The Future Of Flight เทคโนโลยีไร้คนขับ “แอร์บัส”

Share

Loading

หลังจากทำการทดสอบโปรแกรมมากว่า 2 ปี ในที่สุด “แอร์บัส” ก็ได้ดำเนินการทดสอบระบบควบคุมอากาศยานในช่วงเวลาวิ่งบนพื้น ขึ้นบิน และลงจอดแบบอัตโนมัติ (Autonomous Taxi, Take-Off and Landing หรือ ATTOL) ได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อย

ทั้งนี้เป็นครั้งแรกของอุตสาหกรรมการบิน ที่นำเทคโนโลยีวิเคราะห์ภาพ ที่แสดงผลบนหน้าจอเครื่องบิน (Image recognition technology) ในการนำเครื่องบินพาณิชย์วิ่งบนพื้น (Taxi) ขึ้นบิน (Take off) และลงจอด (Landing) โดยอัตโนมัติ ผ่านการทดลองบิน ด้วยระบบวิสัยทัศน์แบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบ

แอร์บัสได้ทำการบินทดสอบระบบไปทั้งสิ้นกว่า 500 เที่ยวบิน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลวิดีโอดิบในระหว่างทำการบินทดสอบไปราว 450 เที่ยวบิน ข้อมูลทั้งหมดที่ได้จะถูกนำไปใช้เพื่อสนับสนุนและปรับปรุงอัลกอริธึมของระบบ

ในขณะที่การบินทดสอบทั้ง 6 เที่ยวบิน ซึ่งในแต่ละรอบบินจะประกอบด้วย การนำเครื่องบินบินขึ้นและลงจอดเป็นจำนวน 5 รอบต่อการบินทดสอบหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อทดสอบความสามารถในการบินด้วยระบบอัตโนมัติ

แอร์บัสได้ริเริ่มโครงการ ATTOL ขึ้นมาเพื่อค้นหาวิธีที่จะทำให้เทคโนโลยีไร้คนขับ รวมถึงการใช้อัลกอริทึมเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) และเครื่องมือแบบอัตโนมัติสำหรับการระบุประเภทของข้อมูล การประมวลผล และการสร้างแบบจำลองที่สามารถช่วยลดการปฏิบัติการทางเครื่องบินของนักบินให้น้อยลง และไปให้ความสำคัญกับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์และการจัดการภารกิจให้มากขึ้น

ขณะนี้แอร์บัสสามารถวิเคราะห์ศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติการของเครื่องบินในอนาคตได้ ในขณะเดียวกันก็ทำการปรับปรุงด้านความปลอดภัยของเครื่องบินเพื่อมั่นใจได้ว่า ในปัจจุบันความปลอดภัยได้รับการดูแลในอยู่ในระดับที่ไม่มีใครเทียบได้

แอร์บัสจะยังคงดำเนินการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติ พร้อมกับนวัตกรรมอื่นในด้านต่างๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ ระบบขับเคลื่อนทางเลือก และการเชื่อมต่อ ทั้งนี้ แอร์บัสเปิดโอกาสในการสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่จะสามารถเปลี่ยนวิธีการพัฒนา การผลิต การบิน การขับเคลื่อน และการบริการของเครื่องบิน เพื่อเป็นการต่อยอดโดยใช้ประโยชน์จากโอกาสเหล่านี้

การพัฒนาและการทดลองความสามารถของ ATTOL ที่ดำเนินไปอย่างรวดเร็วนั้นเกิดขึ้นได้เพราะการทำงานร่วมกันแบบข้ามแผนก ข้ามสายงาน ของทีมงานทั่วโลกของแอร์บัส ทั้งทีมวิศวกรรมและเทคโนโลยี  ทีมแอร์บัสดีเฟนซ์แอนด์สเปซ ทีม Acubed (ของโครงการ Wayfinder) ทีมแอร์บัสประเทศจีน และทีม ONERA ของ Airbus UpNext

งานนี้เมื่อเทคโนโลยีถูกพัฒนาก้าวไปอีกขึ้น แม้จะเป็นเพียงการทดสอบโปรแกรม แต่อีกนัยยะหนึ่งก็เป็นที่น่ากังวลสำหรับอาชีพนักบินที่จะยิ่งถูกดิสรัปเพิ่มขึ้นในอนาคต  เพิ่มเติมจากผลกระทบในวันนี้ที่วิชาชีพนี้ต้องเผชิญกับผลกระทบโควิด-19

ขอขอบคุณแหล่งที่มา :

https://www.thansettakij.com/content/tech/441413