Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24
Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25
Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26
Google จับมือมูลนิธิ GiveDirectly ทดลองใช้ AI วิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียม บ้านที่ได้รับความเสียหายจากภัยพิบัติ เพื่อช่วยโอนเงินเยียวยาได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วมากขึ้น
หลังจาก เฮอริเคนเอียน (Ian) พัดถล่มชายฝั่งสหรัฐฯ ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา บ้านเรื่อนได้รับความเสียกระจายเป็นวงกว้าง ซึ่งล่าสุดมีบ้านเรือนกว่า 3,500 ครัวเรือน ได้ข้อความในการรับข้อเสนอเงินเยียวยา ช่วยเหลือราว 700 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 24,500 บาท) โดยไม่มีการถามไถ่ใด ๆ
เงินเยียวยานี้ ได้รับการวิเคราะห์จาก อัลกอริทึมปัญญาประดิษฐ์ของ Google ที่ร่วมมือกับมูลนิธิไม่แสวงผลกำไร GiveDirectly ด้วยการวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายอย่างหนัก เพื่อระบุบ้านของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
GiveDirectly ได้ส่งการแจ้งเตือนแบบพุช โดยเสนอเงิน 700 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 24,500 บาท) ให้กับผู้ใช้แอปฯ ชื่อ Providers ที่อยู่อาศัยในโซนที่ได้รับผลกระทบจากเฮอริเคน
GiveDirectly กำลังทดสอบหนทางใหม่ในการช่วยเหลือทางการเงินยามฉุกเฉิน โดยร่วมมือกับ มูลนิธิการกุศลของ Google ในการเสนอเงินเยียวยาฉุกเฉินให้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
ก่อนหน้านี้มูลนิธินี้เคยใช้เทคโนโลยีแบบเดียวกันใน โตโก ประเทศในแอฟริกาตะวันตก เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 และ นี่เป็นครั้งแรกที่ใช้เทคโนโลยีนี้ในสหรัฐฯ
การร่วมมือกันครั้งนี้ ขับเคลื่อนโดยเครื่องมือทำแผนที่ ชื่อ Delphi ซึ่งพัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านแมชชีนเลิร์นนิง(การเรียนรู้ด้วยตัวเองของคอมพิวเตอร์) ของ Google สี่คน ที่ทำงานร่วมกับ GiveDirectly เป็นเวลากว่า 6 เดือนโดยเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2019
ซอฟต์แวร์ดังกล่าว เน้นไปที่ชุมชนที่ต้องการความช่วยเหลือหลังภัยพิบัติ เช่น พายุเฮอริเคน โดยการวางซ้อนแผนที่ที่แสดงความเสียหายจากพายุแบบเรียลไทม์ ด้วยข้อมูลความยากจนจากแหล่งต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลจาก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐอเมริกา
จากนั้นข้อมูลความเสียหายจากพายุจะส่งให้เครื่องมืออีกตัวของ Google ที่เรียกว่า Skai ซึ่งใช้การเรียนรู้ของเครื่องเพื่อวิเคราะห์ภาพถ่ายดาวเทียมก่อนและหลังภัยพิบัติ และประเมินความรุนแรงของความเสียหายต่ออาคาร
แม้ว่าการช่วยเหลือแบบนี้จะเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็มีผู้คนจำนวนมากยังไม่ไว้วางใจในระบบนี้ เพราะอาจกลัวเรื่องแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์หลอกลวงด้วย จากจำนวนผู้ที่ได้รับข้อเสนอเงินเยียวยานี้ มีคนกดรับไม่ถึง 200 คนเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลไทยสามารถบรูณาการการใช้ข้อมูลแบบนี้ได้ เชื่อว่าในอนาคตการจ่ายเงินเยียวยาผู้ประสบภัยพิบัติในไทยก็จะแม่นยำมากขึ้น ลดความเสี่ยงในการคอรัปชั่น และช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีมากขึ้นแน่นอน
แหล่งข้อมูล