ในขณะที่โลกกำลังเดินหน้าสู่พลังงานหมุนเวียน นี่คือ 10 ประเทศที่มีเครื่องปฏิกรณ์มากที่สุดในโลก

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ตามรายงานสถานะอุตสาหกรรมนิวเคลียร์โลกปี 2022 การผลิตพลังงานนิวเคลียร์ทั่วโลกเพิ่มขึ้น 3.9% ในปี 2023 ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่ลดลงในปี 2020 และในปี 2022 มีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 437 เครื่องที่เปิดใช้งานทั่วโลก (รวม 23 เครื่องที่ไม่ได้ผลิตไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2010-2013) น้อยกว่าเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ถึง 18 เครื่อง และขณะนี้มีอีก 29 เครื่องอยู่ที่เตรียมปิดและเก็บเข้ากรุยาว แต่ก็ยังมีอีก 53 เครื่องอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยมากกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในจีนและอินเดีย

การขยายตัวอย่างรวดเร็วของพลังงานหมุนเวียนและทัศนคติเชิงลบของสาธารณชนต่อพลังงานนิวเคลียร์ที่เกิดจากมหาภัยพิบัติในพื้นที่ต่างๆ เช่นในเชอร์โนบิลหรือฟุกุชิมะได้เปลี่ยนพลังงานนิวเคลียร์ให้กลายเป็นแหล่งผลิตพลังงานระดับโลกเช่นกัน

ปัจจุบัน พลังงานนิวเคลียร์กำลังประสบกับการลดลงอย่างช้าๆ จากส่วนแบ่งสูงสุดของการผลิตไฟฟ้าทั่วโลก 17.5% ในปี 1996 เหลือเพียง 9.8% ในปี 2021 เนื่องจากหลายประเทศระงับหรือละทิ้งกลยุทธ์ด้านพลังงานนิวเคลียร์มากกว่าที่จะขยายหรือลงทุนเพิ่มเติม

จากรายงานนี้ระบุว่า ปัจจุบันมีเพียง 33 ประเทศในโลกนี้ที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ แต่มีเพียง 15 ประเทศเท่านั้นที่ยังคงติดตามเทคโนโลยีนี้อย่างแข็งขัน ซึ่งรวมถึงประเทศเบลารุสและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่เป็นหน้าใหม่ของวงการในปี 2020

โครงการพลังงานนิวเคลียร์ที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกก็เป็นหนึ่งในโครงการที่อายุน้อยที่สุดในโลกเช่นกัน โดย “จีน” ได้ใช้พลังงานนิวเคลียร์มาตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1990 และปัจจุบันมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 55 เครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่เข้าร่วมกับการผลิตไฟฟ้าในช่วงสิบปีที่ผ่านมา โดยเพิ่มจากปี 2012 มากถึง 39 เครื่อง และการผลิตและจัดหาไฟฟ้านิวเคลียร์ของจีนเพิ่มขึ้น 11% ในปี 2020 และคิดเป็นสัดส่วน 5% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมดของจีนในปี 2021

ขณะที่ “สหรัฐอเมริกา” ยังคงเป็นฐานที่มั่นด้านพลังงานนิวเคลียร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 92 เครื่อง ณ เดือนกรกฎาคม 2022 ลดลง 12 เครื่องตั้งแต่ปี 2012 แต่แม้จะมีจำนวนลดลง แต่ทั้งหมดที่เหลืออยู่ก็ยังคงเปิดใช้งาน

ส่วน “ญี่ปุ่น” ซึ่งมีการสูญเสียครั้งใหญ่ที่ฟุกุชิมะเมื่อปี 2012 จึงทำให้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์จาก 34 เครื่อง เหลือเพียง 10 เครื่องเท่านั้นในปัจจุบัน และคาดว่าญี่ปุ่นจะยกเลิกการก่อสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ใหม่อย่างเป็นทางการในไม่ช้า

จากประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มีเพียง 3 ประเทศที่มีโครงการพลังงานนิวเคลียร์เท่านั้นที่ปิดเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทั้งหมด นั่นคือ อิตาลี ในปี 1987 คาซัคสถาน ในปี 1998 และลิทัวเนียในปี 2009 ส่วน “เยอรมนี” เพิ่งขยายโครงการพลังงานนิวเคลียร์ในช่วงวิกฤตพลังงานในปัจจุบัน แต่ก็มีแผนที่จะยุติการผลิตพลังงานนิวเคลียร์ในปี 2023

