HIGHLIGHT
- การบรรยายจากนักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยี และนวัตกรรม การแสดงเทคโนโลยี และนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ
- การบรรยายให้ความรู้เพื่อช่วยลดงบประมาณและเพิ่มประสิทธิภาพงานของโครงการทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
- การบรรยายสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะ ทั้งโครงสร้างและการเขียนโครงการเพื่อขอรับการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ
- แสดงเทคโนโลยีที่ช่วยลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพงานโครงการ
PATHUM THANI SMART CITY หรือ ปทุมธานีเมืองอัจฉริยะ
งานประชุมสัมมนาพร้อมการแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
ด้วย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ได้กำหนดจัดงาน PATHUM THANI SMART CITY หรือ ปทุมธานีเมืองอัจฉริยะ โดยมีบริษัท ซิเคียวริตี้ ซิสเต็ม มีเดีย จำกัด เป็นผู้จัดงานซึ่งเป็นงานประชุมสัมมนาพร้อมการแสดงเทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน สร้างการรับรู้ ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะทั้งโครงสร้างและการเขียนโครงการเพื่อขอรับการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ พร้อมทั้งความรู้ด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมของเมืองอัจฉริยะอันนำไปสู่การพัฒนาประเทศในระดับท้องถิ่น
โดยกิจกรรมภายในงานมีการบรรยายจากนักวิชาการ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยี และนวัตกรรม การแสดงเทคโนโลยี และนวัตกรรมเมืองอัจฉริยะ พร้อมการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมงานด้วยกิจกรรม Workshops ระดมความคิดเสนอไอเดีย นำไปสู่การแก้ไขปัญหาทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลาง และขนาดย่อม กลุ่มวิสาหกิจชุมชน คณาจารย์นักวิจัย และนิสิตนักศึกษาจากสถาบันอุดมศึกษา ตลอดจนหน่วยงานที่สนใจ โดยกำหนดการจัดงาน ในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 8.00-16.30 น. ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต ห้องเอเวอร์กรีน จังหวัดปทุมธานี
ประโยชน์ที่ได้รับ
ได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะ เพื่อการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน โดยมุ่งเน้นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเมืองอัจฉริยะ ทั้งโครงสร้างและการเขียนโครงการเพื่อขอรับการส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้จริงในระดับท้องถิ่น พร้อมทั้งขานรับ และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ Smart City ให้เกิดเป็นรูปธรรม และเพื่อช่วยลดงบประมาณ เพิ่มประสิทธิภาพงานของโครงการ
เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเมืองอัจฉริยะที่เข้าร่วมงานแสดงในงานปทุมธานีเมืองอัจฉริยะ
1. Smart Living & Safety
เมืองน่าอยู่มีสุขภาวะที่ดี ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจ
เพิ่มความปลอดภัยของประชาชนด้วยการเฝ้าระวังภัยจากอาชญากรรม
ลดการเข้ารักษาโรงพยาบาลของคนในพื้นที่
2. Smart People
เมืองที่ส่งเสริมการเรียนให้กับประชาชน เช่น เรียนรู้การใช้เทคโนโลยี
เพื่องส่งเสริมด้านอาชีพ การทำงาน (Digital literacy)เพิ่มช่องทางการเรียนรู้ เช่น มีอินเตอร์เน็ตสาธารณะ
ลดการเลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาของคนในพื้นที่ เช่น ประชาชนทุกคนมีโอกาสเข้าถึง
สถาบันหรือหน่วยงานด้านการศึกษา
3. Smart Economy
นำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ในการพัฒนาเพื่อปรับเปลี่ยนธุรกิจ
เพิ่มประสิทธิภาพความคล่องตัวในการทำธุรกิจ ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต
เพิ่มช่องทางการค้าการทำธุรกิจให้กับประชาชน เช่น เกษตรอัจฉริยะท่องเที่ยวอัจฉริยะ
และพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น
4. Smart Energy
เมืองที่มุ่งเน้นบริหารจัดการพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเมือง
ใช้พลังงานทางเลือกอันเป็นพลังงานสะอาด (Renewable Energy)
เช่น เชื้อเพลิงชีวมวล ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน และไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์
5. Smart Environment
เมืองที่มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ติดตามเฝ้าระวัง สิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ
เช่น การจัดการน้ำ การดูแลสภาพอากาศ การเฝ้าระวังภัยพิบัติตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเป็นเมืองสีเขียว มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี เพิ่มพื้นที่ป่าหรือสวนสาธารณะ
6. Smart Governance
เมืองที่มุ่งเน้นพัฒนาระบบบริการเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐสะดวก
มีประสิทธิภาพ รวดเร็วเพิ่มช่องทางการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการเปิดให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลทำให้เกิดความโปร่งใส ตรวจสอบได้
7. Smart Mobility
เป็นเมืองที่มุ่งเน้นเพิ่มความสะดวก ประสิทธิภาพ และความปลอดภัยในการเดินทางและขนส่ง และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การบริหารการจราจร เพิ่มความคล่องตัว รวดเร็วขึ้น
ลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
8. City Data Platform
แพลตฟอร์มข้อมูลเมือง หรือ City Data Platformและการรักษาความปลอดภัย มี 3 องค์ประกอบ
Data Catalog ที่บอกว่า data ของเมืองอยู่ที่ไหน ใครเป็นคนเก็บ ใครเป็นเจ้าของหน้าตาของข้อมูล
Data Exchange เพราะข้อมูลที่ถูกเก็บไว้คนเดียวไม่ก่อเกิดประโยชน์ ควรจะเปิดเผยได้ (ภายใต้ PDPA)
Governance ก็ต้องมีมาตรการในการรักษาความมั่นคงความปลอดภัยของข้อมูล
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมงาน
ผู้บริหารระดับสูง ของท้องถิ่น
ผู้แทนเทศบาล และหน่วยงานท้องถิ่น
ผู้แทนโรงพยาบาล และศูนย์สุขภาพท้องถิ่น
สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมอสังหาริมทรัพย์
ผู้แทนหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
ตํารวจ ทหาร หน่วยงานป้องกันและความปลอดภัย
โรงงาน และนิคมอุตสาหกรรม
โรงแรม และผู้แทนสถานที่ท่องเที่ยว
ศูนย์ส่งเสริมธุรกิจท้องถิ่น
ผู้แทนสถาบันการศึกษา นิสิต นักศึกษา