รู้จักประเทศเอสโตเนียให้มากขึ้นผ่าน Hackathon แมตซ์พิเศษ คิดค้นนวัตกรรมสุดเจ๋งสู้โรคระบาด

Share

Loading

เอ่ยชื่อประเทศเอสโตเนีย (Estonia) หรือชื่อทางการ คือ สาธารณรัฐเอสโตเนีย ชาวไทยหลายคนอาจยังไม่รู้จักประเทศเล็กๆ ที่มีขนาดพื้นที่โดยรวมแค่ประมาณ 45,227 ตารางกิโลเมตร นี้มากนัก ทั้งที่ เอสโตเนีย ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของยุโรป และเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศบอลติก หรือรัฐบอลติก (Baltic States) ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลบอลติก โดยมีเพื่อนร่วมกลุ่มอีก 2 ประเทศ นั่นคือ ลิทัวเนีย และลัตเวีย

นอกเหนือจากภูมิประเทศที่สวยงาม เป็นจุดหมายปลายทางแปลกใหม่ของนักเดินทางที่อยากสัมผัสกับอีกหนึ่ง “เพชรเม็ดงาม” ของยุโรปแล้ว เชื่อว่าน้อยคนจะรู้ว่า ประเทศเอสโตเนีย มีอีกโปรไฟล์อันโดดเด่น นั่นคือ การเป็นหนึ่งในประเทศที่มีสังคมดิจิทัลล้ำสมัยที่สุดในโลก

โดย เอสโตเนีย เติบโตจากการเป็นประเทศภายใต้การยึดครองของสหภาพโซเวียต จวบจนเมื่อสหภาพโซเวียตล่มสลาย ก็ประกาศเอกราชและพัฒนามาเป็นประเทศพัฒนาแล้วภายในเวลาเพียง 20 ปี ด้วยยุทธศาสตร์การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และอินเทอร์เน็ต มาพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในประเทศ และเปลี่ยนประเทศให้ทันสมัยจากหน้ามือเป็นหลังมือ

ดังนั้น วิธีที่ง่ายที่สุด ที่จะทำความรู้จักประเทศนี้ในเบื้องต้น นั่นคือ การเรียนรู้จากแนวนโยบายการพัฒนาประเทศควบคู่ไปกับ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขับเคลื่อนให้เกิดความก้าวหน้าในประเทศทุกด้านนั่นเอง

โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดวิกฤตโรคระบาดครั้งใหญ่นี้ ประเทศเอสโตเนีย ก็ได้นำแนวคิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้รับมือกับการแพร่กระจายของเชื้อโควิด-19 อย่างสร้างสรรค์

อยากทำความรู้จักกับ ประเทศเอสโตเนีย ต้องศึกษาผ่านประวัติศาสตร์การสร้างชาติ

จากบทความเรื่อง “เอสโตเนีย : สร้างชาติใหม่ ไร้พรมแดน” โดย ชาลินี วงศ์อ่อนดี (Resource : Creative Thailand) ได้บอกเล่าให้ฟังถึง ประวัติศาสตร์การสร้างชาติของเอสโตเนีย ด้วยยุทธศาสตร์ “ล้างกระดานแห่งอดีต” และเปลี่ยนประเทศให้เป็นสังคมดิจิทัลได้ภายในเวลาเพียง 2 ทศวรรษ โดยอ้างอิงคำพูดของ ริโฮ แตร์ราส (Riho Terras) ผู้บังคับการกองกำลังติดอาวุธของเอสโตเนีย

Riho Terras

โดย แตร์ราส เล่าถึงช่วงเวลาที่เอสโตเนียได้เอกราชคืนมาจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 1991 หลังจากที่อยู่ภายใต้การปกครองของโซเวียตเป็นเวลาเกือบ 50 ปี ว่า “พวกเราไม่มีอะไรเลย” ประชาชนได้รับเงินคนละประมาณ 10 ยูโร เพื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่

ทั้งนี้ บุคคลที่เป็นเหมือน Key man นำพาประเทศเอสโตเนียให้ก้าวไปบนเส้นทางมุ่งหน้าสู่สังคมดิจิทัล คือ โทมัส เฮ็นดริก อิลเวส (Toomas Hendrik Ilves) อดีตประธานาธิบดีของเอสโตเนีย

