ธรรมศาสตร์ แชมป์โลก ปั้น รังสิตโมเดล เป็นเมืองที่ออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่ม

Share

Warning: Undefined array key "postid" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 24

Warning: Undefined array key "increase" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 25

Warning: Undefined array key "show_views_today" in /home/securitysy/domains/securitysystems.in.th/public_html/wp-content/plugins/page-views-count/src/pvc_widget.php on line 26

Loading

รังสิตโมเดล ชนะเลิศคว้าแชมป์โลก จากเยอรมนี เมืองต้นแบบ The winner of Universal Design Competition ที่ ธรรมศาสตร์ ร่วมพัฒนาโครงการกับเครือข่ายในท้องถิ่น โปรเจคที่ยกระดับคุณภาพบ้าน ระบบขนส่งมวลชน พื้นที่สาธารณะ ตอบโจทย์สังคมผู้สูงอายุและกลุ่มเปราะบางเช่น ผู้พิการ

“รังสิตโมเดล” ผลงานของหน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จากประเทศไทย ได้รับรางวัลชนะเลิศ “The winner of Universal Design Competition” ประจำปี 2565 ประเภท Expert จากสถาบัน Institute of Universal Design ประเทศเยอรมนี ในฐานะผลงานที่สร้างแรงขับเคลื่อนและเป็นประโยชน์ต่อคนทุกกลุ่มได้จริง โดยการแข่งขันดังกล่าวเป็นรายการแข่งขันที่มีมายาวนานกว่า 10 ปี และในปี 2565 มีตัวแทนประเทศเข้าร่วมกว่า 10 ประเทศ อาทิ เยอรมนี อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ

รศ.ดร.ชุมเขต แสวงเจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์รังสิตด้านกายภาพ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า ผลงานนี้เป็นการนำงานบริการสังคมมาถอดบทเรียนเป็นโมเดลการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและผู้สูงอายุ หรือที่เรียกว่า “รังสิตโมเดล” โดยเน้นการออกแบบด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม ผ่านแผน กลไก และการปฏิบัติ ด้านกายภาพ ตั้งแต่บ้าน ระบบขนส่งมวลชน ไปจนพื้นที่สาธารณะ ในพื้นที่เทศบาลนครรังสิต

ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาการดำเนินการกว่า 15 ปี เกิดผลกระทบในการปรับบ้าน 178 หลัง ตลอดจนการปรับพื้นที่สาธารณะ และการนำไปสู่การกำหนดเป็นนโยบายของเทศบาลนครรังสิต และถ่ายทอดรับไปปฏิบัติในองค์กรปกครองท้องถิ่นอื่น ๆ ตลอดจนเผยแพร่ในระดับนานาชาติ

ในส่วนของจุดเริ่มต้นรังสิตโมเดล มาจากงานบริการวิชาการสู่สังคมเมื่อปี 2550 โดยได้ลงพื้นที่เทศบาลนครรังสิตเพื่อดำเนินการปรับสภาพแวดล้อมเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ด้วยการใช้แนวคิดที่ว่า พื้นที่ตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทางจะต้องรองรับการใช้งานผู้คนได้ทุกกลุ่ม จากนั้นได้นำแนวคิดเรื่องการออกแบบเพื่อคนทั้งมวล (Universal Design) เข้ามาประยุกต์ใช้ ทั้งในระดับนโยบายไปจนถึงการปฏิบัติจริง จนในปี 2555-2556 สามารถถอดบทเรียนจากแนวคิดดังกล่าวออกมาเป็น รังสิตโมเดล และในปี 2557 นำเสนอในงาน The 5th International Conference for Universal Design ที่ประเทศญี่ปุ่น และได้รับรางวัลผลงานวิชาการดีเด่นระดับดีมาก ในการสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 9 ประเทศไทย

