AIS 5G ชูศักยภาพผู้นำเทเลคอม นำพาประเทศฝ่าวิกฤต

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

จากการที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับคลื่นโควิด-19 ระลอก 3 ได้สร้างความแตกตื่นให้กับประชาชนเป็นอย่างมาก แต่ “เอไอเอส” ในฐานะผู้นำด้านเทเลคอม ที่ได้อาสากู้ภัยโรคระบาดนี้มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ระลอกแรก ผ่านโครงการ “AIS 5G สู้ภัย COVID-19” ก็ยืนยันที่จะเดินหน้าต่ออย่างแข็งขันด้วยการ “เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทย” โดยชูศักยภาพความแข็งแกร่งโดยเฉพาะในด้านของเทคโนโลยี 5G ที่โดดเด่นกว่าใคร เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานด้านสาธารณะสุขของบุคลากรทางการแพทย์ให้เป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยให้ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสนามทั้ง 31 แห่งในขณะนี้ สามารถเชื่อมต่อกับครอบครัวและเพื่อนฝูงผ่านการใช้งานฟรีไวไฟของเอไอเอส ขณะเดียวกันก็เชิญชวนให้ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชน ร่วมมือกันอย่างแข็งขัน เพื่อข้ามพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกันให้ได้

นายสมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า นับตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของภาวะการระบาด เอไอเอสมีความมุ่งมั่นอันแรงกล้า ที่จะนำความแข็งแกร่งของการเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลเข้ามาร่วมฟื้นฟูประเทศ และพร้อมเคียงข้างทุกภาคส่วนอย่างใกล้ชิด

“จากการที่เอไอเอสได้รับไลเซนส์ 5G เมื่อกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว และได้มากที่สุด ทั้งยังมีความพร้อมที่จะผลักดันและขับเคลื่อนโครงการต่างๆ ด้วย 5G อีกมากมาย แต่เมื่อปลายมีนาคมกลับเกิดวิกฤต COVID-19ระลอกแรกขึ้น เราจึงปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ อาศัยจุดแข็งและสรรพกำลังที่มีเพื่อช่วยเหลือประเทศชาติและประชาชน ด้วยการเปิดโครงการ AIS 5G สู้ภัย COVID-19เพื่อใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยเหลือสาธารณสุข ทั้ง Robot for Care, AI และTelemedicine”

“จากนั้นเมื่อรัฐบาลเตรียมเปิดประเทศ เราได้นำเทคโนโลยีของเรามาช่วยเสริมในเรื่องของการ Quarantine แทนที่จะกักตัวในโรงแรมซึ่งไม่เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ ก็เลยจัดเป็น “Digital Yacht Quarantine” กักตัวบนเรือยอร์ชท่องเที่ยวที่นำเทคโนโลยีติดตามตัว NB-IoTมาช่วยโดยให้นักท่องเที่ยวสวมสายข้อมืออัจฉริยะ ดังนั้นนอกจากเราจะสนับสนุนวงการแพทย์แแล้ว ยังขยายไปช่วยเหลืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพิ่มเติมด้วย”

“ต่อมาในระลอก 2 เมื่อปลายปี 2563  เราไม่คิดว่าจะเกิด แต่เอไอเอสยังคงเดินหน้าต่อยอดการสู้ภัย COVID-19 โดยเราเป็นผู้ให้บริการสื่อสารรายแรกที่สามารถลงพื้นที่ติดตั้งเครือข่ายสื่อสาร เพื่อสนับสนุนการทำงานของโรงพยาบาลสนามแห่งแรก ณ จังหวัดสมุทรสาคร ได้สำเร็จ”

