Accenture แนะใช้เทคโนโลยีแก้ปัญหาวิกฤตโลก

Share

การใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องเตรียมตัว Accenture ได้ยกตัวอย่างเคสในต่างประเทศเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีแก้วิกฤตโลก และฉายภาพการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นต้องเรียนรู้

คุณปฐมา จันทรักษ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Accenture (เอคเซนเชอร์) ประเทศไทย กล่าวว่า วิกฤตโลกได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของมนุษย์เราให้ต่างจากเดิม เปลี่ยนสิ่งที่เราคุ้นเคยและเคยชินกลายเป็นไม่รู้จัก โดย วิกฤตโลกประกอบด้วย

1. ความยากจน

2. ความปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cybersecurity)

3. ภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical)

4. ปัญหาสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม (Climate Change and Environment)

ดังนั้น สิ่งที่มนุษย์เราต้องการที่จะหาทางออก เทคโนโลยีก็เป็นหนึ่งในทางเลือกที่เราอยากจะนำไปใช้แก้ปัญหาวิกฤตโลก

เทคโนโลยีแก้วิกฤตโลกได้อย่างไร

จากปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้ภาครัฐในหลายประเทศ พยายามที่จะลดผลกระทบที่เกิดขึ้น

ยกตัวอย่างประเทศตูวาลู ซึ่งเป็นหมู่เกาะขนาดเล็กระหว่างออสเตรเลียและฮาวาย เป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากน้ำทะเลที่สูงขึ้น 0.2 นิ้วทุกปี ด้วยผลกระทบนี้ ทำให้มีความเสี่ยงว่าประเทศตูวาลูอาจจะหายไปจากแผนที่โลก

ทางรอดด้วยเทคโนโลยี

สิ่งที่ประเทศตูวาลูลงมือทำ คือ การดึงเทคโนโลยีดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการช่วยแก้ปัญหาโดยเปลี่ยนตัวเองให้เป็น Digital Nation แห่งแรกของโลก

ด้วยการสร้างประเทศนี้ขึ้นมาใหม่บนโลกเสมือน Metaverse ใช้ประโยชน์จาก Digital Twin หรือ การจำลองวัตถุที่อยู่ในโลกให้ออกมาในรูปแบบเสมือน (Virtual) จากนั้นก็เก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แผนที่ประเทศ ข้อมูลประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เอกสารราชการ ฯลฯ ทั้งหมดนี้ จะย้ายขึ้นไปอยู่ในระบบคลาวด์

ดังนั้น Accenture มองว่า แนวทางในการแก้ไขปัญหาโลกด้วยเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่ฝ่ายบริหารต้องคิดและวางแผนไว้ล่วงหน้า

นอกจากนี้ Accenture เอง ก็ได้มองอนาคตเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาโลกเช่นกัน

Digital identity : ID for everyone and everything

ประเทศอินเดีย มีการใช้ระบบ Aadhaar แพลตฟอร์มระบบไบโอเมตริก เพื่อใช้กับการบริการสาธารณะ เช่น บริการทางการเงิน บริการเกี่ยวกับโควิด-19 การรับวัคซีน การติดตามผู้สัมผัส (Contract Tracing)

เห็นได้ว่า การใช้ Digital ID เข้ามาช่วยแก้ปัญหาความยากจนและค่าครองชีพ จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับภาครัฐและมีความโปร่งใสในการดำเนินงานด้วย

Your data, my data, our data

ทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในยุคดิจิทัลคงหนีไม่พ้นข้อมูล (Data) ที่เปรียบดั่งทองคำ

ตัวอย่างจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ที่สร้างระบบ Self-powering sensor เพื่อจัดการกับข้อมูลภาพอากาศ ข้อมูลการปล่อยมลพิษ หรือมหาวิทยาลัย King Abdullah ในซาอุดิอาระเบีย ที่ใช้ดาวเทียมระบุสภาพแวดล้อม เพื่อเพิ่มปริมาณผลผลิตทางการเกษตร

Generalizing AI

ความร่วมมือระหว่างกระทรวงกลาโหมสิงคโปร์และฝรั่งเศส ในการพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อจัดการปัญหาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้วยการใช้แพลตฟอร์มระบบเมมโมแกรม AI เพื่อตรวจมะเร็งเต้านม ที่ได้ผลลัพธ์ดีกว่า ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า

นอกจากนี้ ยังมี Vara สตาร์ทอัพเยอรมัน ที่ใช้ AI ในการผลิตยา ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพถูกลงและประชาชนเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Our Forever Frontier

ความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่องค์กรต้องมองให้ไกลกว่าแค่เรื่องเทคโนโลยี และให้ความสำคัญกับเทคนิคทางวิทยาศาสตร์มากกว่าเดิม

ยกตัวอย่างเช่น ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานพลังงานชีวมวลของกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ กับบริษัทเอกชน ในการพัฒนาเชื้อเพลิงอากาสยานแบบยั่งยืน (SAF) เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากอุตสาหกรรมการบิน

หรืออย่าง Magic Seeds บริษัทในมูลนิธิของ Bill Gates ที่ใช้เทคโนโลยีชีวภาพและนวัตกรรมการเกษตร มาช่วยแก้ไขปัญหาความหิวโหยในโลก เทคโนโลยีที่น่าสนใจ

รวมทั้ง DroughtTEGO การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดแบบลูกผสมให้ทนต่อสภาพอากาศแบบไม่ต้องพึ่งพาน้ำมากเกินไป เพื่อต่อสู้กับปัญหาสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ที่ส่งผลให้การปลูกข้าวโพดแบบเดิมๆ ไม่ได้ผลผลิตที่ดี

จากกรณีศึกษาดังกล่าว กำลังบอกเราว่าโลกนี้กำลังเดินเข้าสู่วิกฤต และเทคโนโลยีเป็นหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหาได้ วิกฤตต่างๆ เหล่านี้ ไม่ใช่แค่ใครคนใดคนหนึ่ง หรือหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งที่จะเป็นคนแก้ไข แต่ต้องเป็นการรับรู้ ช่วยเหลือและแก้ไขร่วมกัน โดยมีเทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งในการใช้งานเพื่อช่วยเหลือโลกและแก้วิกฤตให้ได้

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/digital-tech/technology/842374