ธรรมศาสตร์เผยวิสัยทัศน์ใช้ระบบ “Smart Learning” with HPE SimpliVity สร้างมหาวิทยาลัยยุค Mobility & Touchless Society

Share

Loading

ดร. วรุธ ปานนักฆ้อง อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบโลจิสติกส์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้ออกมาเผยถึงวิสัยทัศน์ของภาควิชาฯ ในการทดลองนำระบบ “Smart Learning” with HPE SimpliVity เพื่อใช้เป็นช่องทางในการสอบสำหรับนักศึกษาปริญญาโท คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบโลจิสติกส์ และรองรับการต่อยอดสู่ระบบ University App Store ที่ให้นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรของมหาวิทยาลัยสามารถเข้าใช้งานแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่ใช้ในการเรียน การสอน และการทำงาน รวมถึงสามารถทำข้อสอบได้จากที่บ้าน มุ่งสร้างระบบที่ตอบโจทย์ Touchless Society ให้ได้ในบทบาทของมหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีกลายเป็นหัวใจในการแก้ไขปัญหาโจทย์ใหญ่อย่าง COVID-19 ที่เข้ามาอย่างรวดเร็วจนรับมือไม่ทัน การนำเทคโนโลยีมาแก้ปัญหาการเรียนการสอน และการสอบออนไลน์จึงกลายเป็นประเด็นสำคัญขึ้นมาทันที

ด้วยการที่เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนโลกในยุคปัจจุบัน ในทุกอุตสาหกรรม  สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงต้องปรับตัวรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ทางการศึกษามากขึ้น  ทำให้อาจารย์ นักศึกษา และบุคลากรของมหาวิทยาลัยสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเหล่านี้มากที่สุด และสามารถรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดที่ไม่คาดฝันในอนาคต กลายเป็นเตรียมความพร้อมสู่ Digital Learning และ Touchless Society ได้เป็นอย่างดี

สอบบน Virtual Desktop  ได้จากที่บ้าน

ด้วยสถานการณ์​ COVID-19 ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ทดลองใช้ระบบ “Smart Learning” with HPE SimpliVity ให้นักศึกษา ปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบโลจิสติกส์ ได้ทดลองนำร่องสอบจริง โดยนำเทคโนโลยี Virtual App, Virtual Desktop หรือที่เรียกว่า แอพพลิเคชั่นและเดสก์ท็อปเสมือน มาให้นักศึกษาเข้าใช้สอบจากที่บ้าน โดยให้ล็อกอินด้วยรหัสนักศึกษาเข้ามาใช้งานเปิดไฟล์ข้อสอบ  ใช้แอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับการสอบ อาทิ โปรแกรมเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ (Science Software) และโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ (MS Office) และ ประยุกต์ใช้แอพพลิเคชั่น Web Conference เพื่อส่งภาพจากกล้องหน้าที่เห็นหน้าของนักศึกษาผู้สอบ เมื่อนักศึกษาสอบเสร็จ หรือหมดเวลาสอบ ให้บันทึกไฟล์ทั้งหมดไว้ที่ไดร์ฟ C ของนักศึกษารายนั้นๆ ที่ถูกกำหนดสิทธิ์ให้อาจารย์และฝ่ายไอทีสามารถนำไฟล์เหล่านั้นมาตรวจให้คะแนนได้

เข้าสอบได้ผ่าน Web Browser

นักศึกษาสามารถใช้ Web Browser ทำการล็อกอินเข้ามาสอบได้โดยรองรับทั้ง Safari, Chrome, Firefox, Internet Explorer, และ Edge จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านได้ ในอนาคตทางมหาวิทยาลัยสามารถฝังระบบดังกล่าวลงบนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยได้

ไร้กังวลเรื่องข้อสอบหลุด มีทั้งลายน้ำและป้องกัน Screen Capture

ในระหว่างสอบ ที่หน้าจอจะมีการแสดงลายน้ำ (Session Water Mark) ที่ระบุข้อมูลนักศึกษาขึ้นบนจอ อาทิ ชื่อ รหัสนักศึกษา ทำให้เกิดการป้องปรามการนำกล้องถ่ายภาพขึ้นมาถ่ายภาพหน้าจอ ป้องกันการหลุดลอดของข้อสอบ พร้อมทั้งประกาศมาตรการลงโทษเข้มข้นกรณีเกิดการหลุดลอดของข้อสอบ รวมถึงมีระบบป้องกันการบันทึกหน้าจอ (Screen Capture Protection) จากโปรแกรมบน Windows เอง หรือซอฟท์แวร์อื่นๆ สำหรับบันทึกภาพหน้าจอ ทำให้การหลุดลอดของข้อสอบทำได้ยาก

