Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24
Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25
Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26
ปัญหาภัยแล้งกับน้ำหลากในพื้นที่ภาคตะวันออกนั้นแม้จะไม่ได้เกิดขึ้นทุกปี แต่เกิดขึ้นทีไรก็สร้างความเสียหายรวมกันมีมูลค่านับร้อยล้านบาท บางปีก็สูงแตะพันล้านบาท เพราะพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่อยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง รวมทั้งจันทบุรี อย่างเมื่อปี 62 ก็เพิ่งเจอภัยแล้งหนักสุดในรอบ 14 ปี
เพื่อป้องกันภัยแล้งน้ำหลากในพื้นที่อีอีซี สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จึงได้เสนอของบประมาณราว 8.8 หมื่นล้านบาทเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อีอีซีและจันทบุรี
สำหรับแนวทางการแก้ไขนั้น เฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้ให้ข้อมูลผ่านการแถลงข่าวระบบออนไลน์ โดยได้แยกแยะให้เห็นความต้องการใช้น้ำของแต่ละจังหวัด ดังนี้
ชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำบางพระเป็นหลัก เดิมทีมีเป้าหมายเพื่อการเกษตร แต่เมื่อบ้านเมืองเปลี่ยนแปลง กลายเป็นเมืองท่องเที่ยว มีโรงแรม รีสอร์ท บ้านจัดสรรมากขึ้น ความต้องการใช้น้ำจึงเพิ่มสูงขึ้น จากเดิม 241 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี มาเป็นราว 350-400 ล้าน ลบ.ม.ในช่วงปี 63-64 โดยก่อนหน้านี้ได้ทำการผันน้ำจากจันทบุรีและระยองมาใช้ ในอนาคตคาดว่าเมื่อถึงปี 82 ความต้องการน้ำของเมืองชลจะสูงถึงประมาณ 1,050 ล้าน ลบ.ม. จึงต้องเร่งหาน้ำเพิ่มอีกอย่างน้อย 400-500 ล้าน ลบ.ม.
ด้านระยองนั้นมีความต้องการใช้น้ำเพื่อการอุตสาหกรรมมากพอๆ กับการเกษตร การดำเนินการแก้ไขด้วยการเพิ่มความจุของอ่างเก็บน้ำทั้ง คลองใหญ่ หนองปลาไหล บ้านบึง มาบประชัน คลองสียัด รวมถึงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำดอกกราย ต้องดำเนินการตามแผน
ส่วนที่จันท์สวนผลไม้เยอะ เน้นที่การเกษตร จึงสร้างอ่างเก็บน้ำประแกด คลองหางแมว และกำลังสร้างอ่างเก็บน้ำพะวาใหญ่ ช่วยเพิ่มปริมาณกักเก็บเป็นร้อยล้าน ลบ.ม. ช่วยพื้นที่เกษตรได้เป็นแสนไร่ โดยมีการทำสถานีสูบน้ำคลองสะพานเพื่อสูบกลับไปลงอ่างอีกที ที่จันทบุรีนี้ความจุของอ่างเก็บน้ำ หากบวกของวังโตนด 99.5 ล้าน ลบ.ม.พะวาใหญ่ หางแมว ประแกด ก็จะได้ 200 ล้าน ลบ.ม. แต่ก็ยังขาด 500-600 ล้าน ลบ.ม. จึงยังต้องการปริมาณอีกร้อยกว่าล้าน ลบ.ม.จากการสูบกลับ
สำหรับ 6 แผนงานในระยะ 10 ปีของกรมชลประทาน ประกอบด้วย
- ปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม 7 แห่ง เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ หนองปลาไหล ขุดลอกอ่างเก็บน้ำดอกกราย เพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำบ้านบึง กับอ่างเก็บน้ำมาบประชัน หนองค้อ และคลองสียัด
- พัฒนาแหล่งน้ำใหม่ 4 แห่ง ประกอบด้วยก่อสร้างอ่างเก็บน้ำคลองประแกด อ่างเก็บน้ำคลองหางแมว อ่างเก็บน้ำคลองพะวาใหญ่ และอยู่ระหว่างการทำรายงาน EHIA ฉบับสมบูรณ์คืออ่างเก็บน้ำคลองคลองวังโตนด
- เชื่อมโยงแหล่งน้ำและระบบผันน้ำ 4 แห่งคือ 1. สร้างอาคารอัดน้ำท้ายอ่างเก็บน้ำประแสร์เสร็จแล้ว 2. กำลังก่อสร้างปรับปรุงคลองพานทองเพื่อผันน้ำไปอ่างเก็บน้ำบางพระ 3. กำลังสร้างอาคารบังคับน้ำแม่น้ำระยอง 4. เสนอเปิดโครงการท่อผันน้ำอ่างเก็บน้ำประแสร์-อ่างเก็บน้ำหนองค้อ-อ่างเก็บน้ำบางพระ
- การสูบกลับท้ายอ่างเก็บน้ำ โดยบสูบน้ำกลับอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และ สูบผันน้ำคลองสะพาน-อ่างประแสร์
- การป้องกันน้ำท่วม 4 แห่ง โดยสร้างสถานีสูบน้ำฯคลองพับมาและสถานีสูบน้ำฯหนองโพรง ปรับปรุงระบบระบายน้ำหน้าพระธาตุ และปรับปรุงระบบท่าลาด-คลองหลวง
- การจัดหาแหล่งน้ำโดยภาคเอกชน (East water) สระทับมา จ.ระยอง
ขณะที่ การประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 โดยมี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ กพอ. เป็นประธาน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้า การดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในเรื่องเกี่ยวกับน้ำ ที่ประชุม กพอ. รับทราบการจัดหาแหล่งน้ำในพื้นที่อีอีซีที่มีระบบบริหารน้ำในภาพรวมครบถ้วน จากข้อสั่งการรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ประกอบด้วย
- กรมชลประทาน เร่งเสนอโครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำกลับคลองสะพาน-ประแสร์ เส้นที่ 2 และเครือข่ายคลองวังโตนด-อ่างเก็บน้ำประแสร์ เส้นที่ 2 สร้างความมั่นคงการจัดการน้ำในระยะยาว
- นิคมอุตสาหกรรม จัดหาแหล่งน้ำสำรองของตนเอง รวมถึงเร่งเพิ่มน้ำต้นทุน เปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืด ดำเนินการให้คุ้มค่าสูงสุด เป็นต้น
- แนวทางจัดหาแหล่งน้ำรองรับในพื้นที่ 30 กิโลเมตร รอบสนามบินอู่ตะเภา ที่เป็นจุดการพัฒนาที่สำคัญ และกระทรวงทรัพย์ฯได้ช่วยทำแผนที่น้ำใต้ดินซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้กว่า 4,000 ล้าน ลบ.ม. ถือเป็นครั้งแรกที่มีการบริหารน้ำผิวดินร่วมกับน้ำใต้ดิน
ทั้งหมดนี้เป็นแผนรองรับว่าอย่างน้อยภายใน 10 ปี อีอีซี จะไม่มีปัญหาการขาดแคลน “น้ำ” อย่างแน่นอน
แหล่งข้อมูล
https://www.salika.co/2021/08/11/eec-water-management-for-future/