“หุ่นยนต์ป้องกันไฟไหม้” นวัตกรรมเกาหลี-ลดภัยพิบัติในโรงงาน

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

บริษัท Hyundai Steel ประเทศเกาหลี พัฒนา “หุ่นยนต์สี่ขาคล้ายสุนัขและงู” ช่วยป้องกันสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกินความสามารถของมนุษย์ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือภัยพิบัติ

อัคคีภัยเป็นภยันตรายที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินมาอย่างมากมาย จากเหตุเพลิงไหม้หลากหลายกรณี ซึ่งสามารถเกิดได้ในชีวิตประจำวันบางครั้งอาจไม่ทันตั้งตัวและคาดคิดมาก่อน หากโรงงานอุตสาหกรรมไม่มีโซลูชันที่ป้องกันและรับมือกับภัยพิบัติต่าง ๆ ก็จะทำให้คร่าชีวิตของพนังงานและผู้คนในละแวกนั้นนับไม่ถ้วน

ขณะเดียวกัน หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ก็เป็นที่นิยมกันมากขึ้น เนื่องจากเป็นการทำงานโดยปัญญาประดิษฐ์ที่ฉลาด สามารถคาดคะเนเหตุการณ์ ทนทานต่อ “ไฟ” หรือ “แก๊ส” ได้มากกว่าร่างกายของมนุษย์

บริษัท ฮุนไดสตีล จำกัด พัฒนาหุ่นยนต์ช่วยป้องกันเกิดอุบัติเหตุหรือภัยพิบัติที่ส่งความเสียหายให้กับมนุษย์ ใช้ชื่อว่า “Spot และ Guardian S” ซึ่งหุ่นยนต์สองตัวนี้สามารถตรวจสอบว่าวาล์วแก๊สปิดหรือเปิดอยู่ และสามารถตรวจสอบพื้นที่ที่มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ดังนั้น มันจึงสามารถช่วยป้องกันการเกิดภัยพิบัติ อย่างเช่น การระเบิดหรือไฟไหม้

สำหรับเรื่องของความปลอดภัย หุ่นยนต์ทางฮุนไดสตีลได้รับรางวัลการจัดการความปลอดภัยในกระบวนการผลิตจาก World Steel Association (Worldsteel) และได้ตั้งเป้าหมายว่า จะใช้หุ่นยนต์ในโรงงานก๊าซ 156 แห่ง และโรงงานปิด 2,927 แห่ง

ฟังก์ชันของหุ่นยนต์ Spot และ Guardian S

หุ่นยนต์ Spot จะเคลื่อนไหวเหมือนสุนัข และ หุ่นยนต์ Guardian S จะเคลื่อนไหวเหมือนงู ซึ่งหุ่นยนต์สองตัวนี้จะอยู่ในร่างเดียวกันมีลักษณะ คือ มีตัวเป็นสุนัข มีหัวเป็นงู โดยความพิเศษของหุ่นยนต์สองตัวนี้สามารถตรวจจับความแตกต่างของอุณหภูมิ ก๊าซ เสียง และการสั่นสะเทือนในสภาพแวดล้อมการทำงานได้

ทั้งนี้ ตัวหุ่นยนต์จะมีฟังก์ชันความปลอดภัยอัจฉริยะ เช่น เซ็นเซอร์ตรวจจับก๊าซ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และมีกล้องที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตที่สามารถแบ่งปันข้อมูลต่างๆ ให้กับผู้ที่ควบคุมได้ เพื่อแจ้งสัญญาณต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และช่วยให้พนักงานปลอดภัยเมื่อเกิดอุบัติเหตุเกิด ขณะเดียวกันก็ยังสวมกล้องถ่ายภาพความร้อนที่มีเทคโนโลยีสูงที่สามารถซูมได้ถึง 30 เท่า หมุนฟิล์มได้ 360 องศา และสามารถถ่ายวิดีโอพาโนรามา 170 องศาเพื่อจับภาพสถานการณ์ได้อย่างแม่นยำอีกด้วย

การนำหุ่นยนต์ไปใช้งาน

เจ้า Spot และ Guardian S จะใช้สำหรับตรวจสอบพื้นที่อันตรายจากแก๊ส ตลอดจนการตรวจจับเพลิงไหม้และการรั่วไหลของสารเคมีในระยะเริ่มต้น และยังใช้สำหรับงานที่มีความเสี่ยง เช่น การตรวจสอบพื้นปิดที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดพิษจากก๊าซ และหุ่นยนต์จะทำการตรวจสอบด้วยว่าพนักงานสวมอุปกรณ์ป้องกันหรือไม่ เพื่อช่วยสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ทางบริษัท เอสเค อินโนเวชัน จำกัด (SK Innovation) ได้ใช้หุ่นยนต์สองตัวนี้ในโรงงานปิโตรเคมี เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานของพนักงานด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างปลอดภัยให้กับพนักงาน และจะถูกนำมาใช้เพื่อนำทางใน Ulsan Complex ที่พื้นที่ขนาด 8.26 ล้านตารางเมตร เพื่อทำการตรวจสอบความปลอดภัยในพื้นที่โรงงานที่มนุษย์เข้าถึงได้ยาก ซึ่งพื้นที่เหล่านี้รวมถึงท่อและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีขนาดเล็ก หุ่นยนต์ที่มีลักษณะเหมือนงู (Guardian S) สามารถตรวจจับความผิดปกติต่าง ๆ ด้วยกล้องที่ติดอยู่กับร่างกายของมัน

Hyundai Steel และ SK Innovation ไม่ได้เป็นเพียงสองบริษัทที่ทำการทดสอบการทำงานร่วมกันระหว่างหุ่นยนต์และมนุษย์ในโรงงานอุตสาหกรรมในเกาหลี และยังรวมถึงบริษัทแม่ของ Herald Corp. Junheung Construction, Hanwha E&C และ Lotte E&C ก็ใช้หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมด้วยเช่นกัน และ Hanwha E&C และ Lotte E&C ใช้หุ่นยนต์ Dog Spot เพื่อทำการสำรวจสถานที่ก่อสร้างด้วยภาพ

“สุนัขหุ่นยนต์-งูตัวนี้เป็นอุปกรณ์ที่มีประโยชน์อย่างมากในการตรวจและดำเนินการแบบเรียลไทม์ ที่ใช้ในสถานการณ์ที่เกินความสามารถของมนุษย์ เพราะมันมีความสามารถที่ถูกออกแบบมาเพื่อสิ่งนี้โดยเฉพาะ” เจ้าหน้าที่จากบริษัท Jungheung Construction กล่าว

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1034958