กรณีศึกษา การประยุกต์ใช้ LINE OA ในเทศบาลยะลาเมืองอัจฉริยะ

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

จังหวัดยะลาถือเป็นหนึ่งใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ต้องเผชิญกับปัญหาความไม่สงบ ก่อการร้ายมาเป็นเวลานาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตและความปลอดภัยของผู้คนในพื้นที่ และส่งผลกระทบภาพรวมของเศรษฐกิจ นำไปสู่การพัฒนาเมืองยะลาสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะด้วยการบริหารจัดการแบบ Smart Governance ที่บูรณาการได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจ ที่หลายจังหวัดและพื้นที่ต่าง ๆ จะสามารถนำเอาบทเรียนต่าง ๆ ไปปรับใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่

โจทย์และต้นทุนของยะลา

การสร้างเมืองอัจฉริยะนั้น จะต้องเริ่มต้นจากการมองเห็นปัญหาของเมืองให้ชัดเสียก่อน เพื่อที่จะนำไปสู่วิธีการแก้ปัญหาที่ตรงจุด ซึ่งปัญหาหลักในจังหวัดยะลาเองก็คือปัญหาความไม่สงบ แต่ในขณะเดียวกันยะลาเองก็มีต้นทุนที่ดีอยู่ในตัวเช่นกัน นั้นก็คือ ทุนความสะอาด ทุนความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทุนสิ่งแวดล้อม ทุนการศึกษา ทุนวัฒนธรรม พร้อมปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของเมืองด้วยการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ควบคู่ไปกับการเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตร

เมื่อเข้าใจปัญหาและรู้จักต้นทุนของตัวเอง ผลลัพธ์จากการแก้ปัญหาอย่างตรงจุดก็เกิดขึ้น ทำให้ยะลาสามารถพลิกฟื้นสถานการณ์ความไม่สงบชายแดนใต้ในอดีตที่ฉุดรั้งภาคการท่องเที่ยวของยะลา โดยเฉพาะผลกระทบภาพลักษณ์ของเมืองในช่วงที่ผ่านมาได้ และทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดยะลาค่อย ๆ ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง

นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายกเทศมนตรียะลา เผยว่า…

กระบวนการบริหารงานที่มีประชาชนหลากหลายเชื้อชาติและวัฒนธรรมเป็นศูนย์กลาง มาร่วมเรียนรู้และแสดงความเห็น ผ่านหลักการบริหารแบบ Smart Governance ใช้ดิจิทัลเชื่อมโยงระหว่างรัฐกับประชาชน

นอกจากการดำเนินการติดตั้งระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตไร้สาย จำนวน 83 จุด ในเขตเทศบาลนครยะลา (Yala Free Wifi) เพื่อให้บริการอินเตอร์เน็ตสาธารณะแก่ประชาชนและยกระดับโครงสร้างพื้นฐานบริการดิจิทัลให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนการสร้างสรรค์เครื่องมือดิจิทัลอย่างเป็นทางการในชื่อ Yala Mobile Application แล้ว

Smart Governance ยังถูกนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมผ่านการใช้งานแอพลิเคชันที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดอยู่แล้ว อย่าง LINE ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสื่อสารอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพในวงกว้างอย่างรวดเร็ว โดย LINE Official Account ได้กลายเป็นช่องทางที่มีอิทธิพลต่อการขับเคลื่อนเมืองยะลาสู่การเป็นสมาร์ทซิตี้ได้อย่างชัดเจน

นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ
นายกเทศมนตรียะลา

LINE OA เครื่องมือสำคัญในการยึดโยงภาครัฐเข้าหาประชาชน

ที่ผ่านมา เทศบาลนครยะลา ได้มีการประยุกต์ใช้ฟีเจอร์ Rich Menu บน LINE OA เป็นศูนย์กลางการให้บริการ และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเทศบาลนครยะลาให้แก่ประชาชน ในหลากหลายรูปแบบ เปรียบเสมือนสถานที่ราชการเคลื่อนที่ เพื่อให้ประชาชนสามารถติดตามข่าวสารข่าวประชาสัมพันธ์ของเทศบาลได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ พร้อมระบบร้องเรียนเพื่อง่ายต่อการสื่อสาร เชื่อมต่อเมนูสำหรับการรับเรื่องร้องเรียนด้านต่างๆ รวมไปถึงการแจ้งเหตุฉุกเฉิน

อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานรัฐ ด้วยการให้ข้อมูลระบบภาษี บน LINE OA เพื่อให้บริการให้ประชาชนจ่ายภาษีออนไลน์ได้โดยไม่ต้องเดินทางมาชำระเองที่เทศบาลและสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับภาษีจากเจ้าหน้าที่ใด้โดยตรง ทำให้สามารถบริการประชาชนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และยังช่วยลดความจำเป็นในการเข้ามาติดต่อที่เทศบาล ช่วยลดเวลาและขั้นตอนการทำงานของทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่

