Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24
Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25
Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26
โลกออนไลน์ อินเตอร์เน็ต และโซเชียลมีเดีย พื้นดิจิทัลที่เปรียบเสมือนเป็นอีกหนึ่งสังคมขนาดใหญ่ที่ให้ผู้คนสามารถแสดงเป็นตัวในด้านต่างๆ ได้อย่างอิสระ สะท้อนมุมมอง ความคิด ทัศนคติ หรือแม้แต่นิสัยส่วนตัวที่บนโลกแห่งความเป็นจริงไม่อาจที่แสดงออกได้อย่างตรงไปตรงมา
แน่นอนว่าผู้คนในทุกวันนี้ต่างใช้ชีวิตอยู่บนโลกดิจิทัลเกือบจะตลอดเวลาไม่ต่างอะไรกับโลกจริงๆ ที่ฝ่าเท้าของเราสัมผัสอยู่ และเป็นโลกที่มีอิทธิพลเกือบในทุกๆ ด้านของมนุษย์ ซึ่งการที่มีคนเข้ามาอยู่บนโลกเสมือนหลายร้อยหลายพันล้านคน ย่อมเกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมามากมาย โดยเฉพาะการแสดงความคิดเห็นที่สะท้อนความเป็นตัวเองโดยที่มีการกรองน้อยลงกว่าการพูดกันต่อหน้า ความดิบ ความหยาบ ความไม่เกรงใจ การไม่ต้องมีมารยาทใส่คนที่ไม่รู้จัก ยิ่งแสดงออกมาชัดเจนมากขึ้น
ดัชนีชี้วัดความมีอารยะชนหรือความสุภาพทางอินเตอร์เน็ต (Digital Civility Index) จัดทำโดย Microsoft ซึ่งไม่ต้องแนะนำอะไรให้มากความว่าคืออะไร โดยมีการรวบรวมข้อมูลของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจาก 32 ประเทศทั่วโลก เพื่อจัดทำรายงานความมีอารยะชนบนโลกอินเตอร์เน็ต ซึ่งรวมไปถึง การแสดงความเห็นอย่างสุภาพ การรับผิดชอบต่อการแสดงความเห็นของตัวเอง การเขียนข้อความในเชิงคุกคามทางเพศ การบูลลี่ การประทุษร้ายด้วยข้อความ การใส่ร้ายกล่าวหา สร้างข่าวปลอม รวมทั้งตัวชี้วัดอื่นๆ ที่สะท้อนถึงคุณภาพของประชากรในประเทศนั้นๆ ซึ่งจัดทำครั้งแรกในปี 2019
เนเธอร์แลนด์ครองแชมป์โลก ส่วนสิงคโปร์แชมป์เอเชีย
ดัชนีความมีอารยะหรือความสุภาพทางอินเตอร์เน็ต ประจำปี 2020 พบว่าประเทศที่มีความสุภาพสูงสุดบนโลกออนไลน์คือเนเธอร์แลนด์ ได้คะแนน 51% หนึ่งในประเทศหัวแถวของโลกที่ประชาชนมีคุณภาพสูงในเกือบทุกด้าน รวมทั้งคุณภาพของสังคม การเมือง และโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาชาติ รองลงมาคือ สหราชอาณาจักร 55% สหรัฐอเมริกา 56% สิงคโปร์ 59% และไต้หวัน 61%
ส่วนประเทศที่ไม่ค่อยมีความสุภาพทางอินเตอร์เน็ตที่สุดคือ โคลัมเบีย 70% เปรู 74% เวียดนาม 72% ตุรกี 68% และชิลี 67%
ขณะที่ประเทศไทยอยู่ใน 3 อันดับสุดท้ายของเอเชีย เหนือกว่าเพียงแค่เวียดนาม และอินโดนีเซีย และอยู่ในกลุ่ม 10 อันดับสุดท้ายของโลกจากดัชนีนี้ ร่วมกับตุรกี แอฟริกาใต้ และละตินอเมริกา
ซึ่งประชากรในกลุ่ม Gen Z ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ.2538 – 2552 ของไทย คือผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ตในปีที่แล้ว
