Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24
Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25
Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26
ชวนรู้จัก ‘กังหันน้ำวน’ นวัตกรรมจากประเทศเบลเยี่ยม ที่ผลิตไฟฟ้าใช้ในชุมชนห่างไกล ซึ่งสามารถผลิตได้ 120,000 – 560,000 กิโลวัตต์ต่อปี ใช้ได้กับ 50-500 ครัวเรือน
สภาวะปั่นป่วนจากการผลิตไฟฟ้าโดยโซลาร์เซลล์ ทำให้บางพื้นที่มีไฟฟ้าใช้ไม่เพียงพอ และในบางชุมชนที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำเล็ก ๆ อย่างลำคลอง ชาวบ้านไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้า เพราะกังหันลมที่ผลิตไฟฟ้าต้องใช้กับมหาสมุทรหรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่
เทอร์บิวแลนซ์ (Turbulent Hydro) บริษัทผลิตเซมิคอนดัคเตอร์ด้านพลังงานทดแทน สัญชาติเบลเยี่ยม คิดค้น “ระบบการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากสายน้ำขนาดเล็ก” หรือ “Turbine Vortex Turbine” โดยนำไปติดตั้งกับสายน้ำ บังคับให้น้ำเคลื่อนที่ผ่านกังหันน้ำที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะ กังหันน้ำจะหมุนและสามารถผลิตไฟฟ้าได้ถึง 120,000 – 560,000 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี ซึ่งเพียงพอต่อการใช้ในครัวเรือน
นวัตกรรมดังกล่าวสามารถใช้กับ ลำธาร ลำคลอง หรือเขื่อน ซึ่งจะมีกังหันกักเก็บที่มีทางเดินน้ำคล้ายกับรูปก้นหอย การทำงานจะปล่อยให้น้ำไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ กระแสน้ำจะกลายเป็นน้ำวน ทำงานคล้ายกับกังหันลมที่มีกระแสน้ำไหลผ่านตลอดเวลา และยังเป็นระบบที่ไม่ต้องซ่อมบำรุงมาก มีต้นทุนการผลิตต่ำ
ระบบเทอร์บิวแลนซ์ สามารถใช้กับหมู่บ้านหรือชุมชนเล็ก ๆ ที่มีบ้านจำนวน 50-500 หลังคาเรือน ใช้กับถนนที่ต้องการแสงไฟในตอนกลางคืน เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับพื้นที่ห่างไกลที่อยากผลิตไฟฟ้าใช้เองจากสายน้ำ ชาวบ้านสามารถมีไฟฟ้าใช้ได้ตลอดทั้งปี และใช้ได้ 24 ชั่วโมง
เทอร์บิวแลนซ์ถูกนำไปใช้กับหลาย ๆ เมืองทั่วโลก เช่น ฝรั่งเศส บาหลี ชิลี ไต้หวัน และคองโก นอกจากจะเป็นพลังงานสะอาดแล้ว นวัตกรรมกังหันน้ำวนยังปลอดภัยแก่สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นอีกด้วย
หากนวัตกรรมนี้นำเข้ามาใช้กับประเทศไทย ชุมชนที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้ตลอด 24 ชั่วโมง คงมีทางเลือกใหม่ ๆ ที่มากกว่าการใช้แผงโซลาร์เซลล์
แหล่งข้อมูล