พร้อมออกปฏิบัติการ! แชทบอท “ใส่ใจ” (Psyjai) นวัตกรรมเยียวยาสุขภาพจิตคนไทย

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ไม่ใช่แค่สุขภาพกายเท่านั้น ที่คนยุคนี้ต้องดูแล เพื่อให้ตนเองและคนรอบข้างปลอดภัยจากวิกฤตโรคระบาด เพราะในช่วงเวลาที่หันไปทางไหนก็ดูจะมืดหม่น โลกเป็นสีเทาไปเสียหมดแบบนี้ สุขภาพใจ ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนต้องดูแลให้ดี

เพราะในขณะที่โลกกำลังเผชิญหน้ากับสภาวะการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบ วิถีการดำเนินชีวิตในสังคม การทำงาน การเรียน และเศรษฐกิจ อีกทั้งอิทธิพลของกระแสข่าวสารที่ถาโถมหลั่งไหลในยุคโซเชียลมีเดีย มีส่วนทำให้คนไทยมีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคซึมเศร้า ความเครียด ความกังวล หรืออาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ในที่สุด ด้วยเหตุนี้ จึงถึงเวลาแล้วจริงๆ ที่ แชทบอท “ใส่ใจ” (Psyjai) นวัตกรรมเยียวยาสุขภาพจิตคนไทย จะออกปฏิบัติการ

ทำความรู้จัก แชทบอท “ใส่ใจ” (Psyjai) หุ่นยนต์จิตแพทย์ ให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง

นวัตกรรม แชทบอท “ใส่ใจ” (Psyjai) เป็นผลงานของ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ผนึกความร่วมมือกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกันคิดค้น แชทบอทใส่ใจ ที่จะมาทำหน้าที่ช่วยจิตแพทย์ในช่วงเวลานี้ โดยแชทบอทนี้ สามารถพูดคุยกับคนทุกเพศทุกวัย ด้วย AI ที่ช่วยประเมินสภาวะจิตใจและอารมณ์เบื้องต้น บรรเทาความเครียดด้วยหลักจิตวิทยา โดยได้เปิดให้บริการแล้ว ซึ่งทุกคนสามารถเข้าถึงได้ง่ายทุกที่ทุกเวลาด้วยการล็อกอินเข้าไป ตลอด 24 ช.ม.

ดร.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี อาจารย์ประจำ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกียวกับแชทบอทใส่ใจว่า

“ปัญหาโควิด-19 ในปัจจุบัน ก่อให้เกิดความเครียดวิตกกังวลได้หลายๆ ด้าน ตั้งแต่วัยเด็กไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ ซึ่งความเครียดอาจแสดงออกมาเป็นรูปแบบของการนอนไม่หลับ ไม่สามารถหาความสุขจากกิจกรรมในวันธรรมดาๆ ได้ รวมถึงมีอาการท้อแท้ รู้สึกว่าไม่สามารถเอาชนะความยากลำบากของตัวเองได้ รวมถึงความรู้สึกทุกข์ใจและซึมเศร้า รวมถึงการเสียความมั่นใจในตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า เป็นต้น”

“ทีมวิจัย จึงได้พัฒนา นวัตกรรม แชทบอท “ใส่ใจ” (Psyjai) ที่เป็นเสมือนเพื่อนคนหนึ่งที่มีความรู้ทางด้านจิตวิทยา สามารถพูดคุยกับผู้ใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลา และใช้งานง่าย ขึ้น โดยทีมวิจัยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการดูแลคนไทยให้มีสุขภาพจิตที่ดี ผู้ใช้งานสามารถตระหนักรู้ถึงสภาวะอารมณ์ของตนเอง”

“ไม่ว่าจะเป็นความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า และนำไปสู่การจัดการอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม ช่วยลดความยากลำบากของประชาชนในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพจิตในช่วงโควิด-19 ทั้งที่เป็นผลกระทบจากโควิด-19 หรือ ประเด็นปัญหาทั่วไป ช่วยให้คนไทยทุกเพศวัยสามารถดูแลสุขภาพจิตตนเองได้ทันท่วงที ป้องกันปัญหาดังกล่าวไม่ให้พัฒนาความรุนแรงขึ้น”

รีวิวกลไกการทำงานของ แชทบอท “ใส่ใจ” (Psyjai) ตรวจจับอารมณ์เศร้า ด้วย AI อัจฉริยะ

สำหรับกลไกการทำงานของแชทบอทใส่ใจนี้ จะให้บริการผ่านทาง Facebook โดยอาศัยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) วิเคราะห์อารมณ์จากเนื้อหาการพูดคุย  และมีระบบจัดการการสนทนา (Dialogue Management) สำหรับส่งข้อความโต้ตอบให้สอดคล้องกับอารมณ์และประเด็นปัญหาที่ปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์หรือตรวจจับได้

โดยแชทบอท “ใส่ใจ” ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่

1 ประเมินสภาวะอารมณ์ ได้แก่ อารมณ์เศร้า เครียด และวิตกกังวล ที่มีต่อภาวะการระบาดของไวรัสโควิด-19 ข่าวสารโซเชียลมีเดีย หรือจากผลกระทบต่ออาชีพการงาน การศึกษา การปรับตัวทางสังคม ภาระการดูแลสมาชิกในครอบครัว ทั้งนี้เพื่อสร้างภาวะตระหนักรู้ถึงความเสี่ยงของภาวะสุขภาพจิตในระยะเริ่มแรกที่สามารถให้การดูแลได้ง่าย