สำหรับสิงคโปร์ซึ่งเป็นทั้งอันดับ 4 ของโลก และอันดับ 1 ของอาเซียนและเอเชีย แม้จะหล่นลงมาจากอันดับที่ 1 ของโลกในปี 2019 แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สูงท่ามกลางการต่อสู้กับสภาวะความเครียดของผู้คนจากการรับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ในช่วงสถานการณ์โรคระบาด ที่อารมณ์ความไม่พอใจของประชาชนต่อการบริหารจัดการของรัฐบาล สภาพสังคมที่บีบคั้นและกดดัน รวมทั้งการการปล่อยข่าวปลอม ข่าวลวง เฟกนิวส์ต่างๆ ของผู้ที่ไม่หวังดีที่อาจทำให้สติของประชาชนแตกกระเจิงได้
สำนักข่าว Straits Times ของสิงคโปร์รายงานว่า ผู้คนในสิงคโปร์มีประสบการณ์บนโลกออนไลน์ในเชิงลบค่อนข้างน้อย เช่น การมีถูกคุกคามทางเพศด้วยข้อความ ซึ่งในปีที่แล้วประเทศก้าวขึ้นสู่อันดับที่ 4 ในการศึกษาประจำปีว่าด้วยสังคมพลเมืองดิจิทัลเป็นอย่างไร
รายงานยังระบุว่า ความเสี่ยงทางต่อประเด็นทางเพศบนโลกออนไลน์ลดลงอย่างมากจาก 30% ในปี 2019 เป็น 15% ในปีที่แล้ว ความเสี่ยงดังกล่าวรวมถึงการได้รับข้อความและรูปภาพที่โจ่งแจ้งทางเพศที่ไม่พึงปรารถนา การได้รับการล้อเลียนทางเพศ และการล้อเลียนอื่นๆ หรือความเรื่องชู้สาวทางออนไลน์
นอกจากนี้ การคุกคามทางออนไลน์ที่กระทบต่อชื่อเสียงของผู้อื่นยังลดลงจาก 18% ในปี 2019 เป็น 13% ในปีที่แล้ว ความเสี่ยงเหล่านี้รวมถึงการถูกนำข้อมูลส่วนตัวมาเปิดเผยด้วย
ที่น่าสนใจคือ การคุกคามทางออนไลน์ที่ล่วงล้ำความเป็นส่วนตัวที่ได้แก่ การติดต่อทางออนไลน์โดยไม่ได้รับอนุญาตหรือยินยอม การรับคำพูดที่แสดงความเกลียดชัง การหลอกลวง เนื้อหาอันเป็นเท็จ ไม่สุภาพ หยาบคาย และการกลั่นแกล้งทางอินเทอร์เน็ต ก็มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกลุ่มผู้ให้ข้อมูลในผลสำรวจนี้หลายคน รู้สึกว่าในสถานการณ์ที่ย่ำแย่แบบนี้ควรที่จะหาวิธีร่วมกันเพื่อรับมือกับวิกฤตครั้งนี้มากขึ้น แทนการสร้างความแตกแยกทางออนไลน์
ถึงอย่างไรก็ยังคงมีปัญหาการปล่อยข่าวปลอม สร้างเฟกนิวส์ต่างๆ ออกมามากมายไม่ต่างจากประเทศอื่นๆ โดยในจำนวน 31% ระบุว่าความสุภาพทางออนไลน์ลดลงเนื่องจากมีการแพร่กระจายของข่าวเท็จและข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดมากขึ้น และผู้คนใช้โลกออนไลน์แสดงความผิดหวังต่างๆ นานา
แต่พอเริ่มรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ และมีข้อมูลมากเพียงพอ สิ่งที่คนสิงคโปร์มีมากกว่าคนประเทศอื่นๆ คือความฉลาดในการรับและกรองข้อมูล และไม่ตกเป็นเหยื่อของข่าวเหล่านี้ได้โดยง่าย
ออกแคมเปญจริงจังเพื่อช่วยเหลือคนแก่สู้กับเฟกนิวส์
ดร.วิลเลียม วาน เลขาธิการทั่วไปของ Singapore Kindness Movement มีการตั้งข้อสังเกตว่า มีความคิดริเริ่มที่ดีและเป็นเชิงบวกมากมายในปีที่แล้วเพื่อที่จะยกระดับการมีอารยะของชาวสิงคโปร์บนโลกออนไลน์ เช่น แคมเปญ Sure Anot โดยนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง เพื่อช่วยผู้สูงอายุต่อสู้กับข่าวปลอม