เบอร์ 1 เอไอเอสกล่าวต่ออีกว่า “สำหรับระลอก 3 เราไม่นึกว่าจะเกิดได้อย่างง่ายดาย เพราะระลอก  2 ถือว่าประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมได้ เพราะนอกจากจะป้องกันการแพทย์และระบบสาธารณสุขไม่ให้แบกรับภาระผู้ป่วยจำนวนมากได้ แต่ยังสามารถขยายไปหนุนอุตสาหกรรมท่องเที่ยวด้วย อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการระบาดระลอกล่าสุด เอไอเอสก็ได้นำเทคโนโลยี 5G มาสู้ภัย COVID-19 อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อและช่วยเหลือคนไทยทุกคน โดยสาเหตุที่ทำให้เอไอเอสสามารถส่งต่อความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที เพราะพนักงานผ่านกระบวนการทรานส์ฟอร์มทักษะ ทั้ง Hard Skill และ Soft Skill จึงรับมือกับโลกยุค COVID-19 ได้อย่างเต็มที่”

เดินหน้าภารกิจ 4 มิติ ต่อยอดความสำเร็จต้าน COVID-19 อย่างต่อเนื่อง

จากประสบการณ์รับมือกับ COVID-19 มาร่วมปีเศษ ทำให้เอไอเอสกลั่นบทเรียนออกมาเป็นคัมภีร์สู้ภัยโรคระบาดนี้ ด้วยปฏิบัติการภารกิจ 4 แกน ผ่านเทคโนโลยีและบริการดิจิทัลต่างๆ เพื่อต่อยอดจากที่ทุ่มเทมาก่อนหน้า และมุ่งสร้างประโยชน์ให้กับสาธารณชนมากที่สุดเท่าที่จะทำได้

1 โรงพยาบาลสนาม (Field Hospital)  สถิติติดเชื้อต่อวัน 1000+ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ถือว่ารุนแรงกว่าครั้งแรกมาก ดังนั้นการเตรียมการภาคสนามเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะโรงพยาบาลต่าง ๆ รองรับไม่เพียงพอแน่นอน เอไอเอสเป็นเอกชนรายแรกๆ ที่นำโครงข่ายไปช่วยเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อ ขณะนี้ครอบคลุมโรงพยาบาลสนาม 31 แห่ง รวมมากกว่า 10,000 เตียง ทั่วประเทศ เพราะถ้ามีเครือข่ายที่ดีก็ทำให้ทีมแพทย์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เช่น เชื่อมต่อกล้องวงจรปิดเพื่อเฝ้าระวังผู้ป่วย การส่งต่อข้อมูลการแพทย์เข้าสู่ระบบคลาวด์ ตลอดจนให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารกับครอบครัวและเพื่อนฝูง พร้อมติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวเพื่อคลายความกังวล และมีกำลังใจในการฟื้นฟูสุขภาพ อีกทั้งการที่มีผู้ป่วยจำนวนมากอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ก็ต้องเพิ่ม capacity ของความเร็วอินเตอร์เน็ตด้วย โดยผู้ป่วยทุกคนจะได้รับuser/password ใช้ฟรี

2 โทรเวชกรรม หรือการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)  ต่อยอดต่อจากระลอกที่ผ่านมา ผสานความสามารถของพาร์ทเนอร์ที่เป็นแพทย์มาช่วยเสริมศักยภาพ โดยให้บริการผ่าน “แอปฯ มีหมอ” (Me-More) ให้บริการในโรงพยาบาลสนามในเครือกรุงเทพมหานคร เพื่อช่วยลดภาระการทำงานของบุคลากรทางแพทย์ในการติดต่อสื่อสารกับผู้ป่วย ช่วยลดความแออัด ลดการสัมผัส และรักษาระยะห่างทางสังคม