2 ให้การดูแลประคับประคองอารมณ์ในระดับเบื้องต้น (Emotional Support) โดยอ้างอิงหลักการให้การดูแลจิตใจตามหลักจิตวิทยา โดยผู้ใช้งานสามารถพูดคุยกับแชทบอทได้ทุกที่ ทุกเวลา และมีการบ้านหรือแบบฝึกหัด (Homework) เพื่อกระตุ้นให้นำเนื้อหาที่พูดคุยไปปรับใช้จริง และผู้ใช้งานสามารถติดตามความก้าวหน้าของตนเองได้บนหน้าแสดงข้อมูล (Dashboard)

ส่วนวิธีใช้งาน สามารถเข้าไปใช้งานโดยเสิร์ชหาคำว่า “Psyjai” ในช่องค้นหา ของแอปพลิเคชันเฟซบุ๊ก หรือ www.facebook.com/psyjaibot/

หลังจากเข้ามาที่หน้าเฟซบุ๊กเพจใส่ใจแล้ว ก็สามารถกดปุ่ม “ส่งข้อความ” เพื่อเริ่มพูดคุยได้ทันที นอกจากนี้แชทบอท “ใส่ใจ” (Psyjai) ยังมีระบบให้ข้อมูลและคำแนะนำเกี่ยวกับการขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับผู้ใช้งานที่มีความเสี่ยงที่จะฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตนเอง หรือมีภาวะอารมณ์ที่อยู่ในเกณฑ์เสี่ยง โดยเราให้ความสำคัญกับการเก็บรักษาความลับของผู้ใช้งานตามมาตรฐานสากล ทั้งในด้านคะแนนการประเมินสุขภาพจิต และเนื้อหาที่พูดคุย

ประโยชน์ของแชทบอท ในมุมมองจิตแพทย์

รศ.พญ.สุดสบาย จุลกทัพพะ หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวในมุมมองของอาจารย์ภาคจิตเวชและจิตแพทย์ว่า

“ในปัจจุบันปัญหาด้านสุขภาพจิตมีความรุนแรงมากขึ้น พบได้ในคนทุกกลุ่มอายุ ในขณะที่ความสามารถในการเข้าถึงบริการทางสุขภาพจิตที่เป็นมาตรฐานนั้นมีอยู่อย่างจำกัด”

“โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่ทั่วโลกต่างกำลังเจอวิกฤติการระบาดของไวรัสโควิด-19 จากสถิติของกรมสุขภาพจิต รายงานว่า เฉพาะช่วง ม.ค. 2564 เดือนเดียว มีผู้ขอรับบริการโทรปรึกษาผ่านสายด่วนสุขภาพจิต 1323 เกี่ยวกับความเครียดจากโควิด-19 มีจำนวนสูงลิ่วถึง 1.8 แสนคน เปรียบเทียบกับทั้งปี 2563 มีจำนวนการโทรขอคำปรึกษาอยู่ที่ราว 7 แสนคน”

ดังนั้น “ใส่ใจ” แชทบอทบริการทางสุขภาพจิต จึงตอบโจทย์ด้วยข้อดี คือเพิ่มประสิทธิภาพ ความรวดเร็วในการประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้นด้วยตนเองอย่างถูกต้อง และสามารถรองรับผู้ใช้บริการได้เป็นจำนวนมาก สะดวกมากขึ้น ลดการเดินทางและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิดตามมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคมอีกด้วย”

ด้าน พณิดา โยมะบุตร นักจิตวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายเพิ่มเติมว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเจ็บป่วยทางจิตใจ แบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัย คือ

หนึ่ง : ปัจจัยทางด้านกายภาพ เช่น พันธุกรรม เพศ อายุ

สอง : ปัจจัยทางด้านจิตสังคม เช่น พื้นฐานทางจิตใจ อารมณ์ ทักษะการแก้ปัญหา สภาพแวดล้อม เป็นต้น

“ด้วยสถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยาวนาน กระทบการดำเนินชีวิตของคนในหลายด้าน ถือเป็นภาวะวิกฤตที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพจิต”

“ดังนั้น วิธีป้องกันสุขภาพจิตที่ดีที่สุดคือ หมั่นสำรวจภาวะอารมณ์และความคิดของตนเอง เรียนรู้และจัดการตั้งแต่เนิ่นๆ รวมถึงขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อการดูแลที่เหมาะสม แต่ด้วยข้อจำกัดของจำนวนบุคลากรและการเข้าถึง ทำให้มีประชากรไทยจำนวนมากไม่ได้รับการดูแลด้านสุขภาพจิตจนปัญหารุนแรงขึ้นจนถึงระดับที่แก้ไขได้ยาก”

“ทีมวิจัยพัฒนาแชทบอท “ใส่ใจ” (Psyjai) จึงได้บูรณาการองค์ความรู้ทางจิตวิทยาคลินิกและจิตเวช ผสานเข้ากับเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสร้างเครื่องมือเป็นบริการเพื่อสังคมที่เข้าถึงคนในวงกว้างได้ง่ายและลดช่องว่างดังกล่าว ซึ่งนอกจากจะช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของคนไทยแล้ว ยังเป็นการยกระดับการให้บริการสุขภาพจิตในประเทศไทยให้ก้าวไปกับโลกและไลฟ์สไตล์ยุคดิจิทัลอีกด้วย”

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2021/08/14/psyjai-chatbot-mental-healing-fight-covid/