สำหรับ 10 ประเทศที่มีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์มากที่สุดในโลก (นับเฉพาะที่กำลังดำเนินการ) ได้แก่ สหรัฐอเมริกา 92 เครื่อง, ฝรั่งเศส 56 เครื่อง, จีน 55 เครื่อง, รัสเซีย 37 เครื่อง, เกาหลีใต้ 24 เครื่อง, อินเดีย 19 เครื่อง, แคนาดา 17 เครื่อง, ยูเครน 15 เครื่อง, สหราชอาณาจักร 11 เครื่อง, ญี่ปุ่น 10 เครื่อง ตามลำดับ

โดย “รัสเซีย” ครองตลาดต่างประเทศในฐานะผู้สร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์รายใหญ่ โดยขณะนี้มี 20 เครื่องอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง (3 เครื่องในรัสเซียเอง และอีก 17 เครื่องในต่างประเทศ) แต่การก่อสร้างล่าช้าลงมาก อันเป็นผลกระทบของการคว่ำบาตรและความขัดแย้งทางการเมืองอื่นๆ ทำให้การพัฒนาโครงการเหล่านี้ไม่แน่นอน

นอกจากนี้ ข้อมูลล่าสุด ณ กลางปี ​​​​2022 มีสองประเทศที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นน้องใหม่ในพลังงานนิวเคลียร์ นั่นคือบังคลาเทศและตุรกีที่กำลังสร้างเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์  ตามมาด้วยอียิปต์ที่เริ่มก่อสร้างหลังจากนั้นไม่นาน โครงการทั้งหมดเหล่านี้ดำเนินการโดยรัสเซีย

พลังงานนิวเคลียร์และสงคราม

ปฏิบัติการพิเศษทางทหารของรัสเซียในยูเครนทำให้ต้องเผชิญหน้าสถานการณ์ที่ไม่เคยมีมาก่อน รวมทั้งการดำเนินงานของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชิงพาณิชย์ว่าจะเป็นไปอย่างไรหากเกิดสงครามเต็มรูปแบบ

ข้อเท็จจริงคือ “ไม่มีโรงไฟฟ้​​านิวเคลียร์ใดในโลกที่ได้รับการออกแบบ เพื่อดำเนินการภายใต้สภาวะสงคราม”

ความท้าทายหลักคือการรักษาความเย็นอย่างต่อเนื่องของแกนเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์และแหล่งเชื้อเพลิงใช้แล้ว แม้กระทั่งหลังจากการปิดเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แล้วก็ตาม ความล้มเหลวในการนำความร้อนที่สลายตัวที่ตกค้างจะทำให้แกนล่มสลายภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือไฟไหม้บ่อเก็บเชื้อเพลิงใช้แล้วจนหมดเกลี้ยง กระทั่งมีการปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมาเป็นจำนวนมาก

การระบายความร้อนต้องใช้ห่วงโซ่ขององค์ประกอบที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนการจัดหาไฟฟ้าและน้ำที่เชื่อถือได้ แต่ในช่วงสงครามมีช่องโหว่และความเป็นไปได้มากมายที่อาจนำไปสู่การหยุดชะงักงันของไฟฟ้าและน้ำทั้งโดยเจตนาและผลกระทบจากอุบัติเหตุทั้งในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เองและนอกพื้นที่

นอกจากนี้ โดยปกติแล้วการดำเนินงานของโรงงานนิวเคลียร์ต้องมีแรงจูงใจที่ดี และพนักงานต้องพักผ่อนเพียงพอ รวมถึงมีฝีมือที่เชี่ยวชาญ แต่ระหว่างสงครามหรือเมื่ออยู่ภายใต้ภารกิจทางทหาร ผู้ปฏิบัติงานย่อมมีแนวโน้มที่จะตกภายใต้ความเครียดที่รุนแรง

ที่น่ากังวลอีกอย่างคือ ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกและอะไหล่ที่จำเป็นต่อการบำรุงรักษาการดำเนินงานและรวมถึงดำเนินการตรวจสอบหรือซ่อมแซมที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่สามารถเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกได้

การเติบโตของพลังงานหมุนเวียนทำให้นิวเคลียร์ลดลง

การลงทุนในพลังงานหมุนเวียนที่ไม่ใช่พลังน้ำทั่วโลกในปี 2021 ทำรายได้รวมเป็นประวัติการณ์ถึง 366 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นสุทธิราวๆ 250 กิกะวัตต์ต่อกริด ขณะใช้พลังงานนิวเคลียร์

ความจุลดลง 0.4 กิกะวัตต์ และในปีเดียวกันนี้เองที่พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์เพียงมีส่วนแบ่งรวม 10.2% ของการผลิตไฟฟ้าเป็นครั้งแรก พลังงานหมุนเวียนทั้งสองประเภทนี้ผลิตไฟฟ้าคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 10% ทั่วโลก แซงหน้าพลังงานนิวเคลียร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

แหล่งข้อมูล

https://www.salika.co/2022/10/18/most-nuclear-reactors-by-country/