EEC HDC ปั้นการศึกษา 3 ฝ่าย ป้อน S Curve นำร่องหลักสูตร “วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์”

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นอกจากจะเป็นโมเดลการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมสมัยใหม่ หรืออุตสาหกรรม 4.0 แล้ว ยังเป็นต้นแบบการศึกษายุคใหม่ที่น่าจับตามองกับ “โมเดลการศึกษา 3 ฝ่าย” นำร่องการพัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ ซึ่งเป็นหลักสูตรเกี่ยวกับวิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมการควบคุมอัตโนมัติ และศาสตร์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ด้วยการปั้นบุคลากรรุ่นเยาว์ตั้งแต่ระดับอาชีวศึกษากันเลยทีเดียว

ด้วยกลุ่มผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในอีอีซี มีความต้องการบุคลากรที่แตกต่างจากอุตสาหกรรมยุคเก่า เน้นคนที่มีความรู้ ทักษะ เข้าใจในงานที่ทำ มากกว่าใบปริญญา นั่นคือโจทย์ที่สถาบันการศึกษาในพื้นที่อีอีซีต้องปรับระบบการเรียนการสอนให้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มงานฝีมือ อาทิ หุ่นยนต์ เครื่องกลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอไอ ซึ่งหากเด็กที่จบในระดับ ปวช. หรือ ปวส. มีทักษะมากพอก็สามารถเข้าไปทำงานกับภาคอุตสาหกรรมได้เลย

ยกตัวอย่างความต้องการบุคลากรด้านเมคคาทรอนิกส์ ซึ่งอีอีซีวิเคราะห์ไว้ว่ามีความต้องการประมาณ 2 หมื่นกว่าคน ซึ่งสถาบันการศึกษาในอีอีซีผลิตไม่ถึงแน่ๆ อย่าว่าแต่ 3 จังหวัด (ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-ระยอง) เลยทั้งประเทศผลิตรวมกันอาจยังไม่เพียงพอด้วยซ้ำ

อย่างไรก็ตาม การจะสร้างระบบการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของเครือข่ายการศึกษาในพื้นที่และภาคอุตสาหกรรมมาจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กัน ถ่ายทอดองค์ความรู้ของอาจารย์ในระดับมหาวิทยาลัยให้กับอาจารย์ในระดับวิทยาลัย เพื่อนำไปถ่ายทอดต่อให้กับนักศึกษาระดับ ปวช.-ปวส.ได้พัฒนาทักษะฝีมือมากขึ้นกว่าการเรียนในระดับปกติทั่วไป คณาจารย์ในพื้นที่ต้องเข้าใจในความเปลี่ยนแปลงและมองเห็นเป้าหมายเดียวกัน พร้อมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ระหว่างกัน แชร์ทรัพยากรร่วมกัน โดยมีภาคอุตสาหกรรมเข้ามาสนับสนุนอุปกรณ์เครื่องมือสำหรับการเรียนการสอน

นำมาสู่การเซ็นเอ็มโอยูของหน่วยงาน 3 ฝ่ายในพื้นที่อีอีซีเมื่อวันที่ 13-14 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมรอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ป จังหวัดชลบุรี ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม โดย บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SNC สถาบันอุดมศึกษา และสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในการขับเคลื่อนและพัฒนาการศึกษาด้านออโตเมชั่น หุ่นยนต์ และเมคคาทรอนิกส์ ไปสู่ EEC Industry 4.0 เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะ ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานจริง ตอบโจทย์ผู้ประกอบการได้อย่างตรงจุด โดยใช้โรงงาน SNC จังหวัดระยอง ที่มีระบบการผลิตอุตสาหกรรม 4.0 เป็นต้นแบบการเรียนรู้ ภายใต้การสนับสนุนของคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC HDC

ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธาน EEC HDC

ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธาน EEC HDC กล่าวว่า โครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อพัฒนา–ปรับสร้างการศึกษายุคใหม่ โดยมีเป้าหมายยกระดับการเรียนการสอนและพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างทีมคณาจารย์ของ 6 สถาบันที่เป็นพี่เลี้ยงและ 18 วิทยาลัยเทคนิคในอีอีซี เพื่อผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งเป็นความเคลื่อนไหวสำคัญที่ EEC HDC มุ่งผลักดันให้สำเร็จ ด้วยการนำกลุ่มผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมซึ่งถือว่าเป็นภาคีหลักของการพัฒนาบุคลากร เป็นผู้รู้ที่แท้จริงว่าต้องการบุคลากรแบบไหน มาร่วมรับผิดชอบหลักในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ตอบโจทย์ทั้งกระบวนการผลิตและบริการ ซึ่งกำลังถูกโลกยุค 4.0 ไล่ล่าอยู่ทุกขณะ

“ทรัพยากรมนุษย์เป็นต้นทุนที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ทุนมนุษย์จึงต้องมีศักยภาพในการผสมผสานความรู้และทักษะทางกายภาพเข้ากับเทคโนโลยี เพราะงานด้านการผลิตและการบริการยุคใหม่นั้น มีเทคโนโลยีเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญ ซึ่งช่วยลดต้นทุน ลดการบริโภคทรัพยากร ทำให้มีผลิตภาพสูงขึ้น ย่นระยะเวลาที่ใช้ในกระบวนการต่างๆ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างความยั่งยืนให้ประเทศ” ดร.อภิชาต กล่าวและว่า “6 สถาบันที่เป็นพี่เลี้ยงและ 18 วิทยาลัยเทคนิคจะเป็นโครงการนำร่องในการผลิตบุคลากรให้ตรงกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมได้อย่างมีคุณภาพ”

