AI Patient Twin นวัตกรรมช่วยแพทย์จำลองอวัยวะมนุษย์ก่อนรักษาจริง

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ซีเมนส์ เฮลท์ธิเนียร์ส เปิดตัวนวัตกรรม “Patient Twin” AI จำลองระบบภายในร่างกายมนุษย์เสมือนจริง ช่วยแพทย์พยากรณ์การรักษาให้แม่นยำยิ่งขึ้น ผู้สร้างชี้ มีแพลนนำเข้าไทย

ข้อมูลจาก ซีเมนส์ เฮลท์ธิเนียร์ส (Siemens Healthineers) บริษัทผลิตเครื่องมือแพทย์ จากประเทศเยอรมัน ระบุว่า เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เป็นบทบาทสำคัญที่ช่วยแพทย์รักษาผู้ป่วย เนื่องจากหลาย ๆ ประเทศนั้นค่อนข้างขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์ การมี AI เข้ามาจะทำให้ทุกโรงพยาบาลสามารถเข้าถึงการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งซีเมนส์เล็งเห็นสำคัญส่วนนี้จึงได้พัฒนาสินค้าและบริการทางการแพทย์มาอย่างต่อเนื่อง

โดยก่อนหน้านี้ได้แลกเปลี่ยนเทคโนโลยีกับโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ ด้วยการส่งกล้อง 3D Camera ติดตั้งเครื่องกับ CT Scan และชุดตรวจโควิด-19 แบบ ATK, การตรวจแบบ PCR ในช่วงโควิดระบาดแรก ๆ (ปี 2563) เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระงานของโรงพยาบาล ทำให้การตรวจโควิดนั้นง่าย-รวดเร็วกว่าเดิม ล่าสุด ซีเมนส์พัฒนา “Patient Twinning” นวัตกรรมที่สามารถจำลองระบบภายในร่างกายของผู้ป่วยด้วยเทคโนโลยีเสมือน (AR) ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบความผิดปกติของอวัยวะภายในได้อย่างละเอียด ทั้งยังจำลองการตอบสนองของร่างกายผู้ป่วยต่อการรักษาและให้ความแม่นยำในการวินิจฉัยโรค โดยคาดการว่าจะนำเข้าในประเทศไทยในไม่ช้านี้

นวัตกรรมจำลองคู่เสมือน ช่วยพยากรณ์การรักษา

บีเยิร์น โบเด็นสไตน์ กรรมการผู้จัดการบริษัทซีเมนส์ เฮลท์ธิเนียร์ส ประเทศไทย กล่าวว่า นวัตกรรม “Patient Twinning” หรือ “การรักษาแบบเสมือนจริง” ด้วยการใช้ AI จำลองอวัยวะในโลกเสมือนจริง เปรียบได้กับการสร้างฝาแฝดของผู้ป่วยขึ้นมาเพื่อวิเคราะห์และหาต้นตอของการเกิดโรค

AI จะทำหน้าที่ขจัดความซับซ้อนที่เป็นอุปสรรคต่อการวิเคราะห์ผู้ป่วย และจำลองการตอบสนองของร่างกายต่อการรักษาด้วยวิธีต่าง ๆ บนคอมพิวเตอร์ก่อนลงมือรักษาจริง จะช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบความผิดปกติของอวัยวะภายในได้อย่างละเอียด และสามารถวินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น

นอกจากนี้ยังช่วยลดขั้นตอนการรักษาที่ไม่จำเป็น รวมไปถึงลดความเสี่ยงในการรักษาที่ผิดพลาด ทำให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถวางแผนการรักษาล่วงหน้าเพื่อผลลัพธ์การรักษาที่ดีที่สุด ซึ่งวิธีการใช้งานจะแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ

  1. การแพลนมุมมองให้เห็นภาพรวมของระบบร่างกายจำลองที่แพทย์ต้องการรักษา
  2. การซูมเข้า-ออกเพื่อทำให้แพทย์มองเห็นรายละเอียดของระบบภายในมากขึ้น เช่น หลอดเลือดต่าง ๆ
  3. การหมุน 360 องศา ทำให้แพทย์เห็นทุกมุมมองของโมเดลจำลอง

