EU Green Deal จับตาภาษีพลาสติกของสหภาพยุโรป

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ในยุคที่ทั่วโลกต่างตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติก ทำให้ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปเริ่มมีการออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บ “ภาษีพลาสติก” เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมถุงพลาสติก

ด้วยวิกฤติสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นทั่วโลก รัฐบาลประเทศต่างๆ ได้พยายามหาวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยเครื่องมือต่างๆ เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ (economic instruments) นับเป็นเครื่องมือหนึ่งที่มีการนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยในมุมของเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม จะมองปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็น “ต้นทุนภายนอก” (externalities) ของการผลิตและการบริโภคในสังคมที่ผู้ผลิตและผู้บริโภคมิได้คิดรวมต้นทุนภายนอกนี้เข้ามาอยู่ในกลไกราคานับเป็น “ความล้มเหลวของตลาด” (market failure) ทำให้รัฐต้องเข้าแทรกแซงตลาดด้วยเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ “ภาษีสิ่งแวดล้อม” ได้ถูกนำมาใช้แพร่หลายในประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉพาะประเทศในทวีปยุโรป เพื่อกระตุ้นให้ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีการผลิตและบริโภคสินค้าและบริการที่สร้างผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมให้น้อยลง

ในยุคที่ทั่วโลกต่างตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติก ทำให้ประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรปเริ่มมีการออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บ “ภาษีพลาสติก” เริ่มตั้งแต่การจัดเก็บภาษีหรือค่าธรรมเนียมถุงพลาสติก ดังจะเห็นได้จากการประกาศใช้ระเบียบเพื่อควบคุมการใช้ด้วยถุงพลาสติกหูหิ้วชนิดบางของสหภาพยุโรป เมื่อปีพ.ศ. 2558 (Directive (EU) 2015/720 amending Directive 94/62/EC as regards reducing the consumption of lightweight plastic carrier bags) ที่ห้ามประเทศสมาชิกแจกถุงพลาสติกหูหิ้วกับผู้บริโภค เพื่อควบคุมปริมาณขยะพลาสติกที่เกิดจากถุงพลาสติก

แต่ขยะพลาสติกมิได้มีเพียงแค่ถุงพลาสติก เมื่อผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้าหันมาใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastics) เพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองความสะดวกสบายของผู้บริโภคทำให้ขยะพลาสติกกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมหาศาลและตกค้างรั่วไหลสู่สิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง จนทั่วโลกเริ่มวิตกกับปัญหา “มลพิษพลาสติก” (plastic pollution) ในระบบนิเวศและความเสี่ยงจากไมโครพลาสติกที่เพิ่มสูงขึ้น สหภาพยุโรปจึงได้เริ่มหันมาใช้มาตรการภาษีพลาสติกมากขึ้นเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติมลพิษพลาสติกโดยเชื่อมโยงกับการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศผ่านนโยบายและมาตรการ European Green Deal

ภายใต้ European Green Deal ในปี 2562  สหภาพยุโรปได้จัดทำแผนปฏิบัติการเศรษฐกิจหมุนเวียนของสหภาพยุโรป (The EU’s Circular Economy Action Plan) ซึ่งมีการระบุที่จะใช้มาตรการภาษีกับพลาสติกและบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ ประจวบกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้สหภาพยุโรปมองว่า การเก็บภาษีพลาสติกจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหาขยะพลาสติกพร้อมๆ ไปกับการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ในการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป อย่างไรก็ดี เพื่อมิให้ภาษีพลาสติกส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการและประชาชนในประเทศสมาชิกมากเกินไป สหภาพยุโรปจึงออกข้อกำหนดในการจัดเก็บภาษีพลาสติกในลักษณะการเก็บเงินสนับสนุนหรือเงินสมทบ (Plastics Contribution) จากประเทศสมาชิก มิได้เป็นการจัดเก็บภาษีจากผู้ผลิตโดยตรง แต่เปิดให้ประเทศสมาชิกสามารถออกกฎหมายภายในประเทศเพื่อจัดเก็บภาษีพลาสติกจากผู้ผลิตได้

ภาษีพลาสติกของสหภาพยุโรปพิจารณาจากปริมาณขยะพลาสติกที่รีไซเคิลไม่ได้ที่แต่ละประเทศสร้างขึ้นซึ่งมีการรายงานข้อมูลสถิติอยู่แล้วผ่านฐานข้อมูล Eurostat และเริ่มจัดเก็บภาษีพลาสติกนี้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นมา การเก็บภาษีหรือเงินสนับสนุนดังกล่าวคำนวณจากอัตราประเมินเบื้องต้นอยู่ที่ 0.80 ยูโรต่อกิโลกรัมของน้ำหนักขยะพลาสติกที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ ทั้งนี้ จะมีกลไกปรับลดเงินสนับสนุนสำหรับประเทศสมาชิกบางประเทศที่มีระดับการพัฒนาเศรษฐกิจที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศสมาชิก

