ไทยพัฒนาต้นแบบห้อง True Negative Pressure มาตรฐานโลก

Share

Loading

ด้วยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, ภาคจุลชีววิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ บริษัท ซัยโจ เด็นกิ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ได้ทำการพัฒนาระบบ True Negative Pressure หรือระบบกรองอากาศสำหรับห้องความดันลบ โดยใช้หลักคู่มือการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารของสถาบันบำราศนราดูร ตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) และหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (CDC)

ทั้งนี้ ได้แบ่งออกเป็น Cohort Ward 4 ห้อง แบ่งเป็นห้องละ 9 เตียง และห้อง ICU 5 ห้องรวม 5 เตียง ทั้งหมดแล้วสามารถรองรับผู้ป่วย COVID-19 ได้ทั้งหมด 41 เตียง พื้นที่รวมกว่า 580 ตารางเมตร

โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ได้ทดสอบประสิทธิภาพการกรองอากาศแผ่น Ultrafine Filter ซึ่งสามารถกรองอนุภาคขนาดเล็ก 0.1 ไมครอน ในขณะที่เชื้อไวรัสโคโรน่ามีขนาดเฉลี่ย 0.125 ไมครอน อีกทั้งได้ใช้การจำลองทางคณิตศาสตร์ (CFD) เพื่อช่วยในการออกแบบ

สรุปลักษณะเฉพาะของระบบ

  1. Supply Unit ใช้ Fresh Air 100% ที่มีทั้งความร้อน ความชื้น ฝุ่น และเชื้อโรคมาทำให้สะอาด ก่อนนำอากาศเข้ามาภายในห้อง
  2. ระบบ Inverter เมื่อเอา Fresh Air 100% มาทำความเย็น และควบคุมความชื้นให้ต่ำกว่า 60% ตลอดเวลา ซึ่งโดยปกติต้องกินไฟมากกว่าเดิมถึง 2-3 เท่าของเครื่องปรับอากาศปกติ ทำให้สามารถลดค่าไฟลงเหลือเพียง 30-35% เท่านั้น
  3. เทคนิค Clean to Dirty Air Flow คือการทำให้อากาศสะอาดไหลผ่านจุดสกปรก โดยอากาศภายนอก (Fresh Air) จะถูกกรองด้วยฟิลเตอร์ที่สามารถกรองอนุภาคขนาดเล็ก 0.1 ไมครอน ลดอุณหภูมิ ปรับความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งถือเป็นอากาศที่สะอาดจะเข้ามาในห้อง ไหลผ่านบุคลากรทางการแพทย์ ไปสู่ผู้ป่วย โดยอากาศจากบริเวณศีรษะผู้ป่วยซึ่งเป็นจุดที่สกปรกที่สุดจะถูกดูดออกไปกรองและนำไปทิ้ง จึงปลอดภัย ลดความเสี่ยงการติดเชื้อจากผู้ป่วยไปสู่บุคลากรทางการแพทย์
  4. ปรับปรุงห้องให้เป็นไปตามมาตรฐาน Negative Pressure ทำให้สามารถควบคุมปัจจัยต่างๆ ทั้งเรื่องอุณหภูมิ ความชื้น อัตราการหมุนเวียนอากาศ (Air Change) และแรงดันห้อง (Room Pressure)
  5. ใช้เทคโนโลยี Internet of Things (IoT) เพื่อให้สามารถควบคุมและบริหารจัดการสภาวะอากาศภายในห้องผู้ป่วย รวมถึงการดูแลรักษาระบบปรับอากาศดังกล่าวผ่านหน้าจอ Centralized Control ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลต่างๆ เช่น อุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณฝุ่น PM2.5 แรงดันห้อง (Room Pressure) อัตราการหมุนเวียนอากาศขาเข้า (Air Change – Fresh Air) อัตราการหมุนเวียนอากาศขาออก (Air Change – Exhaust) และประสิทธิภาพของระบบฟอกอากาศ (% Filter Efficiency) เพื่อบริหารการดูแลรักษาระบบฟอกอากาศให้มีประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน

ขอขอบคุณแหล่งที่มา :

https://www.itnews24hrs.com/2020/04/true-negative-pressur-covid-19/