ตรวจสอบหน้าจอนักศึกษาระหว่างการสอบได้แบบเรียลไทม์

โดยในระหว่างสอบ ทางฝั่งมหาวิทยาลัยจะมีแอพพลิเคชั่นแยกต่างหากสำหรับบันทึกหน้าจอ (Session Recording) ของนักศึกษาผู้สอบทุกคน ทำให้เห็นภาพหน้าจอนักศึกษาแบบเรียลไทม์ สามารถตรวจสอบพฤติกรรมระหว่างการสอบของนักศึกษาได้  และสามารถเรียกดูไฟล์วิดิโอย้อนหลังได้ กรณีอาจารย์สงสัย หรือต้องการตรวจสอบความผิดปกติระหว่างการสอบ สามารถทำได้จากการค้นหาจาก Username และวันเวลาสอบได้

เผยอนาคตต่อยอดสู่ University App Store ศูนย์กลางแอพพลิเคชั่นทั้งหมดของมหาวิทยาลัย สามารถเข้าใช้งานได้แบบ Anywhere, Anytime, Any Devices

ในอนาคตอยากให้นักศึกษาทุกคนมีบัญชีเข้าใช้งานแอพพลิเคชั่นที่เกี่ยวข้องกับการเรียนในภาควิชาตนเองในปีการศึกษานั้นๆ และเดสก์ท็อปติดตัวนักศึกษาไปตลอดทุกช่วงปีการศึกษา โดยสามารถล็อกอินเข้าใช้งานจากอุปกรณ์อะไรก็ได้ อาทิ โน๊ตบุ๊ก, คอมพิวเตอร์ PC ที่ Spec ไม่สูง แท็บเล็ตหรือสมาร์ตโฟนทั้ง Android และ iOS โดยเข้าใช้งานผ่าน Web Browser หรือลง Agent ไว้ที่เครื่องได้ทั้ง iOS, Android, Windows, Mac ทำให้นักศึกษาสามารถเช้าใช้งานเดสก์ท็อปและแอปพลิเคชันของมหาวิทยาลัยได้จากที่บ้าน นอกบ้าน หรือบริเวณรอบรั้วมหาวิทยาลัยได้อย่างอิสระ รวมถึงอาจารย์​และบุคลากรของมหาวิทยาลัยก็สามารถใช้งานเพื่อทำงานได้จากทุกที่ ทุกเวลา และทุกอุปกรณ์เช่นกัน ล็อกอินและเข้าใช้งานได้เลย ไม่ถูกจำกัดด้วยสถานที่และอุปกรณ์อีกต่อไป

สามารถเปลี่ยน PC ในห้องคอมพิวเตอร์เป็น Thin Client ได้ในอนาคต

เมื่อนักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ในมหาวิทยาลัยมีบัญชีเพื่อเข้าใช้งาน Virtual App, Virtual Desktop ผ่าน University App Store นั่นหมายถึงเครื่อง PC ที่มี Windows ในตัวจะไม่จำเป็นอีกต่อไป  จึงสามารถเปลี่ยนเป็น Thin Client ทดแทนได้ และเมื่อนักศึกษาเข้ามาใช้บริการห้องคอมพิวเตอร์ก็ให้ล็อกอินด้วยบัญชีของตนเองผ่านเครื่อง Thin Client ก็จะได้เดสก์ท็อปและชุดแอปพลิเคชันของตนเองเข้ามาใช้งานทันที ทำนักศึกษาให้เกิดความสะดวกอย่างแท้จริง เพราะทั้งเดสก์ท็อป แอปพลิเคชัน และข้อมูลสามารถ Roaming ตามไปได้ทุกที่ ตอบโจทย์ยุค Digital Learning และ Touchless Society ได้อย่างแท้จริงฃ

ขอขอบคุณแหล่งที่มา :

https://www.techtalkthai.com/siit-builds-mobility-and-touchless-society-with-hpe-smart-learning/