ประเทศสมาชิกมีทางเลือกในการดำเนินการ ดังนี้

ทางเลือกที่ 1 ประเทศสมาชิกจ่ายเงินสมทบจากงบประมาณแผ่นดินของตนเอง โดยไม่คำนึงว่าได้จัดตั้งระบบจัดเก็บภาษีระดับชาติขึ้นหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ออสเตรียและเบลเยียมจ่ายเงินสนับสนุนนี้จากงบประมาณของประเทศ

ทางเลือกที่ 2 ประเทศสมาชิกออกแบบกฎหมายภาษีของตนเอง (ภาษีพลาสติก) และจัดตั้งระบบเพื่อจัดเก็บภาษีพลาสติกโดยเก็บภาษีจากผู้เสียภาษีเฉพาะราย (แต่ละประเทศกำหนดคำจำกัดความของผลิตภัณฑ์ที่ต้องเสียภาษี กลไกในการเก็บภาษี ตัวเลือกการขอคืน ฯลฯ ด้วยตนเอง)

มีการคาดการณ์ว่า ภาษีพลาสติกของสหภาพยุโรปนี้จะช่วยให้สหภาพยุโรปมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 7 พันล้านยูโรต่อปีและเป็นแหล่งรายได้ใหม่สำหรับงบประมาณของสหภาพยุโรปในช่วงปีพ.ศ. 2564-2570

แม้ว่าการทำให้มาตรการทางภาษีพลาสติกมีความสอดคล้องกันมากขึ้นในตลาดร่วมจะเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายคาดหวัง แต่ดูเหมือนจะยังไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องมาจากปริมาณขยะพลาสติกและอัตราการรีไซเคิลที่แตกต่างกันอย่างมากในแต่ละประเทศสมาชิก จึงคาดว่าจะต้องมีกระบวนการเจรจาและการประนีประนอมที่ใช้เวลาอีกนานก่อนที่จะบรรลุข้อตกลงทั่วทั้งสหภาพยุโรปสำหรับการออกระเบียบในเรื่องนี้

ประเทศสมาชิกหลายประเทศอยู่ในกระบวนการออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีพลาสติกที่ครอบคลุมมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอิตาลีหรือสเปนที่ได้เสนอเรียกเก็บภาษีที่อัตรา 0.45 ยูโรต่อกิโลกรัมของผลิตภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวโดยมีข้อยกเว้นสำหรับอุปกรณ์ทางการแพทย์และพลาสติกที่มาจากกระบวนการรีไซเคิล ในขณะที่สหราชอาณาจักรออกกฎหมายจัดเก็บภาษีบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีสัดส่วนของพลาสติกรีไซเคิลน้อยกว่าร้อยละ 30 โดยทั้งสามประเทศเป็นการเก็บภาษีจากผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า

ความสนใจต่อการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกนั้นไม่ได้มีมากขึ้นเฉพาะในระดับยุโรปเท่านั้นแต่ยังรวมถึงทั่วโลกด้วย และผลกระทบต่อธุรกิจก็อาจจะแตกต่างกันไปในแต่ละขอบเขตซึ่งขึ้นอยู่กับประเภทของภาษีพลาสติก ผลกระทบโดยตรงคือต้นทุนที่เพิ่มขึ้นสำหรับผู้ผลิตและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์พลาสติกที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีพลาสติก และในทางอ้อมคือการที่ห่วงโซ่อุปทานปลายน้ำทั้งหมดอาจได้รับผลกระทบ

ผู้ประกอบการในประเทศไทยควรเริ่มศึกษาแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่มีสัดส่วนพลาสติกรีไซเคิลมากขึ้น และภาครัฐก็ควรให้การส่งเสริมผู้ประกอบการที่หันมาใช้พลาสติกรีไซเคิลมากขึ้น เช่นการลดหย่อนภาษีหรือลดต้นทุนให้การผลิตพลาสติกรีไซเคิลถูกลง ซึ่งจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยได้และช่วยให้ผู้ประกอบการรักษาตลาดในต่างประเทศที่จะมีมาตรการเกี่ยวกับพลาสติกเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

แหล่งข้อมูล

https://www.posttoday.com/post-next/be-greener/691053