สรุปง่าย ๆ ‘Metaverse’ คืออะไร?

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

กระแสของ Metaverse ถูกจัดตามองในระดับโลก เมื่อ Facebook ได้มีการรีแบรนด์ตัวเอง โดยเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Meta ซึ่งมาจากอักษร 4 ตัวแรกของคำว่า Metaverse นั้นเอง โดยมีการกล่าวถึงโปรเจกต์ของ Facebook ในปี 2022 ที่จะหันเข้าสู่เทคโนโลยีโลกดิจิทัลเสมือนจริง (Virtual Reality-VR) อย่างเต็มตัว

เรื่องเก่า นำมาเล่าใหม่

จริง ๆ แล้วคำว่า Metaverse ไม่ใช่คำที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่แต่อย่างใด เพราะคำนี้มีการใช้ครั้งแรกเมื่อปี 1992 จากนิยายวิทยาศาสตร์ที่ชื่อว่า “Snow Crash” ที่กล่าวถึงชีวิตของมนุษย์ในโลกเสมือนจริงซึ่งมีอยู่เป็นโลกคู่ขนาดกับโลกแห่งความจริง

โดยรอยเตอร์กล่าวว่า Metaverse นั้นจะเป็นการบรรจบกันระหว่างโลกความเป็นจริงและโลกดิจิทัล ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมเกือบจับต้องได้ รวมทั้งการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างกันของสิ่งที่เป็นการสังเคราะห์โดยเทคโนโลยีดิจิทัล กับโลกมนุษย์ที่ทุกสิ่งนั้นล้วนมีมวล มีสสาร และมีตัวตน

อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ถึงซึ่งสิ่งที่จะเกิดขึ้นในยุคนั้น ก็คือการที่เราสามารถพูดคุยกับอีกบุคคลหนึ่งที่ห่างไกลกันได้ โดยสามารถมองเห็นบุคคลนั้นแบบ 3 มิติ คล้ายกับโฮโลแกรมที่เราเคยเห็นในภาพยนตร์ไซไฟ

หรือในเวลาที่มีการจัดแสดงดนตรี เราสามารถที่จะมีส่วนร่วมได้โดยไม่จำเป็นจะต้องไปยังสถานที่นั้นจริง ๆ และแม้แต่ในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตประจำวัน เช่นการไปเลือกซื้อเสื้อผ้า การไปเลือกซื้อบ้าน ซื้อคอนโด การเรียนหนังสือ การฝึกซ้อมกีฬา เราก็สามารถที่จะทำได้โดยไม่จำเป็นจะต้องไปยังสถานที่นั้นจริง ๆ อีกต่อไป

และทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นภายใต้อุปกรณ์ต่อเชื่อมที่ทำให้ระยะทางไม่เป็นอุปสรรคในการติดต่อปฏิสัมพันธ์อีกต่อไป นั้นก็คือ แว่น Oculus ที่เข้าถึงโลกเสมือนแบบ VR (Virual Reality) หรือ แว่น Ray-Ban ที่ Facebook ร่วมผลิตกับแบรนด์แว่นตาชั้นนำนี้โดยใช้เทคโนโลยี AR (Augmented Reality) ซึ่งปัจจุบันมีการวางจำหน่ายแล้วในร้านของแบรนด์ทั้งที่สหรัฐฯ ออสเตรเลีย, แคนาดา, ไอร์แลนด์, อิตาลี และสหราชอาณาจักร โดยมีราคาอยู่ที่ประมาณอันละ 9,800 บาท

นอกจากนี้ยังมีแบรนด์เทคโนโลยีอื่น ๆ ที่กำลังสร้างแว่นลักษณะนี้ออกมาด้วยเช่นเดียวกัน…

จากจินตนาการสู่ความจริง

จะดีแค่ไหนถ้าในอนาคตเราสามารถที่จะเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างไร้ขีดจำกัด แม้แต่เวลาและสถานที่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งขวางกั้นเราไว้ได้

