สมาร์ทวิดีโอช่วยให้พนักงานกลับมาทำงานได้ตามปกติได้อย่างไร

Share

Loading

ปัจจุบันสถานที่ทำงานมีการเปลี่ยนแปลงโดยสิ้นเชิง คนทั่วโลกหันมาทดลองทำงานจากที่บ้าน (Work from home หรือ WFH) จากที่สิ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ก็ได้กลายเป็นเรื่องปกติของการใช้ชีวิตแบบใหม่ของพนักงานจำนวนมาก โดยแบบสำรวจความคิดเห็นของพนักงานในสหรัฐอเมริกาจำนวน 9,000 คน พบว่า 9 ใน 10 ของคนทำงานนอกสถานที่ยังคงต้องการทำงานจากนอกสถานที่เช่นเดิมเป็นส่วนใหญ่ และ 76% ของคนที่ทำงานนอกสถานที่นั้นได้กล่าวว่า ผู้ว่าจ้างได้มีการอนุมัติการทำงานในรูปแบบไฮบริดหรือรูปแบบการทำงานที่พนักงานสามารถเลือกทำงานได้ทั้งจากออฟฟิศ บ้าน หรือจากที่ไหนก็ได้ควบคู่กันไปต่อไปได้ในอนาคต ซึ่งไม่ว่าพนักงานจะต้องทำงานในออฟฟิศกี่วัน บริษัทต่าง ๆ นั้นก็ได้เปิดใจรับสมาร์ทวิดีโอและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อช่วยให้พนักงานได้กลับมายังสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย

“เนื่องจากหลายบริษัทกำลังเตรียมให้พนักงานกลับไปทำงานกันตามปกติ บริษัทเหล่านั้นก็ได้ทำการยกระดับเทคโนโลยีเพื่อป้องกันพนักงานจากโควิด-19 และโรคอื่น ๆ เพื่อลดความกังวลให้กับพนักงานที่ต้องกลับมาทำงานที่ออฟฟิศ ไม่ว่าพนักงานจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้วหรือไม่ก็ตาม” คุณบารุค ลาบุนสกี (Baruch Labunski) ซีอีโอของแรงค์ ซีเคียวริตี้ (Rank Secure) ซึ่งเป็นหน่วยงานเอสอีโอ (SEO) ในเมืองโตรอนโต

แรงค์ ซีเคียวริตี้ ใช้ปืนวัดอุณหภูมิเพื่อตรวจสอบอุณหภูมิของพนักงานที่เข้ามาทำงาน และยังติดตั้งระบบตรวจจับความร้อน กล้องเว้นระยะห่างทางสังคม และซอฟต์แวร์จดจำใบหน้า

AI ทำให้การใช้ชีวิตแบบใหม่มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ไบรอัน มาลารี ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดสำหรับสมาร์ทวิดีโอของเวสเทิร์น ดิจิตอล ได้แชร์วิธีที่ลูกค้าและพันธมิตรต่าง ๆ นำสมาร์ทวิดีโอมาใช้เพื่อรับพนักงานกลับมาทำงานได้อย่างปลอดภัย

“การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เร่งและเป็นตัวผลักดันการใช้งานอุปกรณ์ใหม่ต่าง ๆ อย่างเช่น การตรวจสอบอุณหภูมิโดยอัตโนมัติ การนับจำนวนคนเข้าออก การตรวจจับ PPE รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพอากาศซึ่งอาศัยความช่วยเหลือจากเอไอเป็นอย่างมาก” เขากล่าว

การใช้งานที่ขับเคลื่อนด้วย AI ใหม่เหล่านี้นั้นมีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุดในอุตสาหกรรมความปลอดภัยทางกายภาพภายในรอบหลายปี

