‘ควอนตัม 400 คิวบิต’ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ‘เปลี่ยนโลก’

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

“ไอบีเอ็ม” เผยโฉมโปรเซสเซอร์ควอนตัมกว่า 400 คิวบิต และระบบแห่งอนาคต IBM Quantum System พร้อมเปิดเส้นทางสู่ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบ Quantum-Centric ที่มาพร้อมนวัตกรรมด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบที่ล้ำยุคพลิกโฉมการประมวลผลรับโลกอนาคต

“ควอนตัม คอมพิวติง” เป็นพาราดามใหม่ของการพัฒนาทางเทคโนโลยี แม้จะดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว หลักการทางฟิสิกส์ที่ฟังดูยาก ทว่าสิ่งที่คาดหวังได้เมื่อเกิดขึ้นจริง คือ ความเปลี่ยนแปลง “ระดับพลิกโฉม” ทำให้การประมวลผลข้อมูลจำนวนมหาศาลสำเร็จได้ภายในเวลาหลักวินาที…

ผลการศึกษาของ บอสตัน คอนซัลติ้ง กรุ๊ป ระบุว่า ตลาดควอนตัมคอมพิวติงจะมีมูลค่ากว่า 3 แสนล้านดอลลาร์ ในการใช้งานที่เกี่ยวกับการจำลองธรรมชาติ อาทิ การผลิตตัวยาใหม่ วัสดุใหม่ แบตเตอรีชนิดใหม่ การวิเคราะห์แนวทางที่มีศักยภาพมากขึ้นในการขนส่งก๊าซแอลเอ็นจี ฯลฯ ขณะที่ การนำควอนตัมคอมพิวติง มาใช้กับข้อมูลที่มีโครงสร้างรวมถึง “เอไอ” จะเป็นตลาดที่คาดว่าจะมีมูลค่ากว่า 2 แสนล้านดอลลาร์

ไม่กี่วันมานี้ ไอบีเอ็ม จัดงานใหญ่ “IBM Quantum Summit 2022” ประกาศความก้าวหน้าสำคัญ ด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ควอนตัม พร้อมวิสัยทัศน์บุกเบิกซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบ Quantum-Centric

ภายในงาน ได้มีการเปิดเผยถึงการเติบโตของอีโคซิสเต็มควอนตัมทั้งในส่วนของลูกค้า คู่ค้า และนักพัฒนา รวมถึงความคืบหน้าในการนำคอมพิวเตอร์ควอนตัมเข้าสร้างคุณประโยชน์แก่โลก

เจาะลึกโปรเซสเซอร์ Osprey

“โปรเซสเซอร์ ‘Osprey’ ใหม่ขนาด 433 คิวบิตนี้ เป็นก้าวสำคัญสู่จุดที่เราจะสามารถนำคอมพิวเตอร์ควอนตัมมาช่วยแก้ปัญหาท้าทายที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถแก้ได้”

ดร.แดริโอ จิล รองประธานอาวุโสและผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไอบีเอ็ม กล่าวภายในงานนี้ พร้อมเล่าว่า “เราเดินหน้าสเกลและพัฒนาเทคโนโลยีควอนตัมต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และระบบอินทิเกรชัน เพื่อต่อกรกับความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในยุคของเรา โดยร่วมมือกับพาร์ทเนอร์และลูกค้าทั่วโลก และสิ่งนี้จะเป็นรากฐานของยุคซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบ Quantum-Centric ที่กำลังจะมาถึงนี้”

เมื่อลงลึกในรายละเอียด ของเทคโนโลยีใหม่ที่ประกาศภายในงาน IBM Quantum Summit โดยเฉพาะ โปรเซสเซอร์ Osprey ใหม่ของไอบีเอ็ม ขนาด 433 ควอนตัมบิต (คิวบิต)

IBM Osprey มีจำนวนคิวบิตมากที่สุดในบรรดาโปรเซสเซอร์แบบควอนตัมทั้งหมดของไอบีเอ็ม และมากกว่าโปรเซสเซอร์ IBM Eagle ขนาด 127 คิวบิต ที่เปิดตัวไปในปี 2564 ถึงกว่าสามเท่า มีศักยภาพรันการคำนวณทางควอนตัมที่ซับซ้อนเกินกว่าที่คอมพิวเตอร์แบบคลาสสิก จะสามารถทำได้

ยิ่งกว่านั้น จำนวนบิตแบบคลาสสิกที่จำเป็นสำหรับการแสดงสถานะหนึ่งบนโปรเซสเซอร์ของ IBM Osprey นั้น มีมากกว่าจำนวนอะตอมทั้งหมดในจักรวาลที่เรารู้จัก

