๆ และควรตรวจสอบบริษัทหรือเจ้าของทัวร์อย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ

แหล่งข้อมูล

https://www.thansettakij.com/technology/technology/581744