โอมาร คาน (Omar Khan) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีที่รอมบัซ ซิสเทม (Rhombus Systems) อธิบายถึงการรักษาความปลอดภัยและการจัดการพื้นที่แบบดั้งเดิมซึ่งมีความซับซ้อนเป็นมากอย่างมาก โดยต้องมีการติดตั้งฮาร์ดแวร์และเครื่องบันทึกวิดีโอเครือข่าย (NVR) ในทุกตำแหน่ง ทำให้บริษัทต่าง ๆ ถูกจำกัดด้วยวิธีการปรับขนาดทั้งในแง่ของฮาร์ดแวร์และบุคลากรที่ทุ่มเทในการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งในวันนี้ รอมบัซให้บริการการเฝ้าระวังวิดีโอเป็นบริการ (VSaaS) โดยใช้คลาวด์เพื่อจัดการสถานที่หลายแห่งและ AI เพื่อกรองข้อมูลอย่างรวดเร็ว รวมถึงการแจ้งเตือนลูกค้าในกรณีที่มีเหตุการณ์ผิดปกติ

“อุตสาหกรรมกล้องวิดีโอรักษาความปลอดภัยนั้นจำเป็นต้องมีการปรับปรุงจากวิธีการแบบเก่า” คานกล่าว เมื่อห้าปีที่แล้วรอมบัซ ซิสเทม (และบริษัทอื่น ๆ) เริ่มภารกิจออกแบบการวิดีโอรักษาความปลอดภัยและการจัดการพื้นที่วิดีโอใหม่ “ทางอุตสาหกรรมต้องการนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดความซับซ้อนของประสบการณ์การติดตั้งและการจัดการให้ตอบสนองเชิงรุกไม่ใช่ทำงานเชิงรับ”

ระบบการรักษาความปลอดภัยที่ถ่าย ตรวจการณ์ พร้อมบันทึกภาพบนพื้นที่จัดเก็บที่อยู่บนคลาวด์ (cloud-based video cameras) ของรอมบัซ ช่วยให้ลูกค้าสามารถใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ นับจำนวนคนเข้าออก ตรวจจับ PPE ใช้ระบบจดจำใบหน้า รวมถึงการแจ้งเตือนลูกค้าในกรณีที่มีเหตุการณ์ผิดปกติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการกลับมายังสถานที่ทำงานอย่างปลอดภัย ซึ่ง WD Purple™ ของเวสเทิร์น ดิจิตอลนั้น ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บข้อมูลเบื้องของหนึ่งในกล้องที่ทรงพลังที่สุดของรอมบัซ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถจัดเก็บวิดีโอได้นานถึง 180 วันในการ์ด WD Purple Pro microSD™ ขนาด 1 TB เพียงใบเดียว

สิ่งที่มองเห็นและสิ่งที่มองไม่เห็น

บริษัทต่าง ๆ กำลังดำเนินการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยซึ่งเกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของโรค โดยเซ็นเซอร์ตรวจสอบสภาพแวดล้อม (environmental sensors) ของรอมบัซจะตรวจวัดคุณภาพอากาศ รวมถึงระดับคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในที่สถานทำงาน

“ระดับ CO2 แสดงความสัมพันธ์โดยตรงของความเสี่ยงของโรคที่เพิ่มขึ้นเมื่อมี CO2 อยู่ในอากาศมากเกินไป” คานกล่าว ซึ่งเขาได้อ้างอิงจากผลการศึกษาของมหาวิทยาลัยโคโลราโด โบลเดอร์ในสหรัฐอเมริกาและศูนย์ความร่วมมือด้านสุขภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติในแคนาดา โดยเปรียบเทียบระดับ CO2 ในอาคารกับความเสี่ยงของการแพร่เชื้อโควิด-19 ซึ่งพบว่าค่ามาตรฐานของ CO2 ในอาคารนั้นควรมีปริมาณที่มากกว่า 1,000 PPM ถึงจะยอมรับได้ว่าปลอดภัย

จากนั้นลูกค้าของรอมบัซสามารถเชื่อมโยงตัวชี้วัดคุณภาพอากาศกับการนับจำนวนคนเข้าออกของกล้องเพื่อพิจารณาว่าพื้นที่นั้นแออัดเกินไปหรือไม่ คานอธิบายว่า หากบริษัทคาดว่าจะมีพนักงาน 70 คนเข้ามาออฟฟิศเพื่อทำงาน แต่ในวันจริงมีพนักงานเข้ามา 100 คน ผู้จัดการสถานที่นั้นอาจต้องปรับกำหนดการหรือใช้มาตรการป้องกันอื่น ๆ เช่น การบริหารเพิ่มเติมในระบบ HVAC เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานได้รับการปกป้องและมีสุขภาพดี

