‘แคสเปอร์สกี้’ เผย ครึ่งปีแรก ‘ฟิชชิ่งอาเซียน’ สูงกว่าปีก่อนทั้งปี

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ข้อมูลล่าสุดจาก “แคสเปอร์สกี้” บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก เผยว่า ปีนี้อาชญากรไซเบอร์ใช้เวลาเพียงหกเดือนในการทำลายสถิติการโจมตีฟิชชิ่งของปีที่แล้วทั้งปี

การโจมตีด้วย “ฟิชชิ่ง” ยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้… ข้อมูลล่าสุดจาก “แคสเปอร์สกี้” บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก เผยว่า ปีนี้อาชญากรไซเบอร์ใช้เวลาเพียงหกเดือนในการทำลายสถิติการโจมตีฟิชชิ่งของปีที่แล้วทั้งปี

เซียง เทียง โยว ผู้จัดการทั่วไปประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนม.ค.ถึงมิ.ย.ที่ผ่านมา ระบบ Anti-Phishing ของแคสเปอร์สกี้ได้บล็อกลิงก์ที่เป็นอันตรายทั้งหมด 12,127,692 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมากกว่าจำนวนการโจมตีด้วยฟิชชิงทั้งหมดที่ตรวจพบในภูมิภาคนี้เกือบถึงหนึ่งล้านรายการเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีสถิติทั้งปี 11,260,643 รายการ

พุ่งเป้าขโมยข้อมูลประจำตัว

ฟิชชิ่งเป็นการโจมตีแบบวิศวกรรมสังคม หนึ่งในวิธีการหลักที่ผู้โจมตีใช้เพื่อละเมิดเป้าหมายทั้งรายบุคคลและระดับองค์กร ทำงานในวงกว้างโดยอาชญากรไซเบอร์ส่งอีเมลจำนวนมหาศาลโดยอ้างตัวว่าเป็นบริษัทหรือบุคคลที่ถูกต้องตามกฎหมายเพื่อโฆษณาเพจปลอมหรือทำให้ผู้ใช้ติดมัลแวร์ด้วยไฟล์แนบที่เป็นอันตราย โดยเป้าหมายสุดท้ายของการโจมตีแบบฟิชชิ่งคือการขโมยข้อมูลประจำตัว โดยเฉพาะข้อมูลทางการเงินและการเข้าสู่ระบบ เพื่อขโมยเงิน หรือที่แย่ที่สุดที่คือการรุกล้ำเข้าทั้งระบบองค์กร

จากการตรวจจับฟิชชิ่งในช่วงครึ่งปีแรกของปีพบว่า จำนวนมากกว่าครึ่งกำหนดเป้าหมายไปยังผู้ใช้แคสเปอร์สกี้ในมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม และยังพบว่า ประเทศจำนวนสี่ในหกประเทศจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม มีจำนวนอีเมลฟิชชิ่งเพิ่มขึ้นในช่วงเวลาแค่หกเดือนแรกของปีนี้ซึ่งมากกว่าจำนวนทั้งหมดของทั้งปี 2564

ฉวยจังหวะกู้คืนวิกฤติโควิด

แคสเปอร์สกี้ระบุว่า ครึ่งปีแรกมีเหตุการณ์ที่ดีและไม่ดี ในระดับบุคคลได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการพยายามฟื้นคืนหลังเกิดโรคระบาด การบังคับให้บริษัทและองค์กรต่างๆ ยอมรับการทำงานทางไกลและแบบผสมผสาน ภาคการเดินทางทั้งสายการบิน สนามบิน ตัวแทนท่องเที่ยว และอื่นๆ ได้ต้อนรับการหลั่งไหลของนักท่องเที่ยวที่ต้องการเดินทางหลังเปิดพรมแดน

เบื้องหลังการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คือ เครือข่ายและระบบที่จำเป็นต้องได้รับการอัปเดตและรักษาความปลอดภัยอย่างเร่งด่วน ในทางกลับกัน อาชญากรไซเบอร์ต่างก็รับรู้และสามารถปรับแต่งข้อความและใส่ประเด็นความเร่งด่วนที่น่าเชื่อถือ ทำให้ได้เห็นเหตุการณ์โชคร้ายของเหยื่อที่สูญเสียเงินเนื่องจากการโจมตีแบบฟิชชิ่งนั่นเอง

นอกจากการสูญเสียเงินของผู้ใช้บุคคลทั่วไปแล้ว นักวิจัยของแคสเปอร์สกี้ยังเตือนว่า กลุ่มผู้ก่อภัยคุกคามขั้นสูง (Advanced Persistent Threat หรือ APT) ส่วนใหญ่ในเอเชียแปซิฟิก รวมถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใช้ฟิชชิ่งแบบกำหนดเป้าหมายเพื่อเข้าสู่เครือข่ายที่มีการป้องกันขั้นสูง

กลุ่ม APT ตามที่ชื่อ “ขั้นสูง” นั้น บ่งบอกว่า APT ใช้เทคนิคการแฮ็กแบบต่อเนื่อง กระทำอย่างลับๆ และซับซ้อน เพื่อเข้าถึงระบบและแฝงอยู่ภายในระบบเป็นเวลานาน ซึ่งอาจส่งผลเสียหายตามมาได้มาก

มนุษย์ = จุดอ่อน

เนื่องจากระดับของความพยายามที่จำเป็นในการดำเนินการโจมตีดังกล่าว กลุ่ม APT มักจะปรับระดับไปที่เป้าหมายที่มีมูลค่าสูง เช่น รัฐระดับชาติและองค์กรขนาดใหญ่ โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการขโมยข้อมูลในระยะเวลาอันยาวนาน มากกว่าเพียงแค่เข้ามาในระบบและจากไปอย่างรวดเร็ว อย่างที่แฮ็กเกอร์แบล็กแฮทอื่นๆ ทำในระหว่างการโจมตีทางไซเบอร์ระดับล่าง

ปีนี้พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ในภูมิภาคนี้ (75%) รับทราบและคาดว่าจะมีการโจมตี APT ต่อองค์กรของตน ด้วยเหตุการณ์ฟิชชิ่งที่มีจำนวนพุ่งขึ้นสูงในช่วงหกเดือนแรกของปี องค์กร หน่วยงานสาธารณะ และหน่วยงานภาครัฐควรเข้าใจผลกระทบของการคลิกผิดเพียงครั้งเดียวบนเครือข่ายและระบบที่สำคัญของตน

“เราซึ่งเป็นมนุษย์ยังคงเป็นจุดอ่อนที่สุดของระบบ และถึงเวลาที่ต้องมองให้ครอบคลุมมากกว่าการฝึกอบรมและการตระหนักรู้ถึงภัยไซเบอร์ ไปยังแผนการรักษาความปลอดภัยสำรอง เช่น ความสามารถในการตอบสนองต่อเหตุการณ์ ที่ควรมีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้อีเมลฟิชชิ่งกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการโจมตีที่สร้างความเสียหายให้กับองค์กร”

อย่างไรก็ดี การรักษาความปลอดภัยแบบดั้งเดิมมักไม่สามารถหยุดยั้งการโจมตีแบบสเปียร์ฟิชชิ่งได้ เนื่องจากมีการปรับแต่งอย่างชาญฉลาด ส่งผลให้ตรวจจับได้ยากขึ้น ความผิดพลาดอย่างหนึ่งของพนักงานในบริษัทสามารถส่งผลร้ายแรงต่อธุรกิจ รัฐบาล และแม้แต่องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรได้

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/tech/gadget/1032207