เทคโนโลยีที่ไม่หยุดนิ่ง

นอกจากเทคโนโลยี Patient Twinning ที่เป็นไฮไลท์สำคัญของปีนี้ ซีเมนส์ยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีอื่น ๆ อย่างต่อเนื่อง ได้แก่

  • AI Rad Companion – ระบบฐานข้อมูล (Big Data) ที่รวบรวมภาพผลการวินิจฉัยโรคของซีเมนส์ที่มีอยู่ทั่วโลก เพื่อช่วยกำหนดทิศทางให้แพทย์วินิจฉัยแนวโน้มรอยโรคของผู้ป่วยได้แม่นยำ จากการเทียบเคียงภาพของผู้ป่วยและผลการวินิจฉัยในคลังข้อมูล ทำให้วิเคราะห์โรคได้ง่ายและรวดเร็ว เพิ่มความครอบคลุมในการวินิจฉัยโรคของแพทย์ผู้รักษาให้มีประสิทธิภาพ
  • Syngo Virtual Cockpit – ระบบเชื่อมต่อทางไกลระหว่างแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกับอุปกรณ์ทางการรักษา ที่ช่วยลดช่องว่างการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์เฉพาะทางในการเข้าถึงการรักษาผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดยเทคโนโลยีนี้จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้ทุกที่ทุกเวลาไม่ว่าจะอยู่มุมใดของโลกผ่านการเข้าระบบ Virtual Cockpit ทำให้แพทย์สามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างละเอียดทุกขั้นตอนเสมือนไปวินิจฉัยโรคอยู่ตรงหน้าผู้ป่วย โดยยังคงได้ผลลัพธ์การวินิจฉัยที่ถูกต้องและแแม่นยำที่สุด
  • Cinematic Reality – การนำเสนอภาพทางการแพทย์ที่สมจริง ผ่านเทคโนโลยี Cinematic Rendering ในทางการแพทย์จะใช้ในการสร้างภาพอวัยวะหรือร่างกายของผู้ป่วยขึ้นมาบนโลกเสมือนจริง หรือการทำให้ภาพเอกซเรย์อวัยวะในร่างกายธรรมดา ๆ กลายเป็น ภาพที่สามารถเคลื่อนไหวหรือจับต้องได้ ด้วยมุมมองภาพ 3 มิติ

ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนทิศทางได้ตามความต้องการของแพทย์ และขจัดข้อจำกัดการมองเห็นสำหรับการวินิจฉัยอวัยวะและระบบภายในร่างกายที่ผิดปกติได้ ซึ่งให้ความละเอียดสูง สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า และภาพจะชัดเจนและมีมิติสมจริงยิ่งขึ้นเมื่อดูผ่านเทคโนโลยีความเป็นจริงแบบเสมือน (VR)

“ซีเมนส์มีการสิทธิบัตรเทคโนโลยี Machine Learning กว่า 700 ชิ้น และจดสิทธิบัตร Deep Learning 275 ชิ้น รวมไปถึงยังเป็นเจ้าของแอปพลิเคชัน AI based อีกกว่า 60 แอปพลิเคชั่น เพื่อเป็นการการันตีว่า เราไม่หยุดที่จะพัฒนาเทคโนโลยีแพทย์” บีเยิร์น กล่าว

การกระจาย AI สู่โรงพยาบาลในชนบท

บีเยิร์น กล่าวว่า สัดส่วนการนำเทคโนโลยีของซีเมนส์ไปใช้ระหว่างโรงพยาบาลรัฐและเอกชนนั้นมีจำนวนที่ค่อนข้างใกล้เคียงกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ โรงพยาบาลทั้ง 2 ประเภทให้ความสำคัญกับ AI/AR เหมือนกัน เพราะมันเป็นสิ่งที่เข้ามาช่วยทำให้รักษาผู้ป่วยได้แม่นยำ และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

“สำหรับนวัตกรรม Patient Twinning ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาโมเดลต้นแบบ ซึ่งในอนาคตอาจมีความเป็นไปได้ที่จะนำเข้ามาจำหน่ายในไทย เราต้องการทำให้โรงพยาบาลแถวชนบทสามารถเข้าถึงนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ง่าย เพื่อทำให้สามารักษาชีวิตคนไข้ได้มากขึ้นกว่าเดิม”

แหล่งข้อมูล

https://www.bangkokbiznews.com/tech/innovation/1025691