‘สนทนา’ AI อวตาร์ตอบคำถามอัตโนมัติ หนุนปฏิสัมพันธ์คน-หุ่นยนต์

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

สนทนา (Sontana) แพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ที่มาพร้อมกับฟังก์ชันการโต้ตอบอัตโนมัติโดยใช้ “อวตาร์” เป็นตัวกลางสื่อสาร เพียงแค่ซักถาม สนทนาจะตอบข้อสงสัยดังกล่าวด้วยเสียงอย่างเจนด้วยตัวเลือกทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

งานวิจัยชิ้นนี้พัฒนาขึ้นโดยทีมนักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ที่ต้องการนำโนว์ฮาวเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ มาปฏิวัติวิถีการสื่อสารเนื่องจากปัจจุบันผู้คนมีปฏิสัมพันธ์กับเอไอมากขึ้น และยังตอบโจทย์สังคมที่มีประชากรผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก

คาดการณ์ว่าภายในปี 2025 ผู้คนทุกแห่งในโลกจะมีการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์รับส่งข้อมูลที่ใช้เอไอมากถึง 4,800 ครั้งต่อวันหรือคิดเป็นทุก 18 วินาที ดังนั้น การเกิดขึ้นของแพลตฟอร์มสนทนาถือเป็นหมุดหมายสำคัญที่พร้อมขับเคลื่อนระบบนิเวศเมือง

อวตาร์โต้ตอบฝีมือคนไทย

อัษฎางค์ แตงไทย และชัยอนันต์ ดำรงรัตน์ นักวิจัยเนคเทค ผู้วิจัยและพัฒนา “สนทนา: Sontana” พัฒนาแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์เชิงสนทนาพร้อมอวตาร์ (Conversational Avatar AI) ให้บริการตอบคำถามผ่านการสนทนาโต้ตอบแทนการพิมพ์ สามารถแปลงเสียงพูดภาษาไทย ออกมาเป็นข้อความตัวอักษรแบบไม่จํากัดเนื้อหา

การทำงานของสนทนารองรับข้อมูลเสียงป้อนเข้าแบบต่อเนื่อง (Streaming) กล่าวคือ สามารถโต้ตอบได้คล้ายมนุษย์พูดคุยกันทั่วไป โดยไม่จํากัดความยาวเสียง สามารถทําความเข้าใจคําถาม พร้อมค้นหาคําตอบที่ตรงกับความต้องการตามองค์ความรู้ที่สอนระบบ และแสดงท่าทางประกอบขณะพูดโต้ตอบ

จุดเด่นของแพลตฟอร์ม

1. แปลงเสียงพูดเป็นข้อความอัตโนมัติ มีความถูกต้องในการถอดความอยู่ที่ 80%

2. เข้าใจคําถาม พร้อมค้นหาคําตอบที่ตรงกับความต้องการผ่านระบบ ประมวลผลภาษาอย่างเป็นธรรมชาติ

3. สังเคราะห์เสียงพูดจากข้อความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พร้อมแสดงท่าทางผ่านอวตาร์โมเดลที่รองรับ 52 เบลนด์เชปของ ARKit

4. เวลาในการตอบสนองไม่เกิน 5 วินาที หลังพูดจบ

5. ปรับแต่งเนื้อหาให้เข้ากับลักษณะของงานได้

แพลตฟอร์มสนทนาสามารถนำไปใช้กับระบบปฏิบัติการ Windows, MAC OS และ Android อาทิ บราวเซอร์ chrome เวอร์ชั่น 104.0.5112.81 หรือใหม่กว่า, บราวเซอร์ Firefox เวอร์ชั่น 98.0.1, บราวเซอร์ Microsoft Edge เวอร์ชั่น 104.0.1293.54 เป็นต้น

เอไอกับงานสื่อสาร

อัษฎางค์ อธิบายว่า ระบบดังกล่าวมีรากฐานมากจาก แพลตฟอร์มพาที (Partii) ระบบบริการถอดความเสียงภาษาไทย, อับดุล (Abdul) ระบบบริการโต้ตอบอัตโนมัติ และวาจา (VAJA) ระบบบริการสังเคราะห์ภาพและเสียงภาษาไทยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