การจัดการเสียงรบกวนในคอมพิวเตอร์ ควอนตัม ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อการนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในวงกว้าง และเพื่อลดความซับซ้อนในเรื่องนี้ ไอบีเอ็มออกอัพเดตเบต้าของ Qiskit Runtime ที่ล่าสุดให้ผู้ใช้เลือกปรับความเร็วเพื่อลดจำนวนข้อผิดพลาดด้วยตัวเลือกอย่างง่ายใน API ทั้งนี้ การดึงความซับซ้อนของฟีเจอร์มาไว้ในเลเยอร์ซอฟต์แวร์ จะทำให้ผู้ใช้สามารถผนวกควอนตัมคอมพิวติ้งเข้ากับเวิร์คโฟลว์ของตน และเพิ่มความเร็วในการพัฒนาแอพพลิเคชันควอนตัมได้ง่ายขึ้น

โรดแมปควอนตัมแห่งอนาคตไอบีเอ็ม

ในขณะที่ระบบ IBM Quantum กำลังเดินหน้าสเกลสู่เป้าหมายที่สูงกว่า 4,000 คิวบิตภายในปี 2568 และหลังจากนั้น ระบบจะก้าวไปไกลกว่าขีดความสามารถในปัจจุบันของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทางกายภาพที่มีอยู่ ไอบีเอ็มได้เปิดเผยรายละเอียดล่าสุดเกี่ยวกับ IBM Quantum System Two ใหม่ ที่ได้รับการออกแบบมาให้มีเป็นระบบโมดูลาร์ที่มีความยืดหยุ่น โดยรวมโปรเซสเซอร์หลายตัวเข้าไว้ในระบบเดียวพร้อมด้วยลิงค์สำหรับการสื่อสาร

ระบบดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะเข้าสู่รูปแบบออนไลน์ภายในสิ้นปี 2566 และจะเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบ Quantum-Centric ซึ่งจะเป็นก้าวย่างถัดไปของควอนตัมคอมพิวติ้ง ที่สามารถขยายขนาดเพื่อเพิ่มความสามารถในการคำนวณได้ โดยใช้สถาปัตยกรรมแบบโมดูลาร์และการสื่อสารควอนตัม ร่วมกับมิดเดิลแวร์ไฮบริดคลาวด์ในการอินทิเกรทเวิร์คโฟลว์ควอนตัมและเวิร์คโฟลว์แบบคลาสสิกเข้าด้วยกันอย่างไร้รอยต่อ

เมื่อคอมพิวเตอร์ควอนตัมทรงพลังมากขึ้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีต้องดำเนินการเพื่อปกป้องระบบและข้อมูลของตนจากคอมพิวเตอร์ควอนตัมในอนาคตด้วย

การขยายอีโคซิสเต็มและลูกค้า

ไอบีเอ็ม ยังได้ประกาศสมาชิกเพิ่มเติมของของ IBM Quantum Network ที่รวมถึงบริษัทโทรคมนาคมข้ามชาติอย่างโวดาโฟน เพื่อสำรวจการนำควอนตัมคอมพิวติ้งและการเข้ารหัสแบบ quantum safe มาใช้, การร่วมกับธนาคารฝรั่งเศส Crédit Mutuel Alliance Fédérale ในการสำรวจแนวทางการใช้งานในบริการทางการเงินต่างๆ รวมถึงการร่วมกับวิทยาเขตด้านนวัตกรรมของสวิสอย่าง uptownBasel เพื่อผลักดันการพัฒนาทักษะและส่งเสริมโครงการนวัตกรรมชั้นนำบนพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ควอนตัมและเทคโนโลยีคอมพิวติ้งสมรรถนะสูง

องค์กรเหล่านี้เป็นสมาชิกเพิ่มเติมจากที่มีอยู่แล้วในปัจจุบันกว่า 200 องค์กร และผู้ใช้มากกว่า 450,000 ราย ที่สามารถเข้าใช้งานกลุ่มคอมพิวเตอร์ควอนตัมที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่มีมากกว่า 20 เครื่องได้โดยผ่านผ่านระบบคลาวด์

“IBM Quantum Summit 2022 คือเป็นช่วงเวลาที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในวิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ควอนตัมของโลก ในวันที่เรากำลังก้าวไปข้างหน้าตามโรดแมปควอนตัม ในขณะที่เราเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการสเกลขนาดของระบบควอนตัมและทำให้ระบบใช้งานง่ายขึ้น เราก็จะได้เห็นการใช้งานและการเติบโตของอุตสาหกรรมควอนตัมควบคู่กันไปด้วย”

“เจย์ แกมเบ็ตต้า” IBM Fellow และรองประธานของ IBM Quantum สรุปทิ้งท้ายว่า “ความก้าวหน้าครั้งสำคัญของเราจะเป็นตัวกำหนดคลื่นลูกถัดไปของวงการควอนตัม ซึ่งก็คือซูเปอร์คอมพิวเตอร์แบบ Quantum-Centric ที่มีการใช้สถาปัตยกรรมแบบโมดูลาร์ การสื่อสาร และมิดเดิลแวร์ เข้ามาช่วยสนับสนุนความสามารถในการสเกล การคำนวณ ตลอดจนการอินทิเกรทเวิร์คโฟลว์แบบควอนตัมและแบบคลาสสิคเข้าด้วยกัน”

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/tech/gadget/1037623