NIA แลกเปลี่ยนแนวคิด “ชัชชาติ” ปั้นกรุงเทพสู่เมืองนวัตกรรมระดับนานาชาติ

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) ร่วมประชุมกับ รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่า กทม. และ ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวช รองผู้ว่าฯ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดในการปั้นกรุงเทพสู่เมืองนวัตกรรมในระดับนานาชาติ (Global Innovation City)

สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (National Innovation Agency: NIA) ที่นำโดย ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการ และ นายวิเชียร สุขสร้อย รองผู้อำนวยการด้านเศรษฐกิจและสังคม นำเจ้าหน้าที่เข้าประชุมร่วมกับ รศ.ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และ ผศ.ดร.ทวิดา กมลเวช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ณ ห้องสุทัศน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เขตพระนคร เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดในการขับเคลื่อน กทม. สู่มหานครแห่งนวัตกรรม เพื่อให้ตอบโจทย์ผู้คนที่มีความหลากหลาย แก้ปัญหาการขยายตัวของเมือง พร้อมยกระดับเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของชาว กทม. โดยได้มีการหารือกันถึงโอกาสในการพัฒนาความร่วมมือใน 3 ประเด็น

1 การสร้างภาพลักษณ์และอัตลักษณ์ของนวัตกรรมในกรุงเทพมหานคร

2 การพัฒนาย่านนวัตกรรมและนวัตกรรมเพื่อสังคม

3 การประเมินเมืองนวัตกรรม

ทั้งนี้ NIA และ กทม. มีแผนแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อร่วมกันดูแลงานในส่วนนี้ต่อไป โดยเบื้องต้นได้มีแนวทางความร่วมมือใน 3 ประเด็น ได้แก่

1 การพัฒนา Bangkok Innovation Center เพื่อเปิดพื้นที่ที่ผลักดันการเรียนรู้ และสร้างสรรค์นวัตกรรม สร้างระบบนิเวศนวัตกรรมให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

2 การนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาสังคมเมือง เช่น การจัดการขยะ PM 2.5 น้ำท่วม หาบเร่แผงลอย และความโปร่งใส โดยนอกจากจะผลักดันพัฒนานวัตกรรมแล้ว ต้องให้ความสำคัญกับการกระบวนการการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ เพื่อให้สะดวกต่อการนำนวัตกรรมเหล่านั้นมาใช้จริงได้ด้วย

3 การร่วมประเมินเมืองด้วยดัชนีเมืองนวัตกรรม (City Innovation Index) ซึ่ง NIA ได้มีการใช้กับเมืองในส่วนภูมิภาคแล้ว เช่น เชียงใหม่ ระยอง ขอนแก่น

ซึ่งครั้งนี้จะร่วมมือกับ กทม. เพื่อทำการจัดเก็บข้อมูลและประเมินเมือง โดยการประเมินประกอบด้วยตัวชี้วัดใน 4 มิติ ได้แก่ เงื่อนไขพื้นฐานของระบบนิเวศเมืองนวัตกรรม ความเป็นเมืองทั่วถึง ความเป็นเมืองยั่งยืน และความเป็นเมืองเชื่อมโยง

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/news/society/828110