ดีป้า จับมือ กราวิเทคไทย เปิดศูนย์ “G.LAB Digital Makerspace” คอมมูนิตี้ แห่งใหม่ แหล่งบ่มเพาะบุคลากรดิจิทัลทุกวัย พร้อมรับทุกการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ดิจิทัล

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และ บริษัท กราวิเทคไทย (ไทยแลนด์) จำกัด จัดพิธีเปิดศูนย์ “G.LAB Digital Makerspace” ศูนย์กลางการให้บริการสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมด้าน IoT แบบครบวงจร พร้อมเปิดพื้นที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านออกแบบและสร้างสรรค์อุปกรณ์ ต่อยอดผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมดิจิทัล จากผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศ เพื่อบ่มเพาะกำลังพลคนดิจิทัล ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย ให้เติบโตแบบมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า กล่าวว่า ตามที่นายชัยวุฒิ ธนาคมนุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ได้มอบหมายให้ ดีป้าเร่งขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จะช่วยส่งเสริมให้การออกแบบนวัตกรรมและเทคโนโลยี อย่างเร่งด่วน โดยศูนย์ G.LAB แห่งนี้ เกิดจากความร่วมมือกับ บริษัท กราวิเทคไทย (ไทยแลนด์) จำกัด ในการเปิดพื้นที่ให้นักพัฒนา ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์บนพื้นฐานของนวัตกรรมดิจิทัล ต่อยอดสู่การออกแบบสินค้า หรือบริการที่เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์อย่างสูงสุด นอกจากนี้การตั้งศูนย์ G.LAB ยังแสดงให้เห็นถึงความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน เพื่อสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมครบวงจร สนับสนุนนักรบทางเศรษฐกิจดิจิทัลผลักดันประเทศไทยต่อไป

“ศูนย์ G.LAB Digital Makerspace นี้เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือกับภาคเอกชนภายใต้มาตรการของดีป้า ซึ่งเป็นโครงการที่เตรียมพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ และปัจจัยต่าง ๆ ที่จะช่วยสร้างไอเดีย ให้กับกลุ่มนักนวัตกรรม สตาร์ทอัพไทย นักศึกษา ตอลดจนบุคคลทั่วไป ที่ต้องการสร้างสรรค์ ออกแบบผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยี โดยศูนย์ฯ แห่งนี้จะทำหน้าที่ ตั้งแต่เริ่มให้คำปรึกษา แนวความคิดและความเป็นไปได้ พร้อมทำการออกแบบ Prototype และการทดสอบการใช้งาน ตลอดจนดูแลให้คำปรึกษาด้านเทคนิค จากผู้เชี่ยวชาญ ไปจนถึงกระบวนการผลิตออกจำหน่ายสู่ท้องตลาด ซึ่งจะเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ให้สามารถใช้งานและจำหน่ายได้จริง รวมถึงเป็นพื้นที่ในการจัดฝึกอบรมด้านการออกแบบและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลของประเทศ” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว

ด้าน ดร.ชานนท์ ตุลาบดี ประธานกรรมการ บริษัท กราวิเทคไทย (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน สตาร์ทอัพเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในวงการธุรกิจ ซึ่งพฤติกรรมการประดิษฐ์สิ่งที่ต้องการใช้สอยเอง เป็นแนวโน้มที่ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ดังนั้น เทคโนโลยีจึงมีความสำคัญในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก การเปิดศูนย์ G.LAB Digital Makerspace ในครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของประเทศไทย ที่ภาครัฐและเอกชน ร่วมกันสร้างธุรกิจจากนวัตกรรมการออกแบบผลิตภัณฑ์ Smart Gadgets รวมถึง IoT, AI, 5G, Robotics และอื่น ๆ เพื่อผลักดันให้เกิดการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลในทุก ๆ มิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านการฝึกอบรมจากผู้เชี่ยวชาญระดับโลก และนักวิทยาศาสตร์เฉพาะทางระดับแนวหน้า เพื่อบ่มเพาะ ยกระดับ เพิ่มศักยภาพ เตรียมพร้อมกำลังคนดิจิทัล ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาประเทศที่สำคัญ เข้าสู่สังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

สำหรับ ศูนย์ G.LAB Digital Makerspace แห่งแรกนี้ ตั้งอยู่ในพื้นที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ชั้น 2 อาคารดีป้า ลาดพร้าว เป็นศูนย์กลางการให้บริการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมด้าน IoT ที่ครบวงจร ทั้งการให้บริการอุปกรณ์และการจัดอบรมถ่ายทอดองค์ความรู้การออกแบบ สร้างสรรค์อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ดิจิทัล พร้อมทั้งยังมีแผนการต่อยอดจัดตั้งศูนย์แห่งที่สอง ในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัท กราวิเทคไทยฯ ทำหน้าที่เป็นฐานการผลิตชิ้นงานต้นแบบ IoT โดยใช้เทคโนโลยี Rapid Prototyping อาทิ SMD Circuit Board Assembly, CNC, 3D Printing, 3D Scanner, Laser Cutting, Water Jet Cutting, Vacuum Forming และอื่น ๆ พร้อมทั้งให้บริการทดสอบอุปกรณ์ IoT เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับเมกเกอร์เข้ามาทำงานใกล้ชิดกับฝ่ายผลิต เพื่อให้ออกแบบและทดลองผลิตได้อย่างรวดเร็ว ช่วยลดระยะเวลาการออกแบบ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานได้จริง ออกสู่ตลาดรวดเร็วมากขึ้น

แหล่งข้อมูล

https://www.ryt9.com/s/prg/3273151