“คุณสมบัติของกล้องและเซ็นเซอร์สิ่งแวดล้อมสามารถช่วยให้ลูกค้าของเราให้ความสบายใจแก่พนักงานของเขามากขึ้น เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เมื่อพนักงานกลับเข่ามาทำงาน” คาน กล่าว

AI เพื่อเทคโนโลยีการมองเห็น

“อุตสาหกรรมกล้องวิดีโอรักษาความปลอดภัยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงเทียบเท่ากับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีภายในช่วงหลายปีที่ผ่านมา” คาเลบ เลา (Caleb Lau) ผู้จัดการโปรแกรมสำหรับโกลเบิล ซีเคียวริตี้ ซิสเทม (Global Security Systems) ของ เวสเทิร์น ดิจิตอล กล่าว “แต่เนื่องจากเริ่มมีการนำ AI และ machine learning มาใช้กับกล้องวิดีโอรักษาความปลอดภัย จึงเป็นขุมทรัพย์ของศักยภาพที่ยังไม่ได้ใช้”

เลาและทีมงานโกลเบิล ซีเคียวริตี้ของเวสเทิร์น ดิจิตอล กำลังทำงานร่วมกับ แอมเบียนท์.เอไอ (Ambient.ai) ในการนำไปใช้งานภายใน โดยแอมเบียนท์.เอไอนั้นช่วยให้ผู้ใช้สามารถป้องกันเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยได้โดยใช้เทคโนโลยีการมองเห็นด้วยคอมพิวเตอร์และ “threat signatures” เพื่อแจ้งเตือนให้ทีมทราบถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่ไม่ต้องใช้การจดจำใบหน้าหรือข้อมูลส่วนบุคคล (PII)

ยกตัวอย่างเช่น ด้วยการควบคุมการเข้าถึงนั้น บริษัทส่วนใหญ่ต้องการให้พนักงานรูดบัตรเพื่อเข้าไปในอาคารเพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ถ้าหากมีคนเปิดประตูและอนุญาตให้ห้าคนหรือสิบคนขึ้นไปนั้นเข้าไปในอาคาร (เหตุการณ์ที่เรียกว่า “tailgating”) การกระทำนั้นจะไม่กระตุ้นการแจ้งเตือนระบบควบคุมการเข้าออกทางกายภาพ (PACS)

“ไม่มีวิธีใดที่สามารถทำให้แน่ใจได้ว่าจะไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นนอกเหนือจากการใช้เทคโนโลยีการมองเห็น” เจมส์ คอนเนอร์ หัวหน้าฝ่ายงานองค์กรที่แอมเบียนท์เอไอ (Ambient.ai) กล่าว คอนเนอร์อธิบายว่า ในขณะที่สมองของเราเข้าใจสิ่งที่ตาเราเห็นนั้น AI ก็ทำเช่นเดียวกันสำหรับกล้อง “นี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของผู้คนที่เฝ้าดูสิ่งเหล่านี้ โดย AI จะกลายเป็น ‘ดวงตา’ ที่ปรับบริบทของทุกสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา”

เวสเทิร์น ดิจิตอล ร่วมงานกับแอมเบียนท์.เอไอ เพื่อสร้างมาตรฐานระบบความปลอดภัยในทุกสถานที่ทั่วโลก ซึ่ง AI ช่วยให้บริษัทต่าง ๆ อย่างเวสเทิร์น ดิจิตอล สามารถตรวจสอบความปลอดภัยภายในที่ทำงาน ตั้งแต่เหตุการณ์ที่มีคนตกลงมาเพื่อดูว่าเครื่องจักรในโรงงานพังได้อย่างไรและทำไมถึงพัง รวมไปถึงการเพิ่มบุคลากรด้านความปลอดภัยเพื่อมุ่งเน้นในการยกระดับและการแก้ปัญหา