สนทนาเป็นการนำความรู้จากระบบเหล่านั้น มาประยุกต์และพัฒนาเพิ่มขีดความสามารถให้เป็นเอไอตอบคำถามแบบเรียลไทม์ เพื่อใช้ในงานด้านสื่อสาร เช่น งานประชาสัมพันธ์ งานให้ข้อมูล ตอบคำถามกับผู้ที่ถามทาง หรือการนำไปใช้กับผู้สูงอายุและผู้พิการ

“เอไอสนทนาจะเข้ามาช่วยงานที่ไม่มีความซับซ้อน เพื่อลดภาระงานให้กับมนุษย์ พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ที่คอยตอบคำถามง่ายๆ จะได้มีเวลาไปทำงานที่ยากและซับซ้อนขึ้นกว่าเดิม”

แพลตฟอร์มสนทนามีกลุ่มเป้าหมายคือ

  • กลุ่มธุรกิจและหน่วยงานที่ต้องการใช้ระบบตอบคําถามอัตโนมัติด้วยภาพและเสียง
  • กลุ่มบริษัทซอฟต์แวร์เฮาส์ที่ต้องการพัฒนาระบบตอบคําถามอัตโนมัติด้วยภาพและเสียง
  • กลุ่มผู้พิการที่ต้องการสิ่งอํานวยความสะดวกช่วยในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงของการรอถ่ายทอดเทคโนโลยี

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้แพลตฟอร์มยังคงต้องพัฒนาและวิจัยเพิ่มเติมกันต่อไป ในอนาคตอาจมีการนำ “ChatGPT แชตบอตตอบคำถามอัจฉริยะ” มาประยุกต์ใช้กับระบบ เพื่อขยายฐานข้อมูลให้สามารถตอบคำถามผู้ใช้งานได้มากขึ้น

ชัยอนันต์ กล่าวว่า ปัญหาของวิจัยไทยคือการวิจัยแล้วจบแค่บนหิ้ง ไม่มีช่องทางต่อยอด ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ภาครัฐจะต้องเข้ามาช่วยผลักดัน สนับสนุนงบประมาณวิจัยเหล่านี้ เพื่อพัฒนาออกสู่ตลาด โดยเวที NAC2023 ถือเป็นเวทีที่สำคัญเพราะเปิดโอกาสให้นักวิจัยกับภาคเอกชนหารือธุรกิจร่วมกัน

ผลักดันนวัตกรรมไทยสู่ตลาดโลก

สนทนา เป็นหนึ่งในผลงานวิจัยถูกจัดแสดงขึ้นในงาน การประชุมวิชาการ ประจำปี ครั้งที่ 18 (NAC2023)ระหว่างวันที่ 28-31 มี.ค.2566 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี  ภายใต้แนวคิด “สวทช. : ขุมพลังหลัก วทน. เร่งการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG สู่ความยั่งยืน”

ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า NAC2023 จะแสดงให้เห็นศักยภาพของนักวิจัยไทยที่พร้อมขับเคลื่อนประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงเปิดโอกาสให้นักลงทุนกับผู้เชี่ยวชาญได้เจอกัน เพื่อต่อยอดธุรกิจร่วมกัน

NAC2023 จะเป็นการเปิดโอกาสให้นักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญมาพูดคุยถึงเรื่องนวัตกรรมใหม่ ๆ ถือเป็นเวทีของการจับคู่ธุรกิจในหัวข้อที่สนใจจะพัฒนาความร่วมมือ ดังนั้น นอกจากได้เติมความรู้แล้วยังได้สัมผัสงานวิจัยของจริง พร้อมกับแลกเปลี่ยนมุมมองกับนักวิจัยเจ้าของผลงานอย่างใกล้ชิด วิจัยไทยต้องออกสู่ห้าง

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1056436