3 ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI)  ใช้ 5G อย่างสมบูรณ์แบบในการช่วยตรวจโควิดโดยคาดการณ์ว่าหลังจากนี้ไปเมื่อการแพร่ระบาดขยายวงกว้างมากขึ้น swab testจะมีปัญหา เพราะตรวจไม่ทันและรายงานผลช้า เพราะต้องรอผลอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ระบบสแกน AI ที่เอไอเอสเคยทำที่วชิรพยาบาล และจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ต่อยอดไปยังโรงพยาบาลเครือข่าย คือ โรงพยาบาลน่าน โรงพยาบาลร้อยเอ็ด และ โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ เพื่อสแกนปอดช่วยแพทย์วิเคราะห์โอกาสในการติดเชื้อ COVID-19 นวัตกรรมนี้จะรับบทบาทสำคัญ เพราะมีความน่าเชื่อถือ แม่นยำสูงถึง 97% และทราบผลภายใน 25 วินาทีเท่านั้น  อีกทั้งยังช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ได้รับความปลอดภัย ลดภาระจากการตรวจสารคัดหลั่ง ลดจำนวนชุดตรวจ  PPE  และยังทำให้สามารถกระจายตัวไปดูแลเคสผู้ป่วยได้อย่างทั่วถึงมากขึ้น นับเป็นการสร้างความเท่าเทียมในการได้รับโอกาสในบริการสาธารณสุข ผ่าน 5G ได้อย่างชัดเจน

4 อสม. ทั้งประเทศมีประมาณ1 ล้านคน ขณะนี้มีกว่า 5 แสนคน ที่ใช้แอปฯ “อสม.ออนไลน์” ที่

เอไอเอสพัฒนาและลงทุนมานานกว่า 4 ปี โดยได้พัฒนาฟีเจอร์และฟังก์ชั่นต่างๆ ที่กระทรวงสาธารณสุขต้องการ เพื่อเสริมประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่ของอสม. นอกจากใช้เฝ้าระวัง คัดกรอง และติดตามผู้ป่วยแล้ว ยังมีฟีเจอร์ติดตามดูแลสุขภาพจิตของผู้ป่วยอีกด้วย

“ทั้ง 4 มิตินี้ อาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่ทั้งหมด เพราะหลายมิติ เราดำเนินการมาก่อนหน้าแล้ว แต่สิ่งที่ใหม่คือโรงพยาบาลสนามและการดำเนินการในมิติต่างๆ ที่มีประสิทธิภาพและให้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพึงพอใจมากขึ้น”

หนทางสู่ชัยชนะ ต้อง “เชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อคนไทย”

ด้าน นายวสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส บอกเล่าถึงรายละเอียดของ แอปฯ มีหมอ ว่า

“หนึ่งในภารกิจสำคัญของเอไอเอสคือการนำเครือข่ายไปสนับสนุนการทำงานของโรงพยาบาล โดยเอไอเอสมีความมุ่งมั่นที่จะทำภารกิจนี้ให้สำเร็จ ด้วยการตอบสนองต่อสถานการณ์วิกฤตที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ตอนเกิดระลอก 2 ที่มหาชัย จังหวัดสมุทรสาคร เราทำงานร่วมกับภาครัฐหลายๆ หน่วยงาน เพื่อจัดตั้งโรงพยาบาลสนามแห่งแรกของประเทศให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  ดยหลังจากเราได้รับการร้องขอความช่วยเหลือ จากนั้นก็ได้เริ่มดำเนินการติดตั้งอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงในรถตรวจเคลื่อนที่ทันที”

“เพราะคนที่จะไปตรวจเชื้อต้องใช้บัตรประชาชน ใบต่างด้าว หรือพาสปอร์ตเพื่อยืนยันตัวตน และจำเป็นต้องมีอินเตอร์เน็ต เมื่อเปิดโรงพยาบาลสนาม อุปกรณ์ทางการแพทย์จะต้องเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลต่างๆ ผลการวัดอุณหภูมิ ระดับออกซิเจนในเส้นเลือด ฯลฯ จะต้องถูกส่งไปเก็บไว้ในระบบคลาวด์ อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจึงสำคัญมาก ในขณะที่เราต้องทำงานร่วมกับภาครัฐและโรงพยาบาลสนามแต่ละแห่งอย่างใกล้ชิด แต่เราก็คำนึงถึงความปลอดภัยของพนักงานด้วย ดังนั้น ก่อนที่จะเปิดโรงพยาบาลสนามแต่ละครั้ง จะเผื่อเวลาให้เราทำงานให้เสร็จเรียบร้อย ถึงจะเปิดรับผู้ป่วยคนแรก เพื่อให้ทุกอย่างพร้อมที่จะให้บริการผู้ป่วยได้ทันที และเป็นกันป้องกันความเสี่ยงที่จะติดเชื้อของพนักงานเราด้วย”