กล้องวงจรปิดแบบเดิมต้องจำเป็นต้องมีคนเฝ้าดูและตรวจวิดีโอทุกวันเป็นเวลา 24 ชั่วโมง และตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากเลื่อนดูภาพวิดีโอเป็นเวลาหลายชั่วโมง

เลาได้กล่าวเพิ่มเติมว่า “โซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วย AI นี้ช่วยลดความรับผิดชอบในการตรวจสอบของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่อาจเหนื่อยล้าจากการทำงานกะดึก นั่งเฝ้าหน้าจอมอนิเตอร์กว่า 60 จอเป็นเวลานาน ๆ  และอาจเผชิญกับข้อจำกัดอื่น ๆ รวมถึงการขาดแคลนแรงงานอันเนื่องมาจากโควิด-19”

ผลที่ได้คือบริษัทที่มีความคิดก้าวหน้าและใช้สมาร์ทวิดีโอและ AI สามารถลดรายจ่ายได้อย่างมีนัยสำคัญ รวมถึงสามารถใช้เงินเพื่อลงทุนในเทคโนโลยีต่าง ๆ

หลักเกณฑ์ใหม่ในการทำงาน

ในขณะที่บริษัทต่าง ๆ ปรับตัวเพื่อจัดการกับการกลับเข้าไปในสถานที่ทำงานนั้น ดูเหมือนว่าจะมีมาตรการใหม่ที่จะบังคับใช้เพื่อรักษาความปลอดภัยของสถานที่ทำงาน

เลาเป็นคนที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายทรัพยากรบุคคลและอำนวยความสะดวกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการพื้นที่เพื่อให้พนักงานกลับไปทำงาน กล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่พนักงานจะเห็นคือความอดทนต่อการเปิดประตูทิ้งไว้ให้คนอื่นที่ต่ำกว่าเดิมมาก และด้วยตัวแปรต่าง ๆ นั้น สิ่งที่สำคัญคือต้องรู้ว่าใครอยู่ในอาคาร

“ความปลอดภัยนั้นเคยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับปัญหาการโจรกรรม อย่างเช่น การวางกระเป๋าสตางค์ทิ้งไว้บนโต๊ะ แต่ตอนนี้มันมีอะไรมากกว่านั้นอีกมาก ที่รวมถึงว่าพื้นที่นั้นปลอดภัยจากไวรัสหรือปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ หรือไม่” คอนเนอร์กล่าว “ในอดีตสิ่งที่สำคัญคือการรวมผู้คนไว้ในที่เดียว แต่ตอนนี้บริษัทต่าง ๆ กำลังพยายามสร้างประสบการณ์ในที่ทำงานที่ปลอดภัย ซึ่งพวกเขามีความกังวลมากว่าจะดึงคนกลับมาอย่างปลอดภัยได้อย่างไร”

ลาบุนสกี้คาดการณ์ว่าบริษัทที่เกิดขึ้นหลังโรคระบาดจะใช้ระบบติดตามทางภูมิศาสตร์ที่ปรับปรุงแล้ว มีระบบเสียงและวิดีโอในอาคารที่มากขึ้น รวมถึงการใช้โดรนและอุปกรณ์สวมใส่เพื่อรวบรวมข้อมูลตำแหน่งและสุขภาพ

“สำหรับปี 2565 การทำงานนอกสถานที่จะดำเนินต่อไปแม้หลังจากที่เราเปิดสถานที่ทำงานอย่างเต็มที่แล้ว” ลาบุนสกี้กล่าว “แต่การนำผู้คนกลับมาที่สถานที่ทำงานและให้ความสำคัญกับสุขภาพนั้น เป็นตัวชี้วัดคุณค่าและการใช้งานของบริษัทใหม่”

click here for English

https://www.westerndigital.com/

บริษัท ซินเน็ค (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
33 ถนนสุคนธสวัสดิ์ แขวงลาดพร้าว
เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
Tel : +66(0) 2553-8888

https://www.synnex.co.th/th/