หรือแม้กระทั่งภายใต้สถานการณ์ล่าสุด เมืองยะลาก็ได้ใช้ LINE OA เชื่อมต่อระบบการเก็บข้อมูลด้านสาธารณสุข ติดตามปัญหาวัคซีนโควิด-19 จัดทำระบบการลงทะเบียนจองคิว เพื่อลดการแออัดในการรอคิว รวมถึงการเชื่อมต่อเข้ากับแพลตฟอร์มของทางโรงพยาบาลยะลา เพื่อใช้ในการตรวจสอบรายชื่อ วัน เวลา การเข้ารับการรับวัคซีนตัวเลือกซีโนฟาร์มและสามารถติดตามข่าวสาร ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวัคชีนได้ เป็นต้น

รวมไปถึงการใช้งาน LINE OA เพื่อแก้ไขปัญหาประชาชนมีรายได้ลดลง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เพิ่มรายได้ให้กับท้องถิ่นในรูปแบบตลาดออนไลน์ (E-Market) ภายใต้โครงการหลาดยะลา (Yala market) บน LINE OA เพื่อเป็นแหล่งการซื้อขายสินเค้าและบริการออนไลน์ภายในเมืองยะลา ซึ่งให้ผลตอบรับที่น่าพึงพอใจ มีเม็ดเงินผ่านระบบดิจิทัลเข้าสู่กระเป๋าประชาชนสะดวกรวดเร็วขึ้น และยังช่วยแก้ปัญหากลุ่มคนขาดรายได้ในช่วงโควิด อย่างวินมอเตอร์ไซค์ ให้ทำหน้าที่เป็นผู้รับส่งสินค้าถึงครัวเรือนอีกด้วย นับเป็นการสร้างระบบเดลิเวอรี เตรียมความพร้อมรองรับภาคการท่องเที่ยวและบริการได้เช่นเดียวกัน

ประโยชน์จาก LINE OA ตอบโจทย์บริหารเมือง

“ในวันที่เราเปิดเมือง มีนักท่องเที่ยวเข้ามา ทุกคนก็สามารถ Connect เข้ามาเชื่อมต่อกับระบบ Free Wifi ที่เราให้พี่น้องประชาชนใช้ฟรี และเข้าถึง Rich Menu บน LINE OA ที่จะช่วยให้นักท่องเที่ยวสืบเสาะหาเรื่องราวในเขตเทศบาลนครเมืองยะลาได้เช่นเดียวกัน และไม่เพียงแต่ประชาชนที่จะได้ประโยชน์จากการ Smart Governance เท่านั้น แต่ผู้บริหารเมืองเองก็จะได้ใช้ Big Data จากระบบร้องเรียนไปปรับปรุงพัฒนาบ้านเมืองต่อไป ช่วยประกอบการตัดสินใจและวางแผนที่แม่นยำได้”

นายกเทศมนตรียะลา อธิบายเพิ่มเติมว่า เมืองต้องขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเมือง (City Data) ผ่าน Smart City Data Architecture ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลจากระบบต่างๆ ทั้งจาก LINE OA เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน ตลอดจนเซ็นเซอร์ต่างๆ ทั่วเมือง ข้อมูลทั้งหมดนี้จะถูกดึงรวมเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อจำแนกจัดแบ่งผ่านระบบ Chatbot และการจัดการข้อมูล ก่อนนำไปเป็น Open Data เพื่อเปิดเผยให้ประชาชนรับรู้ได้ ถึงการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียนและข้อมูลที่จำเป็นของเทศบาลแบบเรียลไทม์ผ่านมือถือ หรือที่เรียกว่า Citizen Data Dashboard เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างเทศบาลกับประชาชนให้มีความผูกพันแน่นเฟ้น ในขณะเดียวกัน ผู้บริหารและทีมงานของเทศบาลเมืองยะลา ก็สามารถติดตามผลการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน และข้อมูลบ่งชี้ประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรผ่าน City Data Dashboard แบบเรียลไทม์ผ่านมือถือได้เช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ ระบบ Chatbot และการจัดการข้อมูล ยังทำหน้าที่ในส่วนของ Citizen Relation Management (CRM) โดยเชื่อมโยงระบบ Facebook และ LINE OA ของเทศบาลเมืองยะลาเข้าด้วยกัน เพื่อจัดการข้อมูล ตรวจจับคำสนทนา และคอยตอบคำถามประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปวิเคราะห์เพื่อต่อยอดบริหารบ้านเมืองได้ รวมไปถึงมีระบบการ Broadcast ข้อมูลประชาสัมพันธ์ และระบบจัดทำฐานข้อมูลผู้ติดต่ออัตโนมัติ เป็นต้น

“เครื่องมือดิจิทัลและ Dashboard เหล่านี้ทำให้เราสามารถดูแลพี่น้องประชาชนได้ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถเห็นการเคลื่อนไหวของข้อมูลประชากร โดยเฉพาะ LINE OA ที่มีฐานข้อมูลต่างๆ เข้ามามากมาย ทำให้เราหยิบมารวบรวม วิเคราะห์ต่อได้ เช่น ยังมีประชากรกลุ่มใดที่อาจดูแลไม่ทั่วถึงหรือไม่ และยังมีข้อดีที่เราสามารถเลือกส่งข้อมูลไปยังกลุ่มที่เราต้องการสื่อสารแบบเฉพาะเจาะจงได้เลย ผ่านทาง LINE ซึ่งมีความใกล้ชิดกับคนไทยมากอยู่แล้วนั่นเอง”

เรียบเรียงโดย Security Systems Magazine
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม www.mgronline.com