Smart Agriculture การเกษตรที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

ภาคการเกษตรเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย อีกทั้งยังเป็นแหล่งสร้างงานอันดับ 1 ของประเทศ ถึงแม้ว่าภาคการเกษตรจะมีความสำคัญมากแค่ไหน แต่รายได้ของเกษตรกรกลับสวนทาง เมื่อเปรียบเทียบกับสัดส่วนรายได้สุทธิจากการเกษตร ที่สร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้ไม่ถึง 50% ของรายได้ในครัวเรือน สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่ซ่อนอยู่ภายใน หนึ่งในนั้นคือปัญหาการควบคุมผลผลิตและต้นทุนที่สูงเกินไป ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วย Smart Agriculture

Smart Agriculture คืออะไร

Smart Agriculture หรือ Smart Farm คือ การเกษตรแบบใหม่ ที่เปลี่ยนวิธีการดำเนินงานแบบเก่า มาใช้ข้อมูล (Data) และเทคโนโลยีในการบริหารงานเกษตร เพื่อค้นหาวิถีการทำงานให้เหมาะสมและสร้างผลผลิตทางการเกษตรที่ยั่งยืน ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เพิ่มกำไรให้มากยิ่งขึ้น

หัวใจหลักของการทำ Smart Agriculture
  • ข้อมูล เป็นพื้นฐานในการทำการเกษตร โดย Smart Agriculture ต้องพึ่งพาข้อมูลในการวิเคราะห์ หาแนวทางที่ดีที่สุดในการทำงาน รวมถึงคาดการณ์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต หากมีข้อมูลมากเพียงพอก็จะสามารถลดปัญหา และนำไปสู่การพัฒนาผลผลิตให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม
  • เทคโนโลยี เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรแม่นยำมากขึ้น ผ่านการนำเทคโนโลยีมาวิเคราะห์ปัจจัยทางการผลิต ทั้งสภาพอากาศและค่าดิน นอกจากนี้เทคโนโลยียังช่วยลดขั้นตอนและลดต้นทุนการใช้แรงงานในการทำการเกษตร

ตัวอย่างเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ด้าน Smart Agriculture
  • Drone (โดรน) เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการบินเพื่อสำรวจและเก็บข้อมูลสภาพพื้นที่ เพื่อนำไปวิเคราะห์และหาแนวทางการจัดการพื้นที่ ตัวอย่างโดรนที่ใช้ในการทำเกษตร เช่น Droneseed และ Sense Fly เป็นต้น
  • Climate Condition Monitoring เป็นเทคโนโลยีในการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศ ผ่านเซนเซอร์ที่ติดตั้งภายในสวน ซึ่งเซนเซอร์จะเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อมและส่งต่อไปยัง Cloud เพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ต่อไป ตัวอย่างเครื่องมือในด้านนี้ เช่น allMeteo และ Pycno เป็นต้น
  • Greenhouse Automation สำหรับฟาร์มที่ทำการเกษตรแบบโรงเรือน ระบบนี้จะช่วยในการจัดการงานให้อัตโนมัติ ด้วยการตรวจจับสภาพแวดล้อมภายในผ่านเซนเซอร์ เช่น อุณหภูมิ แสง และดิน ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ด้าน Greenhouse Automation เช่น Growlink และ GreenIQ เป็นต้น
  • Crop Management ระบบการจัดการการเพาะปลูก โดยวิเคราะห์ตั้งแต่สภาพหน้าดิน แร่ธาตุในดิน ค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน ไปจนถึงอุณหภูมิ ซึ่งการวิเคราะห์ดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงในการเพาะปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกได้อย่างมั่นใจมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ด้านการจัดการการเพาะปลูก เช่น Arable และ Semios เป็นต้น
  • Predictive Analytic ระบบการคาดการณ์ล่วงหน้า เป็นการนำข้อมูลมาผ่านกระบวนการทำ Data Analytics เพื่อวิเคราะห์และคาดการณ์ผลการผลิตล่วงหน้า ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเพาะปลูก ตัวอย่างผู้ให้บริการด้าน Predictive Analytics เช่น SoilScout และ Crop Performace เป็นต้น
  • Management System ระบบการจัดการฟาร์ม เป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนการจัดการจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ ด้วยการเชื่อมต่อและรวบรวมข้อมูลจากระบบ IoT ที่ติดตั้งภายในฟาร์ม ลงในแอปพลิเคชัน ทำให้เกษตรกรสามารถติดตามผลผลิตได้ตลอด 24 ชั่วโมง ตัวอย่างซอฟต์แวร์ที่ช่วยด้านการจัดการฟาร์ม เช่น Cropio และ FarmLogs
  • Cattle Monitoring ระบบติดตามและจัดการสัตว์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการดูแลสัตว์ภายในฟาร์ม เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำปศุสัตว์ โดยระบบดังกล่าวช่วยติดตามข้อมูลตั้งแต่ ตำแหน่งที่อยู่ ไปจนถึงสุขภาพของสัตว์ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ด้าน Cattle Monitoring เช่น SCR by Alflex และ Cowlar เป็นต้น

ความเป็นไปได้ของ Smart Agriculture ในประเทศไทย

ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงการเกษตรไปสู่ Smart Agriculture จะนำมาซึ่งผลประโยชน์ให้กับเกษตรกรมากมาย แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การทำ Smart Agriculture ให้เป็นจริง ยังเป็นหนทางอีกยาวไกล เนื่องจากระบบดังกล่าว พึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีจำนวนมาก ซึ่งการเข้าถึงเทคโนโลยีของเกษตรกรรายย่อยยังเป็นไปด้วยความยากลำบาก

อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการสร้างระบบที่ค่อนข้างสูง การจัดซื้ออุปกรณ์ รวมถึงค่าบำรุงรักษา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นต้นทุนแฝง (Hidden Cost) ในการสร้าง Smart Agriculture โดยประเด็นด้านต้นทุนและภาระหนี้สินของครอบครัว เป็นอีกหนึ่งอุปสรรคสำคัญที่พาเกษตรกรไทยไปไม่ถึงฝัน

เป็นไปได้ยาก แต่ไม่ได้หมายความว่าเป็นไปไม่ได้

หากจะกล่าวว่า Smart Agriculture เป็นสิ่งที่ทำไม่ได้จริงในไทย คงเป็นคำกล่าวที่เกินจริงไปสักหน่อย ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคหลายอย่าง แต่ก็มีหลายภาคส่วนเข้ามาผลักดันให้ Smart Agriculture เกิดขึ้นจริงในไทย โดยทางสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ได้ผลักดันเทคโนโลยีให้เข้าถึง Startup สาย AgriTech หรือ AgTech และพี่น้องเกษตรกรมากยิ่งขึ้น

โครงการที่ NIA จัดตั้งเป็นโครงการที่สนับสนุนด้านนวัตกรรม เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) อย่าง AI, Sensor, IoT และ Big Data รวมถึงการนำนวัตกรรมที่ได้ไปทดลองใช้งานจริงกับเกษตรกร ซึ่งในส่วนนี้จะช่วยแก้ไขปัญหาความเข้าใจด้านเทคโนโลยีของเกษตรกรมากยิ่งขึ้น อย่างน้อยเมื่อเกษตรกรเข้าใจและเล็งเห็นความสำคัญของเทคโนโลยี ก็ช่วยเพิ่มโอกาสในการสร้าง Smart Agriculture ให้เป็นจริงมากยิ่งขึ้น

ไม่เพียงแต่การร่วมมือจากหน่วยงาน NIA เท่านั้น แต่ที่สิ่งที่จะผลักดันให้ Smart Agriculture เกิดขึ้นได้จริงในเมืองไทย คือ การสร้าง Roadmap ที่จะกำหนดขอบเขต และแนวทางการพัฒนาอย่างจริงจัง ทั้งจากภาครัฐและเอกชน

โดยภาครัฐต้องสนับสนุนผ่านการลงทุน สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ตให้ครอบคลุมในราคาที่เหมาะสม เพื่อลดต้นทุนในการเข้าถึงเทคโนโลยีของเกษตรกร นอกจากนี้ยังต้องกระตุ้นให้เกิด Ecosystem ในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเกษตรภายในประเทศ สนับสนุนกลุ่ม Startup ในไทย เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเทคโนโลยี และสร้างโอกาสให้ Startup ไทยเติบโตต่อไป

ตัวอย่างการทำ Smart Agriculture ในไทย กรณีศึกษา Deva Farm

Deva Farm เป็นหนึ่งในข้อพิสูจน์ที่ทำให้เห็นว่า Smart Agriculture สามารถเกิดขึ้นจริงได้ในประเทศไทย โดยฟาร์มนี้ปลูกพืชเมืองหนาวอย่าง ฮอป (Hop) ด้วยการเพาะปลูกแบบโรงเรือนที่ออกแบบโดยใช้เทคโนโลยีแทบทั้งหมด และเป็นการทำเกษตรโดยแทบไม่ต้องใช้คนในการเพาะปลูก

ทาง Deva Farm เริ่มต้นวางระบบด้วยการซื้ออุปกรณ์ด้าน IoT ทั้งหมดตั้งแต่ ระบบวัดอุณหภูมิ ความชื้น ค่าความเข้มแสง ความเร็วลม โดยวางระบบให้ทุกอย่างทำงานสอดคล้องกัน ผ่านการเขียน Python เชื่อมต่อ IoT ผ่าน API แล้วนำมาแสดงผลบน Dashboard ของ Grafana ซึ่งสามารถควบคุมการทำงานภายในฟาร์มได้ผ่านแท็บเล็ตเพียงตัวเดียว

ตัวอย่างระบบการทำงานภายใน Deva Farm

Deva Farm ใช้เซนเซอร์ในการทำงานเป็นหลัก เช่น หากอุณหภูมิสูงกว่าที่ตั้งค่าไว้ เซนเซอร์ที่ตรวจจับได้ จะพ่นหมอกไอน้ำ เพื่อลดอุณหภูมิ หรือ ระบบการใส่ปุ๋ย ที่ปรับสูตรใส่อัตโนมัติ ตามค่าความชื้นอากาศที่เซนเซอร์วัดได้ในแต่ละวัน เป็นต้น ส่วนเกษตรกรจะมีหน้าที่แค่ดูภาพรวมภายในฟาร์ม แก้ไขปัญหาและซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ เท่านั้น ทำให้ฟาร์มนี้สามารถทำงานได้โดยแทบไม่ต้องใช้แรงงานคน

Summary

Smart Agriculture การเกษตรอัจฉริยะที่พร้อมเข้ามาเปลี่ยนรูปแบบการทำเกษตรให้สะดวกสบายและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ดูเหมือนจะเป็นไปได้ยาก แต่สามารถเป็นไปได้ในประเทศไทย เพียงแค่ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงเกษตรกรเพื่อสร้าง Ecosystem ให้เกิดการพัฒนาไปพร้อมกันอย่างยั่งยืน

แหล่งข้อมูล

https://katalyst.kasikornbank.com/th/blog/Pages/smart-agriculture-the-agriculture-driven-by-innovation.html