และเมื่อวันที่ 13 ก.พ. 2564 ทีมคณาจารย์วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี ก็ได้เข้ารับการฝึกอบรมหุ่นยนต์อุตสาหกรรม ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก (มทร.ตะวันออก) โดย อาจารย์ทัศพันธุ์ สุวรรณทัต ประธานหลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ มทร.ตะวันออก เล่าถึงแรงบันดาลใจครั้งนี้ว่า EEC HDC ต้องการจะสร้างคนที่มีทักษะพิเศษให้กับอีอีซี จึงนำมหาวิทยาลัยและวิทยาลัยในพื้นที่อีอีซีมาจับคู่เป็นพาร์ทเนอร์กัน ในส่วนของ มทร.ตะวันออกได้โจทย์ให้ดูแล 4 วิทยาลัยเทคนิคคือ เทคนิคชลบุรี เทคนิคสัตหีบ เทคนิคพัทยา และเทคนิคบางแสน โดยทั้ง 4 เทคนิคจะส่งครูมาเทรนกับมทร.ตะวันออก พัฒนาทักษะเพื่อไปถ่ายทอดให้กับนักศึกษาในหลักสูตรเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ ซึ่งเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์เป็นความต้องการของตลาดอย่างมากและเราผลิตคนไม่ทัน จึงต้องจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กันผลิตเด็กทักษะสูงเข้าไปสู่ภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นเป้าหมายที่ EEC HDC กำกับดูแลนโยบายให้มีการส่งต่อกัน เพื่อไม่ให้เกิดช่องว่างหรือความสูญเปล่าทางการศึกษา โดยให้ภาคอุตสาหกรรมเข้ามามีส่วนร่วม เป็นการพัฒนาบุคลากรป้อนสู่อุตสาหกรรมในเขต EEC อย่างตรงความต้องการ

อาจารย์นิทัศน์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์  ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี

การได้สนทนากับ อาจารย์นิทัศน์ วีระโพธิ์ประสิทธิ์  ผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคชลบุรี ทำให้รู้ว่ากว่าโครงการนี้จะก้าวมาถึงวันนี้ไม่ใช่เรื่อง่ายเลย อาจารย์ทุกคนต้องมีจิตสาธารณะ ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ ทำงานกันโดยไม่มีวันหยุด โดยไม่มีผลประโยชน์ใดๆเพิ่มเติม นอกจากได้เห็นความสำเร็จของลูกศิษย์ที่ถูกจองตัวไปทำงาน มีเงินเดือนสูงๆ มีความก้าวหน้าในอาชีพการงาน ได้เห็นระบบการเรียนการสอนก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนอย่างรวดเร็ว

“เอ็มโอยูที่เราเซ็นกันเปรียบเสมือนสัญญาใจว่าเราจะพัฒนาระบบการศึกษาให้ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ เป็นความร่วมมือของวิทยาลัยเทคนิคชลบุรีและมทร.ตะวันออก โดยมีภาคอุตสาหกรรมอย่างบริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ เข้ามาเติมเต็มภาคปฏิบัติ สร้างห้องแล็ปทั้งใน วท.ชลบุรี และ มทร.ตะวันออก เด็กที่เข้ามาเรียนในโครงการมีรายได้ระหว่างเรียน ตามรูปแบบอีอีซีโมเดล ไทป์ A เรียนจบ ปวช.-ปวส. เข้าทำงานกับบริษัทเอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ ซึ่งสนับสนุนให้เรียนต่อจนจบปริญญาโท หรือถ้าใครอยากไปทำงานกับบริษัทอื่นก็ไม่มีข้อห้าม แต่ถ้ายังไม่อยากทำงาน อยากเรียนต่อให้จบรวดเดียวเลย ก็สมัครเข้าศึกษาต่อกับ มทร.ตะวันออกซึ่งเป็นเครือข่ายกัน รู้จักพื้นฐานของนักศึกษาแต่ละคนอยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและสัมฤทธิ์ผลมากยิ่งขึ้น” อาจารย์นิทัศน์ กล่าว

อาจารย์นิทัศน์ยังกล่าวอีกว่า  จุดเด่นของการศึกษารูปแบบนี้คือการสร้างประสบการณ์แท้จริงให้กับเด็ก สถาบันการศึกษาเปรียบเสมือนสนามไดร์ฟกอล์ฟ ภาคอุตสาหกรรมเหมือนสนามกอล์ฟ เมื่อไดร้ฟกอล์ฟเป็นก็เข้าไปตีกอล์ฟในสนามได้ง่ายขึ้น พัฒนาฝีมือได้เร็วขึ้น เพราะมีพื้นฐานที่ดี จึงอยากเห็นโมเดลนี้เป็นต้นแบบให้สถาบันการศึกษาในพื้นที่อื่นๆ นอกอีอีซีนำไปประยุกต์เพื่อสร้างบุคลากรคุณภาพให้กับประเทศ ซึ่งวันนี้ก็มีหลายพื้นที่นำแนวทางของ  EEC HDC ไปดำเนินการบ้างแล้ว

ล่าสุด เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร. อีสาน ขอนแก่น ได้เชิญประชุมออนไลน์ หารือการจัดทำหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของ EEC เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานได้จริง โดยทั้งนี้จะได้มีการประชุมร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 18 ก.พ. เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตร วศ.บ.เมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ต่อไป

เป็น “โมเดล” ที่ต้องบอกว่าตอบโจทย์อุตสาหกรรมอย่างแท้จริงๆ

แหล่งข้อมูล
https://www.salika.co/2021/02/14/mechatronics-and-robotic-eec-hdc-education-model-education-to-the-s-curve/