โดยแนะนำให้ทุกคนมีสติ คิดดี และมีน้ำใจทางออนไลน์ พวกเขาไม่ควรโพสต์ แชร์ หรือส่งต่อสิ่งใดโดยไม่หยุดก่อนเพื่อถามว่ามันเป็นเรื่องจริง ยุติธรรม แง่บวก เป็นประโยชน์ ก้าวร้าวต่อผู้อื่นหรือไม่ และจะนำไปสู่ความสัมพันธ์ผลกระทบในวงกว้างของสังคมร่วมกันหรือไม่
ดร.วาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงนี้มีประชาชนจำนวนมากต้องทำงานที่บ้าน ซึ่งทำหี้เวลาที่จะใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ ดังนั้น สิ่งสำคัญคือเราต้องดูแลพวกเขา เราหวังว่าชุดข้อมูลนี้จะช่วยส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนบ้าน และส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี และสร้างสรรค์ ในการรับมือต่อข่าวปลอมข่าวลวงต่างๆ ร่วมกัน”
บทลงโทษที่รุนแรงแก่ผู้สร้างข่าวปลอม
สำหรับกฎหมายต่อต้านข่าวปลอมของสิงคโปร์ให้อำนาจในการสั่งให้บริษัทโซเชียลมีเดีย เช่น เฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ ต้องติดแถบเตือนกับโพสต์ที่เจ้าหน้าที่เห็นว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง และถ้าเป็นเคสที่ร้ายแรง สามารถสั่งให้ถอดโพสต์ดังกล่าวได้
สำหรับโพสต์ข่าวปลอมที่เจ้าหน้าที่ตัดสินว่าเป็นการมุ่งร้ายและสร้างความเสียหายกับผลประโยชน์ของสิงคโปร์ บริษัทโซเชียลมีเดียต้องโดนลงโทษปรับไม่เกิน 1 ล้านดอลลาร์สิงคโปร์ หรือราว 23.30 ล้านบาท ส่วนผู้โพสต์มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี
แต่ก็มีหลายฝ่ายรวมทั้งพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคแรงงานของสิงคโปร์ก็เคยแสดงความเห็นว่า กฎหมายดังกล่าวเป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ที่ขัดต่อระบอบประชาธิปไตย และให้อำนาจรัฐบาลในการเซ็นเซอร์ผู้ที่คิดต่าง
อย่างไรก็ตามก็ยังไม่มีการลงโทษกับผู้ที่กระทำความผิด เพราะยังไม่มีกรณีใดที่ชาวสิงคโปร์ได้แสดงความเห็นที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ เนื่องจากชาวสิงคโปร์เองก็รู้ขอบเขตของการแสดงความเห็นด้วยตัวเองว่าอย่างไรถึงจะเหมาะสม มากกว่าด่าทอไปมาให้เสียพลังงาน กฎหมายอาจตั้งขึ้นเพื่อแค่ป้องกัน แต่ยังไม่ถึงขั้นที่ใครจะทำผิดและได้รับโทษอย่างชัดเจน หากแสดงความเห็นอย่างสุภาพชน ต่อให้เป็นการวิจารณ์รัฐบาลก็ไม่มีความผิดอะไร
เรื่องนี้บอกอะไรกับหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ต่อมุมมองของคนสิงคโปร์ได้มากมาย ทั้งความมีอารยะชนที่สูงกว่า การใช้เหตุผลพูดคุยอย่างเป็นสุภาพชนมากกว่า หรือแม้แต่รู้จักวิเคราะห์ข้อมูลและ “อ่านเนื้อข่าวโดยไม่อ่านแค่พาดหัว”
สุดท้าย หลายคนมักบอกว่าสิงคโปร์แซงหน้าไทยไปไกลมากแล้ว ทั้งที่จริงนับตั้งแต่ก่อนแยกเป็นประเทศก็ไม่เคยตามหลังเราเลยด้วยซ้ำ แต่จะมีสักกี่คนที่สังเกตว่าสิงคโปร์ไม่ได้แซงแค่วัตถุ แต่คุณภาพของพลเมืองด้านความคิด และทัศนคติเขาก็ไปไกลกว่าไทย สมกับเป็นอารยะชนที่พัฒนาแล้วอย่างแท้จริง
แหล่งข้อมูล
https://www.facebook.com/reporterjourney/photos/
a.140887172750283/1785349598304024/