“สำหรับแอปฯ มีหมอ ไม่ใช่พาร์ทเนอร์ใหม่ของเรา เพราะเราทำงานร่วมกันมาตั้งแต่ระลอกแรก เริ่มต้นที่โรงพยาบาลราชวิถี ในการสร้างห้อง Telemedicin เพื่อกันผู้ป่วยกับแพทย์ออกจากกัน และใช้แอปฯ นี้ในการสื่อสาร ส่วนที่ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ก็ทำสายด่วนสำหรับผู้ป่วยหรือคนที่เริ่มมีอาการ มีความกังวลใจว่าจะต้องดูแลตัวเองหรือเข้ารับการตรวจหาเชื้ออย่างไร สำหรับระลอก 3 นี้ ก็ได้ทำงานร่วมกันอีกครั้ง ด้วยการทำแพลตฟอร์มเพื่อสนับสนุนโรงพยาบาลสนาม”

ขณะที่ นายกฤตชญา โกมลสิทธิ์เวช ผู้ร่วมก่อตั้ง และหัวหน้าฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท ไดเวอร์เจนท์ ติ้งกิ้ง จำกัด ผู้พัฒนาแอปฯ มีหมอ กล่าวว่า  มีหมอเป็นแอปฯ ที่ออกแบบให้กับแต่ละโรงพยาบาลโดยเฉพาะ เพื่อรักษาผู้ป่วยทางไกล เก็บรักษาข้อมูลผู้ป่วย และเชื่อมต่อกับระบบระบบสารสนเทศแบบอิเล็กทรอนิกส์ของโรงพยาบาล รวมถึงใช้นัดหมายแพทย์ล่วงหน้า ชำระค่ายา ตลอดจนดูประวัติการป่วยย้อนหลัง ที่สำคัญคือช่วยในการรักษาระยะห่างทางสังคม ทำให้ผู้ป่วยและแพทย์ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

“ตัวอย่างฟีเจอร์หลักๆ ที่ใช้กับโรงพยาบาลสนามเอราวัณ 2 บางกอกอารีน่า คือ แพทย์สามารถใช้วิดีโอคอลล์สอบถามอาการผู้ป่วย แจ้งเตือนให้วัดไข้ ความดัน ตามกำหนดเวลาที่แพทย์ระบุ โดยผู้ป่วยสามารถกรอกข้อมูลต่างๆ ในแอปฯ ได้เลย ขณะนี้มีผู้ป่วยที่นี่จำนวนมาก  แต่แพทย์อยู่โรงพยาบาลหนองจอก ห่างออกไป 4 กม. โดยมีพยาบาลประจำที่เอราวัณ 2 ราว 2-3 คน ที่เหลือใช้ Telemedicine ในการให้บริการ”

อุตสาหกรรมโทรคมนาคมจำเป็นต่อผู้บริโภค ส่งผลให้ยังเติบโตกว่าจีดีพี

ซีอีโอ เอไอเอส กล่าวถึงสถานการณ์โดยรวมของธุรกิจว่า “ในยุคที่ Digitalizationเฟื่องฟู อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเติบโตเป็นอย่างมากในแง่ของการใช้งาน 30% ทั้งไวร์เลสและฟิกซ์ไลน์ เนื่องจากทุกคนมีความจำเป็นต้องใช้งานเครือข่าย และถึงแม้จะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น แต่รายได้ของอุตสาหกรรมนี้โดยรวมกลับไม่ได้เติบโต 30% หรือไม่ได้เติบโตในสัดส่วนเดียวกับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น  เพราะขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยเมื่อพิจารณาตามจีดีพี ปกติแล้วอุตสาหกรรมนี้จะเติบโตกว่าจีดีพีของประเทศ 1-3% อย่างปีที่แล้ว จีดีพี -6.1% แต่อุตสาหกรรมฯ ติดลบน้อยกว่าจีดีพีคือ -4% สำหรับปีนี้คาดจีดีพีโต 2-3% ดังนั้นอุตสาหกรรมโทรคมนาคมน่าจะเติบโต 3-4%”

