ทำความรู้จักอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบ security สำหรับบ้านและอาคาร

Share

Loading

อุปกรณ์ระบบ security สำหรับบ้านและอาคารทุกยี่ห้อที่มีขายอยู่ทั่วไปนั้นมีอยู่มากมายหลายประเภท หลายราคา หลายขนาด แตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน แต่ถึงแม้จะมีอยู่มากมายอย่างไร เรายังคงพอที่จะจำแนกประเภทได้ตามลักษณะของการเชื่อมต่อ โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ แบบมีสายและแบบไร้สาย ดังนี้

1

1.แบบมีสาย เป็นอุปกรณ์ที่ควรจะมีการออกแบบและวางระบบเอาไว้ตั้งแต่เริ่มต้นในการสร้างบ้าน เพื่อที่จะได้เดินสายไว้รองรับสำหรับอุปกรณ์ตรวจจับที่เราต้องการจะติดตั้ง

2

2.แบบไร้สาย สามารถติดตั้งได้ทันที แม้บ้านเป็นบ้านที่สร้างเสร็จเรียบร้อยพร้อมที่จะอยู่อาศัยแล้ว ซึ่งอุปกรณ์ในลักษณะดังกล่าวจะมีความสะดวกในการติดตั้ง โดยอาจจะสามารถติดตั้งได้ด้วยตัวเองโดยไม่ยากเย็นนัก และข้อดีที่สำคัญอีกอย่างก็คือลดการเดินสายไฟที่ยุ่งยากซับซ้อน ทำให้บ้านของเรายังสวยงามดังเดิม


ซึ่งส่วนประกอบของระบบ security  ไม่ว่าจะเป็นแบบมีสายหรือแบบไร้สายนั้น จะประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ ส่วนแผงควบคุมหลัก ,อุปกรณ์ตรวจจับ และอุปกรณ์อำนวยความสะดวก

3

1.แผงควบคุมหลัก เปรียบเสมือนสมองกลของระบบ security  ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลที่มาจากอุปกรณ์ตรวจจับแต่ละตัว รวมถึงการแจ้งเตือนเจ้าของบ้านด้วยวิธีต่างๆ ตามที่ได้เซ็ตเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นการโทร.แจ้ง, ส่ง SMS เตือน, การส่งอีเมล์ เป็นต้น

2.อุปกรณ์ตรวจจับ การเลือกอุปกรณ์ตรวจจับนั้น ควรจะเลือกห้องหรือบริเวณที่เราต้องการจะตรวจจับการบุกรุกก่อน และนำข้อมูลนั้นมาเลือกอุปกรณ์ตรวจจับให้เหมาะสมกับห้องและงบประมาณของเรา เพื่อให้เกิดการคุ้มค่าที่สุด

45

2.1.อุปกรณ์ตรวจจับการเปิด/ปิด ประตู/หน้าต่าง (Door/Windows Magnetic Sensor) ส่วนใหญ่เป็นอุปกรณ์แม่เหล็กและบางส่วนเป็นแบบฝังในบานประตู ซึ่งแบบอุปกรณ์แม่เหล็กจะติดตั้งได้ง่ายกว่ามากโดยไม่ต้องเจาะบานประตู ประกอบด้วยอุปกรณ์สองชิ้น ชิ้นหนึ่งติดตั้งที่วงกบประตู/หน้าต่าง ซึ่งอยู่ประจำที่และอีกชิ้นหนึ่งติดอยู่ที่บานประตูหรือหน้าต่าง เมื่อแม่เหล็กสองชิ้นนี้แยกจากกัน ทำให้แผงควบคุมหลักรู้ได้ทันทีว่ามีการเปิดประตู/หน้าต่าง ซึ่งต้องติดตั้งไว้ที่ประตูทางด้านในบ้านเท่านั้น

2.2อุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหวภายใน (Motion Detector, PIR) ใช้สำหรับตรวจจับความเคลื่อนไหวในห้องที่ต้องการ อุปกรณ์ส่วนใหญ่มีรัศมีทำการมากกว่า 90 องศาในแนวนอน มากกว่า 45 องศาในแนวตั้ง ได้ไกลกว่า 5 เมตร นิยมติดตั้งในส่วนที่เราคาดว่าผู้บุกรุกจะต้องผ่าน เช่น โถงบันได ห้องรับแขกหน้าบ้าน ห้องครัวด้านหลังบ้าน เป็นต้น สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์เลี้ยงไว้ในบ้านก็ไม่ต้องเป็นกังวล เพราะอุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหวที่มีฟังก์ชันพิเศษไม่ตรวจจับสัตว์เลี้ยงที่มีน้ำหนักไม่เกินตามที่อุปกรณ์กำหนดไว้

