ไปรษณีย์อังกฤษเริ่มใช้แสตมป์ติดบาร์โค้ด สแกนแล้วดูการ์ตูนได้

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

หากใครคิดว่าแสตมป์เป็นอะไรที่เก่าคร่ำครึ เพราะเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดมากว่า 180 ปี แล้ว แต่นั่นไม่ใช่เหตุผลและคุณอาจจะต้องคิดใหม่กันแล้ว เพราะแสตมป์ของ การไปรษณีย์รอยัลเมล ในสหราชอาณาจักร กำลังปรับตัวก้าวเข้าสู่ยุคสมัยแห่งดิจิทัลเหมือนกัน โดยจะมีบาร์โค้ดอยู่บนแสตมป์ด้วย

แสตมป์โฉมใหม่นี้ออกวางจำหน่ายในสหราชอาณาจักร ตั้งแต่ 1 ก.พ. และผู้รับจดหมายสามารถสแกนบาร์โค้ดเพื่อดูวิดีโอการ์ตูนชุด Shaun the Sheep ได้ โดยผู้ส่งจดหมายจะเป็นผู้เลือกว่าคนรับจดหมายจะได้ดูการ์ตูนตอนใด

อย่างไรก็ตามรอยัลเมล ผู้ให้บริการไปรษณีย์ของสหราชอาณาจักรมีความตั้งใจและเป้าหมายไกลกว่านั้น เพราะในอนาคตผู้รับจดหมายที่ติดด้วยแสตมป์ที่มีบาร์โค้ดนี้ สามารถสแกนเพื่อดูวิดีโอ หรือรับข้อความอย่างการอวยพรวันเกิดได้ด้วย

รอยัลเมล เตือนคนที่มีแสตมป์ธรรมดาอยู่ในมือให้รีบใช้ให้หมดก่อนเดือน ม.ค. 2023 หรือเอาไปแลกแสตมป์ใหม่แบบที่มีบาร์โค้ดได้ โดย #The QR จะอยู่บน “แสตมป์ทั่วไป” ที่มีพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 ปรากฏอยู่

นิค แลนดอน ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของรอยัลเมล บอกว่าการติดบาร์โค้ดลงบนแสตมป์ ช่วยเชื่อมโยงการส่งจดหมายเข้ากับโลกดิจิทัล และเปิดโอกาสให้เกิดนวัตกรรมการใหม่ ๆ

สหราชอาณาจักรเป็นผู้ออกและนำแสตมป์ The Penney Black ชุดแรกของโลกมาใช้เมื่อปี 1840 ถือเป็นการพลิกโฉมการส่งจดหมายให้มีราคาถูกลงและง่ายดายยิ่งขึ้น

ส่วนในไทย บริษัทไปรษณีย์ไทย ให้ข้อมูลว่า ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถือเป็นยุคแรกของ การไปรษณีย์ไทย ด้วยการจัดตั้งกรมไปรษณีย์ในประเทศไทย และการผลิต “แสตมป์ชุดโสฬส” แสตมป์ชุดแรกของประเทศ รวมไปถึงจัดพิมพ์ไปรษณียบัตรครั้งแรก เพื่อรองรับกิจการไปรษณีย์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น

แหล่งข้อมูล

https://www.bbc.com/thai/international-60217737