มาตรฐาน วสท. (EIT Standard) มาตรฐานปฎิบัติโทรทัศน์วงจรปิด (1)

Share

Loading

วสท. มีชื่อเต็มว่า วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปภัมภ์ และชื่อภาษาอังกฤษว่า The Engineering Institute of Thailand Under H.M. The King’s Patronage (EIT)

            วสท. เกิดจากการรวม 2 สมาคมที่เกี่ยวกับวิชาชีพวิศวกรรมเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2486 คือ “สมาคมนายช่างแห่งกรุงสยาม” และ “สมาคมวิศวกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”

            วสท. ดำเนินการก่อตั้งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2493 และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้ารับวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

            วสท. มีสมาชิกวิศวกร จำนวนมากกว่า 20,000 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อการส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ ประสบการณ์ทางด้านมาตรฐานการประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และการรักษาจรรยาบรรณแห่งการปฏิบัติวิชาชีพ เพื่อให้วิศวกรไทยมีคุณภาพมาตรฐานทัดเทียมนานาประเทศในการแข่งขันในเวทีโลก

(ดูประวัติเพิ่มเติมได้จาก https://eit.or.th)

มาตรฐาน วสท.  (EIT Standard)

            มาตรฐาน วสท. มีจุดประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงสำหรับวิศวกรและผู้เกี่ยวข้องในงานวิศวกรรม มาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพเป็นเครื่องมือในการส่งเสริม สนับสนุน เป็นการประกันคุณภาพงานของวิศวกรและผู้เกี่ยวข้องให้น่าเชื่อถือและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อประโยชน์ต่อความปลอดภัยของสาธารณะชน

            วสท. ได้จัดทำมาตรฐานปฏิบัติในรูปแบบเล่มจำหน่ายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 ปัจจุบันสามารถหาซื้อได้ในรูปแบบของ e-book ที่ https://eitstandard.com/

ตัวอย่างมาตรฐานบางส่วนที่จัดทำโดย วสท.

  • มาตรฐานการเขียนแบบอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก
  • มาตรฐานการควบคุมควันไฟ (2019) ปรับปรุงจากฉบับ ปี 2545
  • มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย : ระบบการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคา
  • มาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับประเทศไทย พ.ศ. 2556
  • มาตรฐานการบริหารโครงการไอซีที
  • มาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่า ภาคที่ 1 ข้อกำหนดทั่วไป
  • มาตรฐานการป้องกันอัคคีภัยสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
  • มาตรฐานความปลอดภัยทางไฟฟ้าในสถานที่ทำงาน (พ.ศ. 2557)
  • มาตรฐานดาตาเซนเตอร์สำหรับประเทศไทย
  • มาตรฐานปฏิบัติการบริการแบบคลาวด์
  • มาตรฐานระบบการใช้ก๊าซธรรมชาติอัดเป็นเชื้อเพลิงในยานยนต์
  • มาตรฐานระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉินและโคมไฟฟ้าป้ายทางออกฉุกเฉิน
  • มาตรฐานระบบลิฟต์
  • มาตรฐานออกแบบและติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
  • มาตรฐานปฏิบัติ ไม่ใช่มาตรฐานอุตสาหกรรม
  • มาตรฐานปฏิบัติ ไม่ใช่คุณสมบัติ หรือมาตรฐานของสินค้า
  • มาตรฐานปฏิบัติ เป็นแนวทางสำหรับงานวิศวกรรมให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • มาตรฐานปฏิบัติ ใช้เป็นแหล่งอ้างอิง ในการนำไปใช้อย่างถูกวิธี
  • มาตรฐานปฏิบัติ ส่งเสริมให้การใช้งานเกิดประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์ด้านความปลอดภัย

การอบรมสัมมนามาตรฐาน

            วสท. ได้จัดให้มีการอบรมสัมมนาให้ความรู้ เรื่องมาตรฐานต่างๆ โดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขา เพื่อให้สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดในมาตรฐานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการสัมมนาจะจัดขึ้นที่ห้องประชุม อาคาร วสท. ซอยรามคำแหง 39 (เทพลีลา) ผู้สนใจติดต่อสอบถามได้โดยตรงที่ ฝ่ายวิชาการ

(ต่อ ตอนที่ 2)

อ้างอิง

http://www.eit.or.th

https://eitstandard.com/