6 7

2.3.อุปกรณ์ตรวจจับควันไฟและความร้อน (Smoke/Heat Detector) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตรวจจับควันไฟในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้และตรวจจับความร้อนที่เกิดขึ้นในกรณีที่ไม่มีควันไฟให้ตรวจจับ ซึ่งการติดตั้งอุปกรณ์นี้ควรติดตั้งในทุกห้องให้ครอบคลุมบริเวณที่อาจจะก่อให้เกิดเพลิงไหม้ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่แนะนำให้ติดตั้งในครัว เพราะเกิดควันและความร้อนในการทำอาหารอยู่แล้ว แต่หากต้องการติดตั้งในห้องครัว ให้ติดตั้งด้านตรงข้ามหรือด้านข้างของเตาแก๊ส โดยสามารถติดตั้งได้ทั้งบนฝาผนังและเพดาน หากลองติดตั้งแล้วเกิดการเตือนที่ผิดพลาดอยู่บ่อยๆ ควรจะย้ายจุดติดตั้ง ข้อสังเกตของอุปกรณ์ตรวจจับควันไฟและความร้อนคือ อุปกรณ์นี้จะทำงานอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเราจะเปิดหรือปิดกันขโมยไว้ก็ตาม

2.4.อุปกรณ์ตรวจจับการแตกของกระจก (Glass Break Detector) ไม่เพียงแต่ตรวจจับการแตกของกระจกได้เพียงอย่างเดียว ถ้วย จาน แจกัน หรือของแต่งบ้านทุกชนิด ที่เป็นแก้ว กระเบื้อง หรือเซรามิค อุปกรณ์นี้ก็สามารถตรวจจับได้เช่นกัน ซึ่งบ้านสมัยใหม่มีส่วนประกอบที่เป็นกระจกเกือบจะรอบบ้านก็ว่าได้

ซึ่งบางครั้งผู้ไม่หวังดีก็จะใช้วิธีทำกระจกให้แตกเพื่อเข้าสู่ตัวบ้าน หากใช้วิธีนี้ก็อาจจะไม่ถูกตรวจจับจากอุปกรณ์ตรวจจับการเปิด/ปิด ประตู/หน้าต่าง เนื่องจากประตู/หน้าต่าง ไม่ได้ถูกเปิด แต่จะถูกตรวจจับด้วยอุปกรณ์นี้และอุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหวภายในบ้าน

3.อุปกรณ์อำนวยความสะดวก เพื่อให้การใช้ระบบ security นั้นมีความสะดวกและง่ายดายมากขึ้น เช่นการเปิด/ปิด ระบบจากระยะไกลจากแผงควบคุมหลัก, การเตือนผู้บุกรุกที่มีดังมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย มีดังนี้

8 9

3.1.รีโมทคอนโทรล (Keyfob) สามารถใช้เปิดระบบ security หลังออกจากบ้าน, ปิดระบบ security ก่อนเข้าบ้าน และเป็นปุ่มฉุกเฉินได้ เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ใช้ในกรณีที่แผงควบคุมอยู่ไกลจากจุดที่ผู้ใช้อยู่ เช่น อาจจะเข้าบ้านทางหลังบ้าน เป็นต้น

3.2.ปุ่มกดฉุกเฉิน (Panic Button) มีทั้งแบบใส่กับข้อมือ แบบแขวนคอ หรือแบบหนีบกับเข็มขัด เมื่อมีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้น กดปุ่มนี้ จะมีสัญญาณไซเรนดังและมีแจ้งเตือนไปยังอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น (ถ้าได้มีการเซ็ตระบบเอาไว้)

10 11

3.3.ไซเรนแบบต่อภายนอก (External Siren) ส่วนใหญ่แผงควบคุมหลักจะมีการรวมไซเรนภายในไว้อยู่แล้ว ส่วนมากความดังจะมากกว่า 85dB ซึ่งหากท่านต้องการเพิ่มความดังของไซเรนในบริเวณอื่นๆ ของตัวบ้าน หรือต้องการที่จะซ่อนไซเรนไว้ในบริเวณที่เข้าถึงยาก เช่น บนฝ้าเพดาน ก็สามารถกระทำได้เช่นกัน ด้วยการใช้ไซเรนแบบต่อภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่ตัวไซเรนจะสามารถกันน้ำได้ในระดับหนึ่ง มีให้เลือกทั้งแบบต่อสายจากแผงควบคุมหลักและแบบไร้สาย

3.4.อุปกรณ์เชื่อมต่อ Wi Fi หรือเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เป็นอุปกรณ์เสริมที่ใช้ในแผงควบคุม ทำให้สามารถเชื่อมต่อระบบอินเตอร์เน็ตหรือเครือข่ายมือถือ เพื่อทำการส่งอีเมล์ ส่ง SMS หรือควบคุมผ่านระบบอินเตอร์เน็ตได้ เพิ่มความสะดวกในการใช้งานและแจ้งเตือนทันทีที่มีเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับบ้านหรือทรัพย์สินที่คุณรัก

12

ทั้งหมดนี้คือการอธิบายลักษณะของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในระบบ security ในบ้าน ซึ่งคงจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ดีสำหรับการทำให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถที่จะเลือกซื้ออุปกรณ์ระบบ security ได้อย่างเหมาะสมกับบ้านและลักษณะการใช้งานที่ตนเองต้องการ

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
www.thaihomealarm.com

www.cctvbangkok.com