เพราะโลกเสมือนที่ถูกสังเคราะห์ด้วยระบบดิจิทัล กำลังกลายเป็นโลกที่ทุกคนจะต้องเข้าไปอยู่ในนั้นได้ไม่ช้าก็เร็ว ซึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกต่างตื่นตัวเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ทั้งในอเมริกา ยุโรป หรือแม้กระทั่งจีน ซึ่งอัตราเร่งของการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ถือว่ามีจังหวะหมุนที่เร็วขึ้นเรื่อย ๆ และจะเกิดขึ้นจริงได้ในไม่ช้านี้อย่างแน่นอน

เพราะวิถีชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบัน รวมทั้งบรรดาห้างร้านธุรกิจทั้งหลาย ต่างก็กำลังหมุนเข้าสู่ทิศทางแห่ง Metaverse ในแบบที่บางคนอาจจะไม่ทันรู้ตัวด้วยซ้ำ

เช่น จากสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา บริษัทหลาย ๆ แห่งก็ได้มีการเริ่มต้นทำงานแบบ WFH เป็นครั้งแรก โดยทุกคนต่างพยายามค้นหาโปรแกรม หรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ มาช่วยเพื่อให้สามารถบริหารจัดการระบบงานแบบใหม่นี้ให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าบริษัทบางแห่งจะไม่ใช่บริษัทด้านเทคโนโลยีก็ตาม แต่ก็พยายามจะปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ให้ได้มากที่สุด และเทคโนโลยีนั้นแหละคือคำตอบที่ทุกคนปฏิเสธไม่ได้

ตัวอย่าง Metaverse

สำนักงานของ Glimpse Group บริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มโลกเสมือนจริงในมหานครนิวยอร์ก ได้สร้างห้องทำงาน 3 มิติ ที่สามารถแสดงผลของตัวเลขต่าง ๆ ผ่านหน้าจอขนาดยักษ์ 18 จอ ที่หากมองจอด้วยตาเปล่าก็ไม่รู้ว่ามันทำงานอย่างไร แต่เมื่อใส่แว่นตา VR เข้าไปแล้ว จะมองเห็นตัวเลขและกราฟต่างๆ ที่เป็น 3 มิติลอยอยู่ในอากาศรอบตัว ซึ่งถ้าหากจะเรียกใช้งานกราฟหรือตารางตัวเลขต่างๆ นั้นก็แค่ใช้คำสั่งที่โปรแกรมตั้งเอาไว้ ก็สามารถแสดงผลตามที่ต้องการได้

และที่ล้ำไปกว่านั้น การเข้าและออกบริษัท ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปถึงอาคารที่ตั้งอีกต่อไปแล้ว เพราะเพียงแค่พนักงานทุกคนสวมแว่นตา VR ก็สามารถเข้าถึงบริษัท และทำงานได้ตามบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ส่วนการออกจากห้องทำงานก็ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ถอดแว่นออกเท่านั้น

รวมถึงเรื่องการประชุมทางไกลนั้น ก็ทำได้ง่ายมาก และเสมือนจริงราวกับว่าทุกคนนั่งอยู่ในห้องเดียวกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา

หรือในวงการบันเทิง นักร้องนักดนตรีก็ได้เริ่มใช้ Metaverse เป็นช่องทางในการจัดคอนเสิร์ตด้วยเช่นกัน ยกตัวอย่างการแสดงของ ‘Ariana Grande’ ที่มีผู้เข้าชมนับล้านในเดือนกันยายนที่ผ่านมา

ดังจะเห็นได้ว่า Metaverse สามารถสร้างความสะดวกสบาย สร้างความปลอดภัย รวมถึงยังมีประโยชน์ทั้งในแง่ของธุรกิจและความบันเทิง ซึ่งจุดเริ่มต้นที่เกิดขึ้นนี้ ถือเป็นเป้าหมายเดียวกันที่มนุษย์ทุกคนจะเดินทางไปถึงได้ในอนาคตอย่างแน่นอน เพราะมนุษย์ต้องการอิสระและไม่ประสงค์จะมีชีวิตอยู่ภายใต้ขีดจำกัดใด ๆ

เรียบเรียงโดย Security Systems Magazine

แหล่งข้อมูล https://reporter-journey.com/

เครดิตรูปภาพ https://pixabay.com/