โดยในปี 1996 ได้ประกาศโครงการ Tiger’s Leap ที่เดินหน้าลงทุนพัฒนาและขยายเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในประเทศสำหรับภาคการศึกษา คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตกลายเป็นส่วนหนึ่งของทุกห้องเรียนในเอสโตเนีย นักเรียนชั้นประถมทุกคนรู้วิธีการเขียนและออกแบบโปรแกรม ในขณะที่เอสโตเนียกำลังสร้างคนผ่านระบบการศึกษา พวกเขายังเตรียมสร้างเมืองให้พร้อมเป็นสังคมดิจิทัลในเวลาเดียวกันไปด้วย

“และในวันนี้ เอสโตเนีย ประกาศให้ ‘อินเทอร์เน็ต’ เป็นสิทธิ์พื้นฐานของมนุษยชน ประชาชนสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชม. ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้ง จ่ายภาษี หรือจดทะเบียนบริษัท อีกทั้งประเทศเล็กๆ นี้ยังเป็นแหล่งรวมโปรแกรมเมอร์ยอดฝีมือ จนได้รับสมญานามว่าเป็น ‘ซิลิคอน แวลลีย์แห่งยุโรป’ พลิกฟื้นเศรษฐกิจเป็นประเทศที่ร่ำรวยภายในช่วงเวลาไม่กี่สิบปี” ผู้เขียนบทความ กล่าวสรุป

เอสโตเนีย กับการเลือกตั้งออนไลน์ (I-VOTING) เป็นประเทศแรกของโลก

อีกหนึ่งโปรไฟล์ที่ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกต่างพากันฉายสปอตไลต์มาที่ เอสโตเนีย นั่นคือ การที่ประเทศนี้ได้ประกาศว่า จะเปิดให้มีการเลือกตั้งออนไลน์ (I-VOTING) เป็นประเทศแรกของโลก เมื่อปี 2019 ที่ผ่านมา

โดยในบทความเรื่อง “เอสโตเนีย กับการเลือกตั้งออนไลน์ (I-VOTING) เป็นประเทศแรกของโลก” ที่เผยแพร่บนเว็บไซต์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA ได้พูดถึงประเทศเอสโตเนียว่า

โดยระบบที่เอสโตเนียใช้ คือ Internet Voting  หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า i-voting ซึ่งมีพัฒนาการเริ่มต้นจากการใช้ RFID Clip และเครื่องอ่านบัตรประชาชนในปี ค.ศ. 2005 และพัฒนาต่อมาเป็นการเลือกตั้งผ่านอินเทอร์เน็ตแบบที่เห็นกัน โดยเปิดให้ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสามารถล็อกอินผ่าน ID-card หรือ Mobile-ID จากทุกมุมโลก จุดเด่นของระบบนี้ คือ ผู้ใช้งานสามารถลงคะแนนเสียงได้ทุกที่ทุกเวลา

และความพิเศษของระบบ i-voting ที่เอสโตเนียประกาศใช้เป็นประเทศแรกของโลก คือ ระบบลงคะแนนเสียงแบบออนไลน์นี้ เปิดโอกาสให้ผู้ใช้สิทธิ์สามารถเปลี่ยนแปลงผลโหวตของตัวเองได้แบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง และการเปลี่ยนแปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสามารถทำได้ในระหว่างที่เปิดให้เลือกตั้งล่วงหน้า

นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถตรวจสอบการส่งผลโหวตกับเจ้าหน้าที่ได้โดยตรงผ่านแอปพลิเคชันแบบพิเศษ เพื่อให้มั่นใจได้ว่า คะแนนเสียงของทุกคนจะถูกรวบรวมเข้าระบบอย่างแม่นยำและโปร่งใสด้วย

สู้วิกฤตโรคระบาด การจัดแข่งขัน Hackathon จนได้ 5 นวัตกรรม รับมือโควิดอย่างได้ผล

นวัตกรรมและเทคโนโลยี ไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือในการพัฒนาชาติเท่านั้น หากแต่เมื่อเกิดวิกฤตโรคระบาดระดับโลก เอสโตเนีย ก็เลือกที่จะจัดการแข่งขัน Hackathon เพื่อระดมสมองทั้งคนในชาติและเปิดกว้างให้คนทั่วโลกมาร่วมคิดค้นนวัตกรรมช่วยโลกให้พ้นภัยจากโรคระบาดครั้งนี้ไปด้วยกัน

โดยเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทางการเอสโตเนียได้ตัดสินใจจัดการแข่งขัน Hackathon แมตซ์พิเศษขึ้น เป็นเวลา 3วัน เพื่อเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมรับมือวิกฤตโควิด-19 อย่างได้ผล ซึ่งในการแข่งขันนี้มีเหล่าโปรแกรมเมอร์จากทั่วโลกกว่า 1,000 ชีวิต มานำเสนอไอเดียสุดเจ๋งเพื่อต่อกรกับวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้ในหลายด้าน

One Estonian startup that’s been making the rounds at the recent hackathons with great success has been Zelos. https://e-estonia.com/

การแข่งขันนี้ตัดสินใจจัดขึ้นแบบทันทีทันใด เพียงแค่ 1 ชั่วโมง หลังจากที่ทางการเอสโตเนียประกาศปิดประเทศเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 แม้กระนั้น ในช่วงเวลาเปิดรับสมัครอันสั้น ก็มีผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขัน Hackathon แมตซ์นี้จาก 20 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมาจาก 14 Timezones

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการตัดสินให้เป็นผู้ชนะในการแข่งขัน คือ

  • ทีมผู้เข้าแข่งขันจะต้องพรีเซนต์โปรเจ็กต์ของตนว่า มีอิทธิพลในการรับมือและต่อสู้กับวิกฤตโควิด-19 อย่างไร
  • โปรเจ็กต์นั้นจะต้องสามารถทดสอบให้เห็นผลได้ภายใน 48 ชั่วโมง
  • โปรเจ็กต์นั้นจะต้องสามารถนำไปปรับใช้เพื่อสร้างประโยชน์ในการป้องกันและดูแลผู้คนภายหลังจากวิกฤตโควิด-19 ผ่านพ้นไปด้วย

โดยทีมที่เข้าตาคณะกรรมการ 5 ทีม จะได้รับการคัดเลือกให้ได้รับเงินรางวัลทั้งหมด  5,700 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือราว 178,182 บาท) เพื่อเป็นทุน หรือ Funding ให้ทีมผู้คิดค้นนำไปพัฒนาไอเดียนั้นต่อ จนสามารถผลิตและนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ต่อไป

The virus-proof digital state

ตัวอย่างของนวัตกรรมที่ได้รับคัดเลือกให้ได้รับเงินรางวัล

หนึ่ง – แอปพลิเคชัน ที่เป็นสื่อกลางให้ผู้ที่ต้องอาศัยอยู่ในสังคมอย่างโดดเดี่ยว หรือผู้เจ็บป่วย สามารถติดต่อกับอาสาสมัครที่ดูแลคนกลุ่มนี้ ตลอดช่วงเวลาที่เกิดวิกฤตการแพร่เชื้อโควิด-19 และเมื่อวิกฤตนี้สิ้นสุดลง ก็ยังสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องเพื่อดูแลกลุ่มผู้เปราะบางหรือด้อยโอกาสในสังคมต่อไป

สอง – ระบบดาต้าเบส หรือระบบเก็บข้อมูลของอาสาสมัครทางการแพทย์ ที่พร้อมให้คำแนะนำหรือความช่วยเหลือในช่วงวิกฤตโควิด-19 นี้

สาม – แอปพลิเคชันที่ช่วยสอดส่องสุขภาพคนในสังคม ทั้งช่วยบอกด้วยว่า ในร่างกายเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ น่าเป็นห่วงหรือไม่ และจะส่งสัญญาณเตือนว่า สถานที่ใดมีความเสี่ยงที่จะเป็นจุดแพร่กระจายของเชื้อไวรัส หรือ Virus Hotspots ด้วย

เคร์สติ คัลยูไลด์ (Kersti Kaljulaid) ประธานาธิบดีหญิงที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐเอสโตเนีย ได้กล่าวสุนทรพจน์เปิดงาน Hackathon ครั้งนี้ไว้ว่า

ที่มา :

บทความเรื่อง “เอสโตเนีย : สร้างชาติใหม่ ไร้พรมแดน” โดย ชาลินี วงศ์อ่อนดี (Resource : Creative Thailand)

บทความเรื่อง “เอสโตเนีย กับการเลือกตั้งออนไลน์ (I-VOTING) เป็นประเทศแรกของโลก” เผยแพร่ในเว็บไซต์ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA

“This country came up with 5 novel ideas to tackle the pandemic” Article from Douglas Broom : World Economic Forum (27 Jul 2020)

ขอขอบคุณแหล่งที่มา :

https://www.salika.co/2020/08/01/estonia-innovative-nation-fight-pandemic/