สำหรับ “รังสิตโมเดล” คือการออกแบบสภาพแวดล้อมเพื่อคนทั้งมวล โดยเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบาง เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ ฯลฯ โดยเน้นกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนนั้น ๆ ตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา การออกแบบ การแก้ไข การก่อสร้าง ไปจนถึงการประเมินผลและผลตอบรับเพื่อนำไปปรับปรุงต่อ ช่วงกระบวนการมีส่วนร่วมจะทำให้คณะทำงานที่เกี่ยวข้องเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย ไม่คิดแทน และทำให้เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของต่องานที่เกิดขึ้น ส่งผลต่อการช่วยกันดูแลรักษาในระยะยาว

สำหรับกระบวนการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้น ประกอบด้วย 4 ภาคีหลักในการขับเคลื่อนเชิงพื้นที่ ได้แก่ เจ้าของพื้นที่ (Owner) ผู้ที่จะไปใช้งาน (User) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. (Local government) และหน่วยงานสนับสนุน (Support) เช่น คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ฯลฯ

โดยรังสิตโมเดลถือเป็นการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) โดยเฉพาะเป้าหมายที่ 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์อย่างยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) ในการทำให้เมืองน่าอยู่มากยิ่งขึ้น และเป้าหมายที่ 10 ที่มุ่งเน้นการลดความเหลื่อมล้ำ (Reduced Inequality) โดยช่วยให้คนมีความเท่าเทียมและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย

ทั้งนี้ จากการคำนวณบทบาททางสถิติของรังสิตโมเดลและหน่วยวิจัยที่ผ่านมา พบว่ามีที่อยู่อาศัยที่ได้รับการปรับปรุงจำนวน 178 หลัง และการอบรมจากหน่วยวิจัยมีคนที่ได้ประโยชน์ไม่น้อยกว่า 1 แสนคน รวมถึงการออกแบบบ้านตัวอย่างอยู่ระหว่างการจดสิทธิบัตรอีกจำนวน 2 หลัง และมีผลกระทบต่อสังคมโดยสามารถประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) จากการดำเนินโครงการในพื้นที่ พบว่า การบูรณาการงบประมาณที่ได้ลงทุนไป 1 บาท จะได้ผลตอบแทนทางสังคมกลับมา 10.04 บาท

รศ.ดร.ชุมเขต กล่าวอีกว่า ในปี 2561 คณะสถาปัตยกรรมและการผังเมือง อนุมัติให้จัดตั้งหน่วยวิจัยและออกแบบเพื่อคนทั้งมวล โดยเป็นการนำงานวิจัยมาบูรณาการกับการบริการสังคมที่ชัดเจนขึ้น ทำให้สามารถขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมบนฐานของงานวิชาการและงานวิจัย รวมไปถึงแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่นอย่างจริงจัง เกิดเป็นผลงานวิจัยเชิงพื้นที่ มากกว่า 5 เรื่อง นำไปสู่การต่อยอดและขยายผลต่อไป

“ปัจจุบันพื้นที่ท้องถิ่นใกล้เคียงมีการรับ รังสิตโมเดล ไปเป็นแนวคิดเรื่องการออกแบบในการวางแผนนโยบายเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ” รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์รังสิตด้านกายภาพ  กล่าว

รศ.ดร.ชุมเขต กล่าวว่า ต้องขอบคุณธรรมศาสตร์ที่เปิดพื้นที่ รวมถึงมีกลไกสนับสนุนการทำงาน เช่น ด้านงบประมาณ บุคลากร พื้นที่ ฯลฯ ซึ่งเมื่อใดที่มหาวิทยาลัยดูแลบุคลากรได้ดี บุคลากรจะสามารถขับเคลื่อนหรือส่งต่อสิ่งดีๆ ให้ชุมชนและสังคมต่อได้

“เรื่องของสภาพแวดล้อมไม่ใช่แค่เรื่องของอาคารสถานที่ แต่เป็นเรื่องของคน เมื่อเราเข้าใจคน เราจะเข้าใจงาน นั่นคือวิธีการแก้ปัญหาขั้นแรก ซึ่งมิติของคนที่จะทำให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ต้องมีทั้งเรื่องของสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อมเคลื่อนไปพร้อมกัน” รศ.ดร.ชุมเขต กล่าว

แหล่งข้อมูล

https://www.springnews.co.th/news/826181