“เอไอเอสยังโชคดี เพราะอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นสำหรับต่อการดำรงชีวิตประจำวันและการทำงานของผู้บริโภค ไม่เหมือนอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรม”

ฝ่าวิกฤต COVID-19 ด้วยโมเดล 3 ประสาน

ซีอีโอเอไอเอสชี้ว่า “แม้ระดับความกลัว ความกังวลของผู้คนจะน้อยกว่าปีที่แล้ว ทั้ง ๆ ที่สถานการณ์เลวร้ายกว่า แต่เอไอเอสยังคงเน้นย้ำว่าการจะเอาชนะวิกฤตนี้ไปได้ ต้องร่วมมือกับทุกภาคส่วน โดยเราเคยเสนอโมเดล 3 ประสานเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว  3 ประสานที่ว่า ประกอบด้วยภาครัฐบาล ภาคเอกชนที่แข็งแกร่ง และประชาชนทุกคน จะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดการต่อสู้กับโรคระบาดอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปให้ได้”

“ถ้ารัฐบาลบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและมีบทลงโทษจริงจัง จะไม่ทำให้เกิดระลอก 4-5 ตามมา เมื่อเราได้เห็นบทเรียน ได้เรียนรู้แล้ว หากเกิดซ้ำอีก ถือเป็นความผิดพลาด การวนกลับมาซ้ำรอยเดิม ถือว่าเป็นการสูญเสียทรัพยากร อย่าคิดว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วเป็นเพราะรากปัญหาไม่ได้ถูกแก้ไข”

“อย่างไรก็ตาม วันนี้จะเป็นหน้าที่ของภาครัฐกับประชาชนอย่างเดียวไมได้ แต่ภาคเอกชนจะต้องเข้ามามีส่วนร่วมด้วย โดยภาครัฐต้องเปิดรับให้เอกชนมาร่วมมือกันต่อสู้วิกฤตนี้ น่ายินดีที่มีหลายองค์กร อย่างน้อย 200 ซีอีโอ พร้อมที่จะสนับสนุนเงินทุนและอื่น ๆ เพื่อให้ผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปด้วยกันให้ได้ และเมื่อรัฐบาลมีแนวโน้มที่จะเปิดรับ ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดี”

“ที่สำคัญภาครัฐจะต้องเตรียมพร้อมในเรื่องวัคซีน เพราะวัคซีนคือคำตอบจริง ๆ การจะเปิดประเทศได้ต้องสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อไม่ให้เกิดระลอก 4-5 ตามมา โดยจะต้องฉีดให้ครบ 70% ของประชากรตามเกณฑ์ของ WHO ขณะเดียวกันรัฐบาลก็ต้องเตรียมการให้พร้อมเรื่องมาตรการเยียวยา ไม่อยากให้เป็นแค่การหว่านแจกเงิน แต่ควรเป็นมาตรการที่ยั่งยืน ด้วยการพิจารณาว่าจะช่วยเหลือกิจการขนาดเล็กอย่างไรให้ฟื้นตัวได้”

“ส่วนภาคเอกชนมีความแข็งแกร่งอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เราอยากเพิ่มเติมมี 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ทุกองค์กรมีจิตใจที่จะช่วยเหลือในการบริจาค แต่อยากให้เกิดการร่วมไม้ร่วมมือกันในการช่วยเหลือประชาชนคนไทย แทนที่จะแข่งขันกัน ใครทำอะไรแล้ว ก็ไม่ต้องแข่งกันเพื่อชิงดีชิงเด่น เพราะยังมีเรื่องอื่น ๆ รอให้ทำอีกมาก เช่น เอไอเอสสนับสนุนโรงพยาบาลสนาม 31 แล้ว ตั้งเป้าไว้ที่ 50 แห่ง อีก 50 แห่ง”

