ทางรอดโรงงานอุตสาหกรรม ปรับตัวประยุกต์ใช้ AI Vision ตรวจข้อบกพร่องการผลิต

Share

Loading

นางสาวปฐมา จันทรักษ์ รองประธานด้านการขยายธุรกิจในกลุ่มประเทศอินโดจีน และกรรมการผู้จัดการใหญ่ ไอบีเอ็ม ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยว่าแม้ว่าปัจจุบันจะมีการนำระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยี IoT มาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับกระบวนการผลิต แต่กระบวนการตรวจสอบข้อบกพร่อง (Defect) ซึ่งเป็นขั้นตอนการตรวจคุณภาพผลิตภัณฑ์ ยังมักต้องอาศัยความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่เป็นหลัก ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เกิดความล่าช้า มีค่าใช้จ่ายสูง เป็นอันตรายแก่เจ้าหน้าที่ อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดปัญหาคอขวด และทำให้เกิดการหยุดชะงักได้หากผู้เชี่ยวชาญไม่สามารถปฏิบัติงานได้

ที่ผ่านมาได้เริ่มมีการนำความสามารถของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ในการวิเคราะห์ภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวมาใช้ เพื่อช่วยผู้ผลิตตรวจหาจุดบกพร่องของชิ้นส่วนต่างๆ พร้อมแจ้งเตือนแบบเรียลไทม์หากพบข้อบกพร่อง

หัวใจสำคัญของเทคโนโลยีนี้คือ AI Vision ควบคู่ไปกับการเทรนระบบด้วย Machine Learning โดยนำภาพที่มีความละเอียดสูงจากฝ่ายผลิต มาเปรียบเทียบกับคลังภาพที่แสดงจุดบกพร่องของชิ้นส่วนนั้นๆ โดยเปรียบเทียบชิ้นส่วนที่ดีกับชิ้นส่วนที่ไม่ดี เพื่อนำมาพัฒนาเป็นโมเดลการ Cognitive เพื่อตรวจหาข้อบกพร่องในชิ้นส่วน ส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ร่วมกับเซิร์ฟเวอร์ประมวลผลแบบ Edge ที่เชื่อมต่อกับกล้องในโรงงานผลิต โดยชิ้นส่วนที่มีข้อบกพร่องนั้น อาจมีทั้งกรณีที่ส่วนประกอบบนแผงวงจรขาดหาย สีเกิดฟองอากาศ พื้นผิวมีรอยขีดข่วน ติดฉลากผิด หรือมีการผุกร่อน เป็นต้น

หากภาพที่ถ่ายโดยกล้องความละเอียดสูงในโรงงานผลิตสอดคล้องกับจุดบกพร่องที่บันทึกไว้แล้วในคลังภาพ ระบบก็จะแจ้งเตือนให้ตรวจสอบข้อบกพร่องดังกล่าว แต่เนื่องจากโอกาสที่สองสิ่งจะตรงกัน 100% นั้นค่อนข้างต่ำ หัวหน้าฝ่ายตรวจสอบจึงสามารถกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำที่ยอมรับได้ และเมื่อใดที่ตัวเลขต่ำกว่าเกณฑ์ดังกล่าวระบบก็จะแจ้งเตือนให้ตรวจสอบอย่างละเอียดตัวอย่าง เช่น หากโมเดลการคิดรู้พบว่าภาพที่ตรวจสอบตรงกับภาพจุดบกพร่องทั้งหมด ระดับความมั่นใจก็จะอยู่ที่ 100% แต่หากภาพที่ตรวจสอบไม่ตรงกับภาพจุดบกพร่องทั้งหมด แต่มีความคล้ายคลึงกันมาก ระดับความมั่นใจก็อาจลดลงมาอยู่ที่ 85% เป็นต้น

การมีตัวชี้วัดเช่นนี้ช่วยให้พนักงานสามารถตรวจสอบเฉพาะรายการที่มีระดับความมั่นใจต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญสามารถนำเวลาที่มีไปโฟกัสที่การระบุจุดบกพร่องประเภทใหม่ๆ โดยความสามารถด้าน Cognitive ของเทคโนโลยีนี้จะนำสู่การเรียนรู้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่องของระบบตาม Feedback ที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ Smart Modular ผู้ผลิตส่วนประกอบหน่วยความจำที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ ได้ผสานการเทคโนโลยีนี้เข้ากับหุ่นยนต์เพื่อระบุและแยกส่วนประกอบ Semiconductor ที่บกพร่องออกมาก่อนที่ชิ้นส่วนนั้นจะเข้าสู่ขั้นต่อไปของการประมวลผลผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลกแห่งหนึ่งก็ได้นำ AI สำหรับ Quality Inspection มาใช้จัดทำระบบอัตโนมัติสำหรับตรวจสอบจุดบกพร่องของชิ้นส่วนรถยนต์ด้วยภาพระหว่างกระบวนการผลิต โดยมุ่งตรวจสอบจุดบกพร่อง 5 ประเภท คือ (รอยขีดข่วน, รอยบุบ, Bibiri, Suana และ Dansuki) บนชิ้นส่วน 5 ชนิด ได้แก่ เพลาลูกเบี้ยว A, เพลาลูกเบี้ยว B, เพลาข้อเหวี่ยง, ฝาสูบ และเสื้อสูบไอบีเอ็มเองก็ได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้กับโรงงานผลิตเซิร์ฟเวอร์ Power Systems ที่เมืองกวาดาลาฮาราด้วยเช่นกัน เพื่อยกระดับการตรวจหา Defect ในกระบวนการผลิตให้ดียิ่งขึ้น

เทคโนโลยี AI Quality Inspection ยังถูกนำไปใช้ในอีกหลายอุตสาหกรรม ตั้งแต่น้ำมันและเชื้อเพลิง ไปจนถึงการศึกษาด้านเนื้องอก ดังตัวอย่างของ Abu Dhabi Natural Oil Company ที่มีการนำโมเดล Deep Learning มาเสริมความสามารถให้กับนักธรณีวิทยาที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ดินเพื่อให้สามารถตรวจหาบ่อน้ำมันได้อย่างแม่นยำ หรือ Promare ซึ่งเป็นองค์กรด้านการวิจัยและสำรวจทะเล ก็กำลังใช้โมเดล Deep Learning เรียนรู้จากประวัติศาสตร์ 400 ปี เพื่อให้เรือ Mayflower สามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยตัวเอง นางสาวปฐมา กล่าวต่อไปว่าวันนี้ยังได้มีการนำระบบคลาวด์เข้ามาใช้ เพื่อให้อุตสาหกรรมสามารถจัดการกับกระบวนการตรวจสอบได้จากส่วนกลางโดยผ่าน Dashboard ซึ่งมีตัวชี้วัดสำหรับการรายงานที่หลากหลาย โดยสามารถจัดทำรายงานแบบเรียลไทม์ หรือตามรอบเวลาที่กำหนดตามความเหมาะสม และสรุปข้อมูลกิจกรรมที่ดำเนินอยู่รวมถึงเจาะลึกลงไปในแต่ละกระบวนการได้

ขอขอบคุณแหล่งที่มา :

https://www.thansettakij.com/content/tech/431882