“เราใช้คอนเซ็ปต์ ปลาใหญ่ต้องช่วยปลาเล็ก เพราะจำเป็นมากๆ ที่องค์กรใหญ่ๆ ต้องผ่อนคลายกฎ กติกา ในการแข่งขัน ตอนนี้รายเล็กลำบากมากเหลือเกิน เอไอเอสเองก็พยายามจะนำเสนอแพ็คเกจต่างๆ เพื่อช่วยเหลือองค์กรขนาดเล็ก โดยใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลที่เรามี ออกแบบและนำเสนอแพ็คเกจเพื่ออุ้มชูผู้ประกอบการรายเล็กๆ ให้ยืนหยัดขึ้นมาได้ แต่ในอีกด้านหนึ่งจะนั่งรอความช่วยเหลือเพียงอย่างเดียวไม่พอ ต้องปรับตัวเอง ต้องรู้จักประหยัด  ต้องไปแก้ไข core business จริงๆ ของตัวเอง เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด โลกทุกวันนี้คือ digitalization ก็อยากให้พัฒนาตัวเองในด้านนี้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก”

อุตสาหกรรมโทรคมนาคมจำเป็นต่อผู้บริโภค ส่งผลให้ยังเติบโตกว่าจีดีพี

ซีอีโอ เอไอเอส กล่าวถึงสถานการณ์โดยรวมของธุรกิจว่า “ในยุคที่ Digitalizationเฟื่องฟู อุตสาหกรรมโทรคมนาคมเติบโตเป็นอย่างมากในแง่ของการใช้งาน 30% ทั้งไวร์เลสและฟิกซ์ไลน์ เนื่องจากทุกคนมีความจำเป็นต้องใช้งานเครือข่าย และถึงแม้จะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น แต่รายได้ของอุตสาหกรรมนี้โดยรวมกลับไม่ได้เติบโต 30% หรือไม่ได้เติบโตในสัดส่วนเดียวกับปริมาณการใช้งานที่เพิ่มขึ้น  เพราะขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจของประเทศ และกำลังซื้อของผู้บริโภค โดยเมื่อพิจารณาตามจีดีพี ปกติแล้วอุตสาหกรรมนี้จะเติบโตกว่าจีดีพีของประเทศ 1-3% อย่างปีที่แล้ว จีดีพี -6.1% แต่อุตสาหกรรมฯ ติดลบน้อยกว่าจีดีพีคือ -4% สำหรับปีนี้คาดจีดีพีโต 2-3% ดังนั้นอุตสาหกรรมโทรคมนาคมน่าจะเติบโต 3-4%”

“นับว่าเอไอเอสยังโชคดี เพราะอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีความจำเป็นสำหรับต่อการดำรงชีวิตประจำวันและการทำงานของผู้บริโภค ไม่เหมือนอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง เช่น อุตสาหกรรมท่องเที่ยวและโรงแรม ดังนั้นเราจึงไม่ห่วงดีมานด์ ซัพพลาย แต่ที่ห่วงมากๆ คือ ถ้าควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดไม่ได้จนเกิดวิกฤตรุนแรง ย่อมส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ก็จะส่งผลเสียอย่างมาก เพราะถึงเวลานั้น ต่อให้ประชาชนอยากใช้ ก็ไม่มีเงินจ่าย ซึ่งจะส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมโทรคมนาคมในที่สุด”

สุดท้ายหัวเรือใหญ่เอไอเอสกล่าวย้ำว่า “จากการพูดคุยกับบรรดาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมต่างๆ ถึงเวลาแล้วที่ภาคเอกชนจะต้องจับมือร่วมกันในการก้าวพ้นผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยให้ได้ ด้วยการร่วมมือกับภาครัฐ และประชาชนอย่างจริงจัง โดยเอไอเอสมุ่งมั่นและตั้งใจเป็นอย่างมากในการช่วยเหลือคนไทยทุกคน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในไตรมาส 2 ของปีนี้ วิกฤตจะจบลงเพื่อให้ครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจของประเทศไทยจะมีโอกาสเติบโตและเดินหน้าต่อไปได้”

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2021/04/28/ais-5